ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรรณวิทย์ เก่งเรียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Midori~thwiki (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาด +แจ้งรอตรวจสอบด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ภาพ:บรรณวิทย์.jpg|thumb|200px|right|พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน]]
[[ภาพ:บรรณวิทย์.jpg|thumb|200px|right|พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน]]
'''พลเรีอเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน'''
'''พลเรีอเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:21, 11 มิถุนายน 2551

ไฟล์:บรรณวิทย์.jpg
พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน

พลเรีอเอกบรรณวิทย์ เก่งเรียน

ประวัติ

ชื่อเล่น 'นุ' เป็นบุตรของนายประสิทธิ์ และนางศรีสว่าง เก่งเรียน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2491

มีพี่น้องรวม 5 คน ได้แก่

1. นายดำรงเกียรติ เก่งเรียน

2. ร.ศ.นรีวรรณ จินตกานนท์

3. พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน

4. ร.อ.อิทธิพล เก่งเรียน (ตท. 10 - ถึงแก่กรรมในสนามรบ)

5. นายนิติพัฒน์ เก่งเรียน (บิดาของนายรัตนพล เก่งเรียน หรือ วิน วง โปเตโต้)

สมรสกับนางอนูรี (กรลักษณ์) มีบุตร-ธิดา รวม 3 คน

พลเรือเอกบรรณวิทย์ ศึกษาชั้นมัธยมที่ โรงเรียนสาธิตปทุมวัน ก่อนที่จะศึกษาต่อที่โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 7 (ตท. 7) รุ่นเดียวกับ พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร

ตำแหน่งที่สำคัญ

  • รองปลัดกระทรวงกลาโหม
  • ประธานที่ปรึกษา กองทัพเรือ (อัตราจอมพล)
  • รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
  • เลขานุการกองบัญชาการทหารสูงสุด
  • ประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ประสบความสำเร็จในการเป็นทหารอาชีพ ได้รับตำแหน่งเป็นนายพลตั้งแต่อายุ 44 ปี ซึ่งถือเป็นนายพลที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น

บทบาทในทางการเมืองและสังคม

พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน มีชื่อเสียงในสังคมเป็นครั้งแรกด้วยการเป็นนายทหารที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ออกมาเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาว่า มีการใช้อำนาจการเมืองแทรกแซงการแต่งตั้งนายทหารระดับสูงในกองทัพ มีช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมกับนายทหารคนอื่น ๆ จนถูกทางกระทรวงกลาโหม โดย พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงในขณะนั้นสอบวินัย

ภายหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมกับเป็นประธานคณะกรรมาธิการคมนาคมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำการตรวจสอบการทุจริตในกระทรวงคมนาคมของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต่าง ๆ อย่างเฉียบขาด ตรงไปตรงมา ถึงลูกถึงคน เช่น กรณีทุจริตการซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด CTX หรือ การทุจริตในสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น จึงทำให้มีปัญหากับบุคคลหรือหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบหรือเกี่ยวข้องบ่อย ๆ

ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำปี พ.ศ. 2550 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม เนื่องจากถูกสนช.สายทหารกล่าวหาว่า พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ไม่โปร่งใสในระหว่างทำหน้าที่บริหารองค์การแบตเตอรี่ จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม หลังจากที่กระทบกระทั่งกับผู้บังคับบัญชา จากกรณีที่ออกมาปกป้องพล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร[1]

ในการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้ขอลาออกจากราชการทหารเพื่อที่ลงรับสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วนของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมล่าช้า จึงไม่ทันการสมัคร ซึ่ง พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการกลั่นแกล้งตนเอง แต่ทางกระทรวงกลาโหมได้ปฏิเสธ

จากบทบาทในทางการเมืองที่ไม่ประสบความสำเร็จทำให้ในปี 2550 สื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ตั้งฉายา "พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน" ว่า "ดาวดับ"[2]

อ้างอิง

  1. http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRFNU9Ea3hOVGd6TVE9PQ
  2. http://www.matichon.co.th/khaosod/view_newsonline.php?newsid=TVRFNU9Ea3hOVGd6TVE9PQ

แหล่งข้อมูลอื่น