ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป่าหิมพานต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
Rikker04 (คุย | ส่วนร่วม)
interwiki
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู]]
[[หมวดหมู่:ศาสนาฮินดู]]

[[en:Himavanta]]
[[de:himaphan]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:29, 31 กรกฎาคม 2551

ป่าหิมพานต์ เป็นป่าในวรรณคดีซึ่งเป็นจินตนาการของคนไทยมานาน หิมวันต์ ก็เรียก


ตำนานป่าหิมพานต์

ตามตำนานกล่าวไว้ว่าป่าหิมพานต์ตั้งอยู่บนเขา หิมพานต์ หรือหิมาลายา (หิมาลัย) คำว่า “หิมาลายา” นั้นเป็นคำที่ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตแปลว่าสถาน ที่ๆ ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ภูเขาหิมพานต์ประดิษฐานอยู่ในชมพูทวีปมีเนื้อที่ ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ (๑ โยชน์ เท่ากับ ๑๐ ไมล์ หรือ ๑๖ กิโลเมตร) วัดโดยรอบได้ ๙,๐๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ยอด มีสระใหญ่ ๗ สระคือ

  1. สระอโนดาต
  2. สระกัณณมุณฑะ
  3. สระรถการะ
  4. สระฉัททันตะ
  5. สระกุณาละ
  6. สระมัณฑากิณี
  7. สระสีหัปปาตะ

บรรดาสระใหญ่ทั้ง ๗ นั้น สระอโนดาตแวดล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง ๕ ที่จัดเป็นยอดเขาหิมพานต์ ยอดเขาทุกยอด มีส่วนสูงและสัณฐาน ๒๐๐ โยชน์ กว้างและยาวได้ ๕๐ โยชน์

ในป่านี้เต็มไปด้วย สัตว์นานาชนิด ซึ่งล้วนแต่แปลกประหลาด ต่างจากสัตว์ที่เรา ๆ รู้จัก เป็นสัตว์หลายอย่างมาผสมกันแล้วตั้งชื่อขึ้นใหม่ สัตว์เหล่านี้เกิดจากจินตนาการของ จิตรกรไทยโบราณ ที่ได้สรรค์สร้าง ภาพต่าง ๆ จาก เอกสารเก่าต่างๆ