ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัชฌิมเลขคณิต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ca, fa ลบ: ru แก้ไข: uk
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
ในทาง[[คณิตศาสตร์]]และ[[สถิติศาสตร์]] '''มัชฌิมเลขคณิต''' (หรือเพียง ''มัชฌิม'') ของรายการของจำนวน คือ[[ผลบวก]]ของสมาชิกทุกจำนวน หารด้วยจำนวนสมาชิกในรายการนั้น มัชฌิมเลขคณิตเป็นสิ่งที่[[นักเรียน]]จะได้ศึกษาเป็นอันดับแรกๆ และมักเรียกกันว่าเป็น ''ค่าเฉลี่ย'' ถ้ารายการของจำนวนเกี่ยวข้องกับ[[ประชากร (สถิติศาสตร์)|ประชากรทางสถิติ]]จะเรียกว่า ''ค่าเฉลี่ยประชากร'' และถ้าเกี่ยวข้องกับ[[ตัวอย่าง (สถิติศาสตร์)|ตัวอย่างทางสถิติ]]จะเรียกว่า ''ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง''
ในทาง[[คณิตศาสตร์]]และ[[สถิติศาสตร์]] '''มัชฌิมเลขคณิต''' (หรือเพียง ''มัชฌิม'') ของรายการของจำนวน คือ[[ผลบวก]]ของสมาชิกทุกจำนวน หารด้วยจำนวนสมาชิกในรายการนั้น มัชฌิมเลขคณิตเป็นสิ่งที่[[นักเรียน]]จะได้ศึกษาเป็นอันดับแรกๆ และมักเรียกกันว่าเป็น ''ค่าเฉลี่ย'' ถ้ารายการของจำนวนเกี่ยวข้องกับ[[ประชากร (สถิติศาสตร์)|ประชากรทางสถิติ]]จะเรียกว่า ''ค่าเฉลี่ยประชากร'' และถ้าเกี่ยวข้องกับ[[ตัวอย่าง (สถิติศาสตร์)|ตัวอย่างทางสถิติ]]จะเรียกว่า ''ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง''



รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:04, 12 มิถุนายน 2551

ในทางคณิตศาสตร์และสถิติศาสตร์ มัชฌิมเลขคณิต (หรือเพียง มัชฌิม) ของรายการของจำนวน คือผลบวกของสมาชิกทุกจำนวน หารด้วยจำนวนสมาชิกในรายการนั้น มัชฌิมเลขคณิตเป็นสิ่งที่นักเรียนจะได้ศึกษาเป็นอันดับแรกๆ และมักเรียกกันว่าเป็น ค่าเฉลี่ย ถ้ารายการของจำนวนเกี่ยวข้องกับประชากรทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยประชากร และถ้าเกี่ยวข้องกับตัวอย่างทางสถิติจะเรียกว่า ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง

และเมื่อมัชฌิมเลขคณิตมีค่าประมาณไม่เท่ากับมัธยฐาน ดังนั้นรายการของจำนวน หรือการแจกแจงความถี่ จะเรียกว่ามีความเบ้ (skewness) ของข้อมูล

สัญกรณ์และนิยาม

ถ้าเรากำหนดชุดข้อมูล ขึ้นมาชุดหนึ่ง มัชฌิมเลขคณิตของชุดข้อมูลนี้สามารถเขียนแทนได้ด้วยชื่อตัวแปร x และมีขีดอยู่ข้างบน เช่น อ่านว่า เอกซ์ บาร์

บางครั้งมีการใช้อักษรกรีก มิว ตัวเล็ก (μ) แทนมัชฌิมเลขคณิตของประชากรทั้งหมด หรือสำหรับตัวแปรสุ่ม X ที่ได้นิยามมิชฌิมไว้แล้ว ค่าของ μ จะหมายถึงค่าคาดหมาย (expected value) ของตัวแปรสุ่มนั้น เขียนแทนได้ด้วย

แต่ในทางปฏิบัติ ความแตกต่างระหว่าง μ กับ ไม่สามารถสังเกตเพื่อแยกแยะได้อย่างชัดเจน เพราะเราสังเกตเพียงกลุ่มตัวอย่างหนึ่งแทนที่จะเป็นประชากรทั้งหมด และเมื่อตัวอย่างนั้นเป็นการสุ่มขึ้นมา เราจึงต้องทำเหมือนว่า เป็นตัวแปรสุ่มอีกตัวหนึ่งในการอธิบายการแจกแจงความน่าจะเป็น แทนที่จะเป็น μ ซึ่งสัญกรณ์ทั้งสองอย่างสามารถคำนวณได้ด้วยสูตรเดียวกันคือ

ตัวอย่างเช่น มัชฌิมเลขคณิตของข้อมูล 3 จำนวน สามารถคำนวณได้จาก

หรือมัชฌิมเลขคณิตของข้อมูล 4 จำนวน สามารถคำนวณได้จาก เป็นต้น

ดูเพิ่ม