ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธรรมกาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eq072 (คุย | ส่วนร่วม)
Eq072 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 37: บรรทัด 37:


4. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓
4. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓
ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า
"...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"
"...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:26, 21 มิถุนายน 2551

สำหรับคำว่าธรรมกายที่เป็นชื่อวัด ดูที่ วัดพระธรรมกาย

ธรรมกาย (สันสกฤต: धर्म काय) หมายถึง ผู้มีธรรมเป็นกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่าพระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก หรืออีกความหมายหนึ่ง ธรรมกาย คือ กองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรม ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน

ข้อความที่กล่าวถึง ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก

หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ

1.ที.ปา อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒

ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"

"ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น สามารถจะกล่าวถึงพระนามของพระพุทธองค์ว่าคือ "พระธรรมกาย"

2. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔

ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

"สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"

"ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ ""พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"

จากข้อความนี้แสดงว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมหาปชาบดีได้เป็นผู้ให้การเลี้ยงดูให้พระองค์เจริญเติบโต แต่พระพุทธองค์ก็ประดุจได้เลี้ยงดูพระนางตอบแทนด้วยการทำให้ "ธรรมกาย" เกิดขึ้นในตัวของพระนาง ทั้งนี้ พระนางมหาปชาบดีเป็นพระอรหันตเถรี จึงกล่าวได้อีกว่า "ธรรมกาย" ก็เป็นลักษณะหนึ่งของการเป็นพระอรหันต์ แต่เนื่องจากพระวรกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกายของมหาบุรุษ ส่วนกายของพระนางมหาปชาบดีเป็นกายของสตรี ดังนั้นธรรมกายจึงมิใช่กายเนื้อภายนอก เมื่อเป็นเช่นนี้ "ธรรมกาย" จึงเป็นกายภายในซึ่งบุคคลผู้นั้นสามารถเห็นได้ด้วยตนเองเมื่อเข้าถึง

3. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐ ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า

"...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา...

"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"

จากข้อความนี้แสดงว่า แม้ในพระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงมีธรรมกาย ดังนั้นลักษณะที่เหมือนกันของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย คือมี "ธรรมกาย"

4. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓ ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

"บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"

จากข้อความนี้แสดงว่า การที่บุคคลสามารถเห็นหรือทำ "ธรรมกาย" ให้มีในตนแล้วย่อมจะมีความปลาบปลื้มยินดี เมื่อเปรียบเทียบทั้งสามประโยคข้างต้น กล่าวได้ว่า "ธรรมกาย" คือ ลักษณะของผู้บรรลุธรรม โดยในประโยคแรกเป็นการบรรลุธรรมหรือคุณสมบัติของผู้ตรัสรู้ธรรมในระดับของผู้ที่เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในประโยคที่สองเป็นระดับพระปัจเจกพุทธเจ้า ส่วนในประโยคที่สาม ระบุว่าบุคคลทั่วไปก็สามารถที่จะเข้าถึงและบรรลุธรรมหรือเห็นธรรมกายภายในตนได้

ธรรมกายในนิกายต่างๆ

"ธรรมกาย"คำนี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาทุกนิกายทั้งเถรวาท มหายาน และวัชระยาน โดยบางคนอธิบายว่า ธรรมกายนั้นถือเป็น"พุทธภาวะ" พระมหาเถระอิ้นสุ่นที่มีชื่อเสียงมากในวงวิชาการแห่งไต้หวันได้กล่าวไว้ในหนังสือ佛法概論 (พุทธธรรมวิภาค) ที่ท่านเรียบเรียงไว้ว่า การที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพราะท่านบรรลุธรรมกายซึ่งเป็นพุทธภาวะนั่นเอง

ในมหายานกล่าวว่าธรรมกายเป็น กายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นแก่นแท้ เป็นสัจจธรรม ที่ดำรงอยู่ไม่มีวันสลาย ธรรมกายจัดเป็นธุวัง สุขขัง ศูนยตา และบริสุทธิ์ อีกทั้งธรรมกายยังสัมพันธ์กับเรื่องราว ของ ตถาคตครรภ์ ,พุทธภาวะ และรัตนทั้งสาม คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ

บางคัมภีร์กล่าวถึงธรรมกายว่า มีลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ( 法身有相-32相) บางตำรากล่าวว่า ธรรมกายไร้รูป (法身無相) คัมภีร์ ลิ่ว จู้ ถัง จิ วู้ ซื่อ ราชวงศ์ถัง กล่าวว่า ธรรมกาย เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็น ธรรมกาย ที่กลมใส บริสุทธิ์

หลักฐานในศิลาจารึก

1. ศิลาจารึก พ.ศ. ๒๐๙๒ ภาษาไทย-บาลี อักษร ขอมสุโขทัย บัญชี/ทะเบียนวัตถุ/พล.๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ กล่าวว่า

...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ... ...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ พระธรรมกาย มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ... พระพุทธลักษณะ คือ "พระธรรมกาย" นี้ อันโยคาวจรกุลบุตรผู้มีญานอันกล้า เมื่อปรารถนาซึ่งภาวะแห่งตน เป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนืองๆ ฯ"

2. ศิลาจารึกเมืองพิมาย เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรขอม มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการถอดความและแปลแล้ว จัดพิมพ์ขึ้นเป็นตัวหนังสือเรื่อง "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ) กล่าวว่า

นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย) ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมก:) คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย ธรรมกาย และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้"

3. ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค์ เป็นจารึกภาษาสันสกฤต กล่าวว่า

สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:" คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย พระธรรมกาย อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"





อ้างอิง

  • พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต))
  • อัคคัญญสูตร (1,2)
  • ปัจเจกพุทธาปทาน (1,2)
  • มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน (1,2)
  • หลักฐานและตัวอย่างหลักฐานธรรมกาย ([1])