ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระต่ายป่า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Taxobox | color = pink | name = กระตายป่า | image = 2414.jpg | status = LR/lc | regnum = Animalia | phylum = Chordata | classis = Mammalia |...
 
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ca:Lepus peguensis
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


[[หมวดหมู่:กระต่าย]]
[[หมวดหมู่:กระต่าย]]

[[ca:Lepus peguensis]]
[[en:Burmese Hare]]
[[en:Burmese Hare]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:51, 31 พฤษภาคม 2551

กระตายป่า
ไฟล์:2414.jpg
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Lagomorpha
วงศ์: Leporidae
สกุล: Lepus
สปีชีส์: L.  peguensis
ชื่อทวินาม
Lepus peguensis
Blyth, ค.ศ. 1855

กระต่ายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Leporidae ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepus peguensis มีลักษณะเด่นคือ มีหูยาว สามารถมองเห็นได้แต่ไกล มีขนขึ้นบริเวณกระพุ้งแก้มและมีฟันหน้าของขากรรไกรบน 4 ซี่ เรียงซ้อนกัน 2 คู่ ฟันคู่หลังเล็กกว่าคู่หน้า ขาคู่หลังยาวกว่าขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ใต้ผ่าเท้ามีขนปกคลุมหนาแน่นช่วยให้เคลื่อนไหวได้โดยไม่มีเสียง หางสั้นเป็นกระจุก ขนบริเวณหลังเป็นสีน้ำตาลปนเทา ปลายขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีความยาวลำตัวและหัว 44-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 6.5-8.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1.35-7 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ในพม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา ชอบอาศัยในป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ออกหากินในเวลากลางคืนตามพงหญ้าที่รกชัฏ ออกหากินตามลำพังในอาณาบริเวณของตัวเอง มี หญ้า เป็นอาหารหลัก ยอดไม้ หรือผลไม้ที่ร่วงจากต้นเป็นอาหารเสริม ในบางครั้งอาจแทะเขากวางที่ผลัดทิ้งเพื่อเพิ่มแคลเซียมด้วย กระต่ายป่าตัวผู้มักตต่อสู้เพื่อแย่งชิงตัวเมียในฤดูผสมพันธุ์ด้วยการกระโดดถีบหรือกัดด้วยความรุนแรง

กระต่ายป่าตัวเมียใช้เวลาตั้งท้อง 35-40 วัน ออกลูกครั้งละ 1-7 ตัว โดยการขุดโพรงใต้ดินอยู่ ลูกกระต่ายป่าที่เกิดใหม่จะขนปกคลุมตัว และลืมตาได้เลย