ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Loveless (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: bg:Рататуй (филм)
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: cy:Ratatouille (ffilm 2007)
บรรทัด 513: บรรทัด 513:
[[ca:Ratatouille (pel·lícula)]]
[[ca:Ratatouille (pel·lícula)]]
[[cs:Ratatouille (film)]]
[[cs:Ratatouille (film)]]
[[cy:Ratatouille (ffilm 2007)]]
[[da:Ratatouille (film)]]
[[da:Ratatouille (film)]]
[[de:Ratatouille (Film)]]
[[de:Ratatouille (Film)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:42, 30 พฤษภาคม 2551

ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก
ไฟล์:RatatouillePoster.jpg
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับแบรด เบิร์ด
แจน พินคาว่า
(ให้เครดิตเป็นผู้ช่วยผู้กำกับ)
เขียนบทแบรด เบิร์ด
เนื้อเรื่อง:
แจน พินคาว่า
Jim Capobianco
แบรด เบิร์ด
Emily Cook
Kathy Greenberg
อำนวยการสร้างแบรด ลูอิส
นักแสดงนำแพทตัน ออสวัลท์
ลู โรมาโน
ปีเตอร์ ซอห์น
แบรด การ์เร็ต
จานีน กาโรฟาโล
เอียน โฮล์ม
ไบรอัน เดนเนฮี
ปีเตอร์ โอ’ ทูล
กำกับภาพRobert Anderson
Sharon Calahan
ตัดต่อDarren T. Holmes
ดนตรีประกอบไมเคิล จิอาคิโน
ผู้จัดจำหน่ายวอล์ท ดิสนีย์ พิกเจอร์
พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ
วันฉายRUS 28 มิถุนายน 2550
NA 29 มิถุนายน 2550
THA 26 กรกฎาคม 2550
FRA 1 กุมภาพันธ์ 2550
AUS 28 กุมภาพันธ์ 2550
PHI 6 กันยายน 2550
UK 12 ตุลาคม 2550
ความยาว111 นาที
ประเทศ สหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง150 ล้านเหรียญสหรัฐ[1]
ทำเงินทั่วโลก: 620,261,049 เหรียญสหรัฐ
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากสยามโซน

ระ-ทะ-ทู-อี่ พ่อครัวตัวจี๊ด หัวใจคับโลก เป็นชื่อภาษาไทยของภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง Ratatouille ผลิตโดย พิกซาร์ และจัดจำหน่ายโดย วอล์ท ดิสนีย์ แอนิเมชัน กำกับภาพยนตร์โดย แบรด เบิร์ด (Brad Bird) ออกฉายในประเทศไทยในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 และออกฉายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ถือเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันลำดับที่ 8 ของพิกซาร์ โดยตั้งชื่อตามอาหารของฝรั่งเศส ราทาทุย (ออกเสียง แรททาทูอี ในภาษาอังกฤษ) ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลออสการ์, รางวัลลูกโลกทองคำ, รางวัลบาฟต้า, และรางวัลแกรมมี่

เนื้อเรื่อง

เรมี่ (Rémy) เป็นหนูซึ่งอาศัยอยู่ในฝรั่งเศส อยู่กับอาณาจักรหนูโดยมีพี่ชายคือ เอมิล (Emile) และมีพ่อคือ จังโก้ (Django) ซึ่งเป็นหัวหน้าอาณาจักรหนู เรมี่มีประสาทรับรสที่ดีเยี่ยม พ่อของเขาจึงให้เรมี่เป็นคนตรวจสอบยาเบื่อ แต่เรมี่ค่อนข้างแตกต่างจากหนูตัวอื่นๆ ที่เขามักจะเลือกกินแต่ของดีๆ และเดินสองขาเพราะไม่อยากให้มือ (เท้าหน้า) สกปรก เรมี่จึงไม่ค่อยลงรอยกับพ่อเขามากนัก จนวันหนึ่งเรมี่และเอมิลได้เข้าไปภายในบ้านของหญิงแก่เพื่อหาของกิน และเขาก็พบหนังสือของ ออกุส กุสโตว์ (Auguste Gusteau) เชฟมือทองของฝรั่งเศส โดยเขามีร้านอาหารชื่อกุสโตว์ (Gusteau's) ซึ่งเป็นร้านอาหารห้าดาวในปารีส โดยเรมี่ชื่นชมเชฟกุสโตว์มาก โดยเฉพาะคติของเขาที่ว่า "ไม่ว่าใครก็ทำอาหารได้" (Anyone can cook!) แต่เรมี่ก็ได้ดูโทรทัศน์ก็พบว่า ร้านกุสโตว์ถูกลดดาวเหลือเพียงสี่ดาวหลังจากถูกวิจารณ์โดยนักวิจารณ์อาหาร แอนทอน อีโก้ (Anton Ego) หลังจากนั้นไม่นานเชฟกุสโตว์ก็เสียชีวิตลงในเวลาต่อมาโดยไม่ทราบสาเหตุ ด้วยเหตุนี้ร้านกุสโตว์จึงถูกลดดาวอีกเป็นสามดาว ขณะที่เรมี่ดูโทรทัศน์อยู่และทราบว่าเชฟกุสโตว์ตายแล้ว หญิงแก่ก็ตื่นขึ้นพอดี และพยายามใช้ปืนไล่ยิงเรมี่และเอมิล จนหลังคาด้านบนแตกออกและหนูจำนวนมากก็หล่นลงมา พ่อของเรมี่จึงรีบให้หนูทุกตัวไปขึ้นแพตรงแม่น้ำ แต่เรมี่เอาหนังสือของกุสโตว์ไปด้วย ทำให้ตามหนูที่เหลือไม่ทันและพลัดพรากจากครอบครัว

หลังจากที่เรมี่เริ่มหมดหวัง ภาพในจิตนการของเรมี่ซึ่งเป็นเชฟกุสโตว์ก็ออกมาและบอกเรมี่ว่า "อาหารจะมาหาผู้รักการทำอาหารเสมอ" เรมี่จึงวิ่งไปเรื่อยๆ และพบว่าเขาอยู่ในกรุงปารีสและพบร้านกุสโตว์ โดยปัจจุบันมีหัวหน้าเชฟคือ สกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งเคยเป็นอดีต ซูเชฟ (sous-chef/รองหัวหน้าเชฟ) ของร้านกุสโตว์ ในขณะนั้นมีเด็กหนุ่มคนหนึ่งชื่อ อัลเฟรโด้ ลิงกวินี่ (Alfredo Linguini) มาขอทำงานในร้านกุสโตว์โดยมาพร้อมกับจดหมายจากแม่ของเขาซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว สกินเนอร์จึงให้ลิงกวินี่เป็นเด็กเทขยะ และเขาก็ทำหม้อซุปหล่น เขาจึงปรุงซุปแบบหยิบอะไรได้ก็ใส่ลงไป เรมี่บังเอิญหล่นจากหลังคาร้านกุสโตว์ลงไปยังอ่างล้างจาน หลังจากพยายามหนีออกมา เขาได้กลิ่นซุปแล้วรู้สึกไม่ดีเขาจึงพยายามแก้รสของซุป ลิงกวินี่เห็นเรมี่พอดีจึงใช้ที่ครอบหม้อจับไว้ สกินเนอร์จึงจับลิงกวินี่ไว้ข้อหาที่เขาทำอาหารในครัว ในขณะที่อยู่ในความสับสน ซุปได้ถูกเสิร์ฟไปยังแขกลูกค้าแล้ว และลูกค้าคนนั้นคือนักวิจารณ์อาหาร โซลีน เลอแคลร์ โดยเธอชมว่าซุปของร้านกุสโตว์มีรสชาติดีเยี่ยม

เซฟผู้หญิงคนเดียวในร้านกุสโตว์ คอลเลตต์ ทาทูว์ (Colette Tatou) บอกสกินเนอร์ไม่ให้ไล่ลิงกวินี่ออก และยกคติของเชฟกุสโตว์ว่า "ไม่ว่าใครก็ทำอาหารได้" สกินเนอร์จึงไม่ไล่ลิงกวินี่ออกแต่จะให้เขาทำซุปใหม่อีกครั้ง ขณะที่สกินเนอร์กำลังคุยกับลิงกวินี่อยู่นั้นเขาก็เห็นเรมี่กำลังหนีอยู่พอดี ลิงกวินี่จึงจับเรมี่ไว้ในขวด และสกินเนอร์ก็สั่งให้เอาเรมี่ไปไกลๆ แล้วฆ่ามัน แต่เมื่อถึงริมฝั่งแม่น้ำลิงกวินี่ไม่สามารถทำใจฆ่าเรมี่ได้ เขาจึงเริ่มคุยกับเรมี่ บอกปัญหาต่าง และเขาพบว่าเรมี่เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด โดยการพยักหน้าและภาษากาย

ไฟล์:Ratatouille-remy-control-linguini.png
เรมี่ค้นพบว่าเขาสามารถควบคุมลิงกวินี่ได้โดยการดึงผมของเขา

วันรุ่งขึ้นร้านกุสโตว์ถูกจับตามองอีกครั้งหลังคำวิจารณ์ของโซลีน เลอแคลร์เผยแผร่ โดยลิงกวินี่คิดหาว่าจะไว้เรมี่ที่ไหนดี และสุดท้ายหลังจากใช้ความพยายามหลายครั้งเขาจึงเอาเรมี่ไว้ในหมวกพ่อครัว และตอนนั้นลิงกวินี่เกือบจะชนกับบริกรของร้าน เรมี่ก็ดึงผมของลิงกวินี่โดยไม่ได้ตั้งใจ ลิงกวินี่ก็หลบบริกรได้ทัน ลิงกวินี่จึงถามเรมี่ว่าเขาทำได้อย่างไร เรมี่ก็ลองดึงผมของลิงกวินี่ ลิงกวินี่ก็ขยับตามการดึงผมของเรมี่ เรมี่จึงใช้วิธีนี้ให้เขาสามารถควบคุมลิงกวินี่ให้ทำอาหารได้

ลิงกวินี่สามารถทำซุปใหม่ผ่านการควบคุมอย่างลับๆ ของเรมี่ แต่สกินเนอร์ก็สงสัยว่าทำไมคนไม่เคยทำอาหารอย่างลิงกวินี่จึงทำซุปได้อร่อยนัก ในคืนนั้นมีลูกค้าประจำโดยพวกเขาต้องการอาหารสูตรใหม่ที่ไม่มีอยู่ในเมนูบ้าง เรมี่และลิงกวินี่ก็ทำอาหาร สวีตเบรด-อลากุสโตว์ ซึ่งกุสโตว์ยังเคยพูดเองว่าอาหารสูตรนี้แย่สุดๆ แต่ลูกค้าชอบมากและมีออเดอร์เข้ามาหลายที่ ระหว่างที่ลิงกวินี่กำลังฉลองความสำเร็จเล็กๆ ในร้าน ในตอนนั้นสกินเนอร์เขาก็เห็นเงาของหนูในหมวกของลิงกวินี่ เขาจึงให้ลิงกวินี่ดื่มไวน์ ชาโต ลาตูร์ (Château Latour) จนเมาเพื่ออาจจะได้ความลับบางอย่างแต่ก็ไม่สำเร็จ เขาซึ่งให้ลิงกวินี่ล้านจานและทำความสะอาดร้านจนถึงเช้า

วันรุ่งขึ้นขณะที่ลิงกวินี่กำลังหลับอยู่และยังไม่ส่างเมา คอลเลตต์ได้มาถึงพอดี เรมี่จึงเข้าไปในหมวกของลิงกวินี่และใส่แว่นดำให้กับเขา และควบคุมลิงกวินี่ทั้งๆ ที่หลับ จนสุดท้ายลิงกวินี่เกือบที่จะเปิดเผยความจริง เรมี่จึงดึงผมของลิงกวินี่จนลิงกวินี่ล้มบนคอลเลตต์และจูบกันโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้งสองเริ่มเดตกัน ทำให้เรมี่รู้สึกว่าถูกละทิ้ง ในขณะนั้นสกินเนอร์ได้อ่านจดหมายจากแม่ของลิงกวินี่และพบว่าลิงกวินี่เป็นลูกชายของกุสโตว์และต้องรับมรดกร้านกุสโตว์ไว้ จากพินัยกรรมของเชฟกุสโตว์ หากไม่มีทายาทของกุสโตว์ปรากฏตัวภายใน 2 ปีหลังจากกุสโตว์เสียชีวิต ตำแหน่งหัวหน้าเชฟจะตกเป็นของผู้ช่วยเชฟ ซึ่งนั่นคือสกินเนอร์นั่นเอง ทำให้แผนการของสกินเนอร์ที่จะขายชื่อร้านกุสโตว์ในธุรกิจอาหารแช่แข็งอยู่ในสถานการณ์ล่อแหลม และสกินเนอร์ก็พยายามหาวิธีเขี่ยลิงกวินี่ออกจากร้านกุสโตว์ให้ได้

คืนหนึ่ง เรมี่ได้พบกับครอบครัว จังโก้พ่อของเขาจัดงานฉลองอย่างใหญ่โต แต่เรมี่บอกว่าเขาจะไม่อยู่กับครอบครัวแต่จะกลับไปอยู่กับมนุษย์ (ลิงกวินี่) แล้วจะกลับมาเยี่ยมครอบครัวบ่อยๆ จังโก้จึงพาเรมี่ไปยังร้านขายยาเบื่อและกับดักหนูซึ่งมีแต่หนูที่ตายอยู่ในตู้กระจก และบอกเรมี่ว่านี่คือผลจากการที่หนูทำตัวสบายใกล้มนุษย์เกินไป เรมี่ไม่เชื่อและขอเดินในเส้นทางของเขาเอง

ระหว่างที่กำลังหาอาหาร เรมี่ได้พบพินัยกรรมของกุสโตว์ในลิ้นชักของสกินเนอร์ หลังจากหนีการตามล่าของสกินเนอร์ เรมี่สามารถหนีมาได้และเอาไปให้ลิงกวินี่ ลิงกวินี่ถือว่าเป็นเจ้าของร้านกุสโตว์อย่างสมบูรณ์แล้ว ทำให้แผนของสกินเนอร์ต้องล่มทั้งหมด สกินเนอร์ถูกไล่ออกทำให้ร้านกุสโตว์มีหน้าตาขึ้นมาอีกครั้ง

แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ยินดีในตัวลิงกวินี่ แอนทอน อีโก้ นักวิจารณ์อาหารได้มายังร้านกุสโตว์อีกครั้ง และบอกแก่ลิงกวินี่ว่าพรุ่งนี้เขาจะมาอีกครั้งด้วยความหวังอย่างสูง แต่ในวันนั้นลิงกวินี่และเรมี่แตกคอกัน แต่บังเอิญสกินเนอร์เห็นเรมี่พอดีและรู้ความจริงว่าเรมี่เป็นคนทำอาหาร วันต่อมาสกินเนอร์จึงวางกับดักเรมี่ และจะให้เรมี่ทำอาหารแช่แข็งยี่ห้อเชฟสกินเนอร์แลกกับการไม่ฆ่าเรมี่ ทางด้านร้านกุสโตว์ อีโก้ได้มาถึงและบอกแก่บริกรว่า “บอกเชฟลิงกวินี่ของคุณว่าให้เอาอะไรก็ได้ที่เขากล้ามาเสิร์ฟผม ให้เขาซัดผมด้วยสูตรเด็ดของเขาเลย” สกินเนอร์ซึ่งแอบปลอมตัวมาก็สั่งอาหารตามที่อีโก้สั่ง ลิงกวินี่ซึ่งไม่รู้จะทำอาหารอะไรดีเพราะตอนนี้เรมี่ไม่อยู่แล้ว เขาจึงกระวนกระวายและวิ่งเข้าห้องทำงานไป

เรมี่ได้รับความช่วยเหลือจากพ่อของเขาและเอมิล เรมี่รีบกลับไปที่ร้านกุสโตว์ทันทีเพราะเขารู้ว่าลิงกวินี่ต้องทำอาหารไม่ได้แน่ แต่เมื่อเขาไปถึงพวกเชฟก็พยายามจะจับเรมี่ ลิงกวินี่เห็นดังนั้นจึงรีบมาปกป้องเรมี่ไว้ และอธิบายว่าเรมี่เป็นคนทำอาหาร ทำให้คนอื่นๆ รับไม่ได้จึงเดินออกจากครัวไปหมด เหลือแต่ลิงกวินี่กับเรมี่ ลิงกวินี่จึงเดินคอตกเข้าห้องไป พ่อของเรมี่ก็ออกมาและบอกว่าเขาบอกเพื่อนของเรมี่ผิดไปและมองเรมี่ผิด เขาจึงเรียกพรรคพวกหนูของเขามาและบอกแก่เรมี่ว่า ให้เรมี่สั่งมาได้เลยว่าให้ทำอาหารยังไง แต่บังเอิญเจ้าหน้าที่กรมอนามัยที่สกินเนอร์ได้โทรนัดไว้มาพอดี พ่อของเรมี่จึงให้พรรคพวกส่วนหนึ่งจับไว้ อีกส่วนหนึ่งช่วยเรมี่ทำอาหาร

ไฟล์:Ratatouille movie foodmovie.PNG
แรททาทูอีตามที่เห็นในภาพยนตร์

ด้านคอเลตต์ ขณะที่เธอกับขี่จักรยานยนต์ไปตามถนน เธอได้เห็นหนังสือของกุสโตว์ “ไม่ว่าใครก็ทำอาหารได้” เธอจึงยอมที่จะกลับไปที่ร้านกุสโตว์ ขณะนั้นลิงกวินี่เป็นบริกรชั่วคราวโดยใช้โรวเลอร์สเก็ตเพื่อความรวดเร็ว เรมี่เสนอคอลเลตต์ให้ทำ แรททาทูอี (Ratatouille) แต่คอลเลตต์แย้งว่ามันเป็นอาหารคนจน และถามเรมี่อีกครั้ง แต่เรมี่มั่นใจที่จะทำแรททาทูอี เมื่อแรททาทูอีเสิร์ฟไปถึงโต๊ะของอีโก้และสกินเนอร์ เมื่ออีโก้กินเข้าไปคำแรก เขาก็ระรึกถึงวัยเด็กสมัยที่แม่ของเขาเคยทำแรททาทูอีให้กิน สกินเนอร์ซึ่งเมื่อกินแล้วก็บุกเข้าไปถึงในครัวแล้วถามว่าใครเป็นคนทำระทะทูอี แต่เมื่อเขาเห็นหนูกำลังทำอาหารเขาก็ตกตะลึงและถูกพวกหนูจับขังเหมือนเจ้าหน้าที่อนามัย

อีโก้ตอนแรกคิดว่าลิงกวินี่เป็นเชฟ แต่ลิงกวินี่บอกอีโก้ว่าเขาเป็นแค่เด็กเสิร์ฟ อีโก้ต้องการจะพบเชฟ คอลเลตต์จึงบอกอีโก้ว่าเขาต้องรอจนกว่าแขกคนอื่นๆ จะกลับไปหมดก่อน หลังร้านปิดลิงกวินี่ก็เผยว่าเรมี่เป็นคนทำอาหาร และได้พาไปดูถึงในครัว อีโก้จึงได้เปลี่ยนความคิดเดิมๆ ของเขาแล้วเขียนคำวิจารณ์ว่า ตอนนี้ผมพอที่จะเข้าใจความหมายของคำที่ว่า "ไม่ว่าใครก็ทำอาหารได้" และกล่าวว่าเชฟที่ร้านกุสโตว์เป็นเชฟที่ยอดเยี่ยมที่สุดของฝรั่งเศส

อย่างไรก็ตามร้านกุสโตว์ถูกปิดโดยกรมอนามัย อีโก้เสียเครดิตไปจำนวนมาก ถึงกระนั้น ลิงกวินี่, คอลเลตต์, และเรมี่จึงไปเปิดร้านอาหารเล็กๆ แห่งใหม่ที่ชื่อว่า La Ratatouille โดยมีอีโก้เป็นลูกค้าประจำ ระเบียงด้านบนร้านเป็นร้านอาหารเล็กๆ สำหรับหนู ภาพยนตร์จบลงด้วยภาพคนต่อแถวยาวจากร้าน โดยมีสัญลักษณ์ร้านเป็นหนูใส่หมวกพ่อครัวและถือทัพพี และขึ้นคำว่า "Fin" ซึ่งเป็นภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "จบ"

ตัวละคร

  • เรมี่ (Rémy)
หนูชนบทที่มีความใฝ่ฝันอยากที่จะเป็นเชฟชื่อดังในกรุงปารีส โดยตอนหลังอยู่ที่ร้าน La Ratatouille โดยคอยช่วยลิงกวินี่และคอลเลตต์ทำอาหาร
ให้เสียงพากย์โดย แพทตัน ออสวัลท์
  • อัลเฟรโด้ ลิงกวินี่ (Alfredo Linguini)
ลูกชายของออกุส กุสโตว์ เชฟชื่อดังของฝรั่งเศส ตอนแรกเขาทำงานเป็นเด็กเทขยะ แต่เมื่อมีเรมี่คอยให้ความช่วยเหลือ เขาก็กลายเป็นเชฟที่มีชื่อเสียง โดยมีความสัมพันธ์กับคอลเลตต์ตั้งแต่เรมี่ทำให้ลิงกวินี่จูบคอลเลตต์โดยไม่ได้ตั้งใจ
ให้เสียงพากย์โดย ลู โรมาโน
  • คอลเลตต์ ทาทูว์ (Colette Tatou)
เชฟผู้หญิงคนเดียวในร้านกุสโตว์ โดยเธอคอยฝึกการเป็นเชฟให้กับลิงกวินี่ตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ถึงแม้เธอจะไม่ค่อยถูกใจลิงกวินี่เท่าไหร่นัก แต่เมื่อลิงกวินี่จูบเธอโดยไม่ได้ตั้งใจ เธอกับลิงกวินี่ก็เริ่มออกเดตด้วยกัน ทำให้เรมี่รู้สึกโดดเดี่ยว โดยเธอเป็นคนๆ เดียวที่กลับช่วยเหลือลิงกวินี่จนผ่านวิกฤตไปได้
ให้เสียงพากย์โดย จานีน กาโรฟาโล
  • สกินเนอร์ (Skinner)
เจ้าของร้านกุสโตว์หลังจากที่กุสโตว์ตายไป เป็นหนึ่งในตัวร้ายหลักของเรื่อง เขาต้องการที่จะขายชื่อกุสโตว์เพื่อทำการตลาดอาหารกล่องและอาหารแช่แข็ง
ให้เสียงพากย์โดย เซอร์ เอียน โฮล์ม
  • แอนทอน อีโก้ (Anton Ego)
เป็นนักวิจารณ์อาหารที่มีอิทธพลมากที่สุดในฝรั่งเศส และเคยวิจารณ์ร้านกุสโตว์ซึ่งอาจเป็นเหตุการตายของกุสโตว์ก็เป็นได้ เขากล่าวว่า เขารักอาหาร แต่ถ้าเขาไม่ชอบมันเขาจะไม่กลืนมันลงคอ
ให้เสียงพากย์โดย ปีเตอร์ โอ’ ทูล
  • ออกุส กุสโตว์ (Auguste Gusteau)
เชฟชื่อดังของฝรั่งเศสที่เสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุหลังจากร้านกุสโตว์ถูกลดดาวเหลือสี่ดวงเหตุโดยคำวิจารณ์ของอีโก้ โดยเขาได้เขียนพินัยกรรมทิ้งไว้ก่อนเสียชีวิต กุสโตว์ปรากฏออกมาเป็นระยะในรูปจินตนาการของเรมี่
ให้เสียงพากย์โดย แบรด การ์เร็ต
  • เอมิล (Emile)
พี่ชายของเรมี่ เป็นคนทึ่งอะไรง่ายและมองโลกในแง่ดี และค่อนข้างตะกละ
ให้เสียงพากย์โดย ปีเตอร์ ซอห์น
  • จังโก้ (Django)
พ่อของเรมี่และเอมิล และเป็นหัวหน้าอาณาจักรหนู เขาไม่ต้องการอะไรนอกจากให้เรมี่เป็นเหมือนกันหนูตัวอื่นๆ ในอาณาจักร จังโก้ไม่เห็นด้วยที่เรมี่จะไปอยู่กับมนุษย์แต่สุดท้ายเขาก็ยอมที่จะช่วยเรมี่ให้ร้านกุสโตว์ฝ่าวิกฤตไปได้
ให้เสียงพากย์โดย ไบรอัน เดนเนฮี

ตัวละครอื่นๆ

  • Will Arnett พากย์เสียง ฮอสส์ (Horst) ซูเชฟร้านกุสโตว์
  • James Remar พากย์เสียง ลาร์รูส (Larousse) เชฟร้านกุสโตว์
  • Tony Fucile พากย์เสียง บอมปีดู (Pompidou) เชฟร้านกุสโตว์ และ คนจากกรมอนามัย
  • Julius Callahan พากย์เสียง ลาโล (Lalo) เชฟร้านกุสโตว์ และ ฟรังซัวส์ (Francois) คนออกแบบอาหารให้กับสกินเนอร์
  • John Ratzenberger พากย์เสียง มุสตาฟาร์ (Mustafa) บริกรของร้านกุสโตว์
  • Teddy Newton พากย์เสียง ทาลอง ลาบาร์ดี (Talon Labarthe) ทนายของสกินเนอร์
  • แบรด เบิร์ด พากย์เสียง แอมบริสเตอร์ มีเนียน (Ambrister Minion) คนรับใช้ของอีโก้
  • โธมัส เคลเลอร์ พากย์เสียง แขกร้านกุสโตว์[2]

การสร้างภาพยนตร์

ในตอนแรก แจน พินคาว่าเป็นคนเริ่มออกแบบและกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2544 โดยเขาเป็นคนวางโครงเรื่องและตัวละครในตอนแรก[3] แต่พิกซาร์ไม่มีความมั่นใจในการเขียนบทของพินคาว่า[4] จึงเปลี่ยนผู้กำกับดูแลเป็นแบรด เบิร์ดในปีพ.ศ. 2548[5][6][7] เบิร์ดสนใจต่อภาพยนตร์เรื่องนี้มากด้วยเหตุที่มีเนื้อเรื่องค่อนข้างแหวกแนวจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ และเบิร์ดต้องการให้ภาพยนตร์ออกแนวตลกเจ็บตัว[5] โดยใช้ตัวลิงกวินี่เป็นตัวละครสำคัญ[8] เบิร์ดเขียนเนื้อเรื่องใหม่โดยให้มีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น เขาตัดบทกุสโตว์ให้น้อยลง แล้วไปเพิ่มบทให้กับสกินเนอร์และคอลเลตต์[9] และพยายามไม่ให้ลักษณะของหนูเป็น anthropomorphic มากเกินไป[10] (คือการนำลักษณะของมนุษย์ไปเข้ากับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์หรือสิ่งไม่มีชีวิต เช่นอย่างที่เห็นได้ในเรื่อง ทอย สตอรี่ (Toy Story))

เนื่องจาก Ratatouille มีเนื้อหาเกี่ยวกับความใฝ่ฝัน ความสวยงาม อย่างเช่นทิวทัศน์ของกรุงปารีส ทำให้ Ratatouille แตกต่างจากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ[5] ของพิกซาร์อย่างชัดเจน ผู้กำกับแบรด เบิร์ด ผู้อำนวยการสร้างแบรด ลูอิส และลูกทีมต้องไปที่ปารีสเพื่อดูสภาพแวดล้อมของเมือง ขี่จักรยานยนต์รอบเมือง และกินอาหารที่ร้านอาหารชื่อดัง 5 ร้านในปารีส[11] นอกจากนั้น Ratatouille ยังมีฉากเกี่ยวกับน้ำ 2 ฉาก อย่างเช่นฉากที่เรมี่เข้าไปอยู่ในท่อระบายน้ำ และฉากที่ลิงกวินี่ค้วาขวดโหลที่ใส่เรมี่ไว้แล้วตกน้ำ พนักงานของพิกซาร์ (Shade/Paint Dept Coordinator Kesten Migdal) ต้องใส่ชุดพ่อครัวและกระโดดลงไปในสระว่ายน้ำของพิกซาร์เพื่อดูว่าผ้าส่วนไหนเปียกจนแนบเนื้อหรือมีสีเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง[12]

การออกแบบอาหาร

ความท้าทายของผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้คือการสร้างอาหารซึ่งเกิดจากภาพกราฟิกส์ทางคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญคือต้องทำให้อาหารดูน่ารับประทาน พิกซาร์จึงได้เชิญเชฟทั้งของสหรัฐและฝรั่งเศสมาประชุมกัน[10] และทีมแอนิเมชันต้องไปเรียนทำอาหารที่โรงเรียนสอนการประกอบอาหารใน San Francisco-area เพื่อทำความเข้าใจกับงานในครัว[2] Sets/Layout Dept Manager Michael Warch คอยช่วยเหลือพิกซาร์ด้านการออกแบบอาหาร โธมัส เคลเลอร์ (Thomas Keller) เชฟที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันที่ชำนาญในการทำอาหารฝรั่งเศส อนุญาตให้ผู้อำนวยการสร้างแบรด ลูอิส เข้าไปดูครัวของเขาที่ร้าน French Laundry ได้ เชฟเคลเลอร์ได้ออกแบบอาหาร Ratatouille แบบใหม่ โดยเขาให้ชื่อว่า “confit byaldi” โดย confit byaldi มีมาตั้งแต่ปีค.ศ. 1976 แต่เคลเลอร์ได้ออกแบบมันใหม่สำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ Ratatouille แบบที่เรมี่ทำเสิร์ฟให้อีโก้นั่นเอง[2] การให้แสงผักผลไม้ในเรื่องใช้แบบเดียวกับที่ใช้ในเรื่องรวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก (The Incredibles)[13] และใช้โปรแกรมออกแบบลวดลายและการเคลื่อนไหวของอาหาร[14] ฝ่าย Art Department ได้ถ่ายรูปอาหารที่แตกต่างกัน 15 ชนิด เช่น แอปเปิ้ล, เบอร์รี่, กล้วย, เห็ด, ส้ม, บล็อกโคลี่, และผักกาดหอม เพื่อดูกระบวนการเน่าเปื่อยของอาหาร[15]

การออกแบบตัวละคร

นักออกแบบของพิกซาร์ Jason Deamer กล่าวว่า ตัวละครส่วนใหญ่นั้นออกแบบโดยแจน พินคาว่าขณะที่เขายังกำกับอยู่[16] พินคาว่าพูดถึงตัวละครที่ชื่ออีโก้ว่า ตัวอีโก้นั้นออกแบบให้คล้ายแร้ง[17] ผู้เชี่ยวชาญด้านหนู Debbie Ducommun ได้ดูถึงลักษณะของหนูและนิสัยของมัน[18] นักแอนิเมชันต้องดูลักษณะของหู, จมูก, อุ้งเท้า, และหางขณะที่เคลื่อนไหว[13] นักพากย์เสียงต้องฝึกสำเนียงภาษาฝรั่งเศสให้เข้าใจ แต่ John Ratzenberger กล่าวว่าเขาคิดว่าเขามีสำเนียงเป็นอิตาเลียนมากกว่า[11]

การจัดจำหน่าย

Ratatouille ออกฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ณ Los Angeles' Kodak Theater[19] และฉายทั่วประเทศสหรัฐในสัปดาห์ต่อมา มาพร้อมกับภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั้นชื่อ Lifted ซึ่งถูกเสนอชื่อให้เข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วย[20]

การตลาด

ตัวอย่างภาพยนตร์ตัวแรกของ Ratatouille ออกฉายหลังจากเรื่อง 4 ล้อซิ่ง...ซ่าท้าโลก (Cars) ไม่นาน ซึ่งเป็นฉากที่เรมี่ขโมยชีสจากถาดรถเข็นในร้านกุสโตว์และถูกพ่อครัวในร้านไล่ล่า แต่ฉากนี้ก็ไม่ได้ปรากฏในภาพยนตร์แต่อย่างใด

ตัวอย่างภาพยนตร์ที่สองออกฉายเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2550[21] และ Ratatouille Big Cheese Tour เริ่มเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 โดยมีการแสดงการทำอาหารและตัวอย่างภาพยนตร์[22]

โลโก้ไวน์โดยใช้ Ratatouille ในการโฆษณา แต่สุดท้ายถูกแบนโดยสาเหตุที่ใช้ตัวละครการ์ตูนในการโฆษณา

ดิสนีย์และพิกซาร์นำ Ratatouille ไปโฆษณาไวน์ของบริษัท Costco ในเดือนสิงหาคม ปี 2550 แต่ก็ได้รับการร้องเรียนจาก Wine Institute มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ว่าไม่ให้ใช้ตัวการ์ตูนโฆษณาไวน์เพื่อป้องกันนักดื่มเยาว์วัย แผนโฆษณานี่จึงล่มไป[23]

ในสหราชอาณาจักร ในตัวอย่างภาพยนตร์มีฉากของเรมี่และเอมิลออกฉายในโรงภาพยนตร์เพื่อรณรงค์การไม่ซื้อแผ่นภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์[24] และยังมีการโฆษณารถยี้ห้อ Nissan Note โดยมีเอมิลและเรมี่เป็นตัวสื่อด้วย[25]

ดีสนีย์และพิกซาร์กังวลว่าผู้ชม จะไม่เข้าใจการออกเสียงคำว่า "ratatouille" ดังนั้นทั้งในตัวอย่างภาพยนตร์และโปสเตอร์หนังจะมีการออกเสียงคำไว้อยู่ด้วย[26][27]

แผ่นบลูเรย์และดีวีดี

ปกกล่องแผ่นดีวีดีภาพยนตร์

Ratatouille ถูกจัดจำหน่ายในรูปแบบแผ่นบลูเรย์ความละเอียดสูง และแผ่นดีวีดี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550[28] โดยมีฉากที่ตัดออกและเบื้องหลังภาพยนตร์ ภายในแผ่นยังมีภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั้นชื่อ Lifted โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาวฝึกหัดต้องพยายามที่จะลักพาตัวมนุษย์ที่กำลังหลับอยู่ โดยทั้งเรื่องไม่มีบทพูด และภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องสั้นอีกเรื่องหนึ่งชื่อ Your Friend the Rat รวมถึงฉากสัมภาษณ์ของและเชฟโธมัส เคลเลอร์

ผลตอบรับ

ไฟล์:Brad Bird Oscar.jpg
แบรด เบิร์ดกับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม

บ็อกซ์ ออฟฟิส

ในสหรัฐอเมริกา การเปิดตัวในสัปดาห์แรก Ratatouille เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ 3940 โรง และได้บ็อกซ์ ออฟฟิสอันดับหนึ่งในสัปดาห์นั้นด้วยรายได้จำนวน 42 ล้าน US$[29] เป็นภาพยนตร์ที่เปิดตัวได้ต่ำที่สุดของพิกซาร์นับแต่ A Bug's Life อย่างไรก็ตามในฝรั่งเศส Ratatouille ทำลายสถิติรายได้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสูงที่สุด[30] ในสหราชอาณาจักร Ratatouille ได้รายได้อันดับหนึ่งด้วยเงิน 4 ล้านปอนด์ ณ วันที่ 13 มกราคม 2551 Ratatouille ได้รายได้ทั้งหมด 206,445,654 US$ ในอเมริกาเหนือ และได้รายได้รวมทั่วโลกทั้งหมด 617,245,654 US$ ทำให้ Ratatouille ได้รายได้สูงสุดเป็นอันดับสามของพิกซาร์ตลอดกาลรองจากนีโม...ปลาเล็กหัวใจโต๊...โต (Finding Nemo) และรวมเหล่ายอดคนพิทักษ์โลก (The Incredibles)[31]

ปฏิกิริยาของนักวิจารณ์ภาพยนตร์

นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ให้คำวิจารณ์ในด้านบวก โดยเว็บไซต์ Rotten Tomatoes ให้เรทติ้ง Ratatouille 95% จาก 199 ความเห็น[32] และเว็บไซต์ Metacritic ให้เรทติ้ง 96% จาก 37 ความเห็น และยังเป็นภาพยนตร์ที่ได้เรทติ้งสูงสุดตลอดการอันดับหกบนเว็บไซต์เมื่อ มกราคม 2550[33]

Ratatouille ได้รับการเสนอชื่อรางวัลออสการ์ห้ารางวัล และ Best Animated Feature Film. A. O. Scott ของเดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียก Ratatouille ว่า “เป็นชิ้นส่วนงานศิลปะที่ล่องลอยอย่างไม่รู้จบ อย่างที่นักศิลปะยังต้องชื่นชม”[34] นักวิจารณ์ชื่อดังอย่าง Roger Ebert จาก Chicago Sun-Times และ Jeffrey Lyons จาก NBC's "Reel Talk" กล่าวในคำวิจารณ์ว่าพวกเขาชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มาก และหวังอยากให้มีภาคต่อ หลายความเห็นกล่าวว่าบทวิจารณ์ของอีโก้ตอนท้ายสมควรที่จะเอาออก [35][36][37]

รายชื่อ Top ten

Ratatouille ปรากฏอยู่บนรายชื่อของนักวิจารณ์หลายคนว่าเป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมแห่งปีพ.ศ. 2550

เพลงประกอบภาพยนตร์

Ratatouille: Music By Michael Giacchino [41]

Ratatouille
ปกแผ่นซีดีเพลงประกอบภาพยนตร์
เพลงประกอบภาพยนตร์ โดย
ไมเคิล จิอาคิโน
วางตลาด26 มิถุนายน 2550
แนวเพลงOriginal Score
ความยาว62:36 นาที
ค่ายเพลงWalt Disney Records
อันดับความนิยมจากนักวิจารณ์ดนตรี

4/5 stars ลิงก์

Ratatouille: Music By Michael Giacchino (Walt Disney Records, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550)

  1. Le Festin
  2. Welcome to Gusteau's
  3. This Is Me
  4. Granny Get Your Gun
  5. 100 Rat Dash
  6. Wall Rat
  7. Cast of Cooks
  8. A Real Gourmet Kitchen
  9. Souped Up
  10. Is It Soup Yet?
  11. A New Deal
  12. Remy Drives a Linguini
  13. Colette Shows Him le Ropes
  14. Special Order
  15. Kiss & Vinegar
  16. Losing Control
  17. Heist to See You
  18. The Paper Chase
  19. Remy's Revenge
  20. Abandoning Ship
  21. Dinner Rush
  22. Anyone Can Cook
  23. End Creditouilles
  24. Ratatouille Main Theme

รางวัลที่ได้รับ

รางวัล หัวข้อ ผู้ชนะ/ผู้เข้ารอบชิง ผลรางวัล
Academy Awards[42] ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม แบรด เบิร์ด ได้รับ
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ไมเคิล จิอาคิโน เข้าชิง
บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม บทภาพยนตร์โดยแบรด เบิร์ด เนื้อเรื่องโดยแจน พินคาว่า, Jim Capobianco, แบรด เบิร์ด เข้าชิง
ลำดับเสียงยอดเยี่ยม Randy Thom และ Michael Silvers เข้าชิง
บันทึกเสียงยอดเยี่ยม Randy Thom, Michael Semanick และ Doc Kane เข้าชิง
Annie Awards [43] Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Best Animated Video Game THQ, Inc. ได้รับ
Individual Achievement in Animated Effects Gary Bruins เข้าชิง
Individual Achievement in Animated Effects Jon Reisch เข้าชิง
Character Animation in a Feature Production Michal Makarewicz ได้รับ
Character Design in an Animated Feature Production Carter Goodrich ได้รับ
Directing in an Animated Feature Production แบรด เบิร์ด ได้รับ
Music in an Animated Feature Production ไมเคิล จิอาคิโน ได้รับ
Production Design in an Animated Feature Production Harley Jessup ได้รับ
Storyboarding in an Animated Feature Production Ted Mathot ได้รับ
Voice Acting in an Animated Feature Production จานีน กาโรฟาโล พากย์เสียงคอลเลตต์ เข้าชิง
Voice Acting in an Animated Feature Production เอียน โฮล์ม พากย์เสียงสกินเนอร์ ได้รับ
Voice Acting in an Animated Feature Production แพทตัน ออสวัลท์ พากย์เสียงเรมี่ เข้าชิง
Writing in an Animated Feature Production แบรด เบิร์ด ได้รับ
Austin Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
BAFTA Awards ภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม แบรด เบิร์ด ได้รับ
Boston Film Critics Best Screenplay แบรด เบิร์ด ได้รับ
Broadcast Film Critics [44] Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Chicago Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Best Screenplay - Original แบรด เบิร์ด เข้าชิง
Critics' Choice Awards [45] Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Dallas-Fort Worth Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Golden Globe Awards [46] ภาพยนตร์แอนนิเมชันยอดเยี่ยม พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Grammy Awards [47] Best Score Soundtrack Album ไมเคิล จิอาคิโน ได้รับ
Hollywood Film Festival [48] Movie of the Year พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ เข้าชิง
Special Honor for Animation พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Las Vegas Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Best Family Film พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Los Angeles Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
National Board of Review Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Oklahoma Film Critics Circle Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Online Film Critics Society Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
People's Choice Awards Favorite Family Movie พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ เข้าชิง
Phoenix Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
San Diego Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Satellite Awards Best Animated or Mixed Media Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Best Youth DVD พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Best Original Score ไมเคิล จิอาคิโน เข้าชิง
St. Louis Gateway Film Critics Best Animated Feature or Children's Film พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Toronto Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Visual Effects Society Awards Best Supporting Visual Effects in a Motion Picture พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
Animated Character in an Animated Motion Picture พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ (คอลเลตต์) ได้รับ
Effects in an Animated Motion Picture พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ (อาหาร) ได้รับ
Washington D.C. Area Film Critics Best Animated Feature พิกซาร์ แอนิเมชัน สตูดิโอ ได้รับ
World Soundtrack Academy Best Original Song Written for Film ไมเคิล จิอาคิโน สำหรับเพลง "Le Festin" เข้าชิง

เกร็ด[49][50]

  • รูปร่างห้องทำงานของแอนทอน อีโก้นั้นมีลักษณะเหมือนโลงศพและพิมพ์ดีดของเขาก็มีลักษณะคล้ายหัวกระโหลก เพราะว่าเขากำลังเขียนเรื่องฆาตกรรมอยู่นั่นเอง
  • ไมเคิล วาร์ช ที่เป็นผู้ควบคุมฝ่ายฉากและสถานที่ ได้รับปริญญาด้านการทำอาหาร
  • ในตัวอย่างภาพยนตร์ตัวแรก มีฉากพนักงานเสิร์ฟอาหารกำลังพูดเรื่องเนยแข็ง เป็นเสียงพากย์ของผู้กำกับแบรด เบิร์ด
  • เพื่อให้เรมี่แสดงสีหน้าออกมาได้ดีที่สุด จึงมีตัวควบคุมแอนิเมชันตรงใบหน้าของเรมี่ประมาณ 160 จุด
  • ผู้สร้างต้องสร้างอาหารแอนิเมชันมากกว่า 270 ส่วน และอาหารทุกชนิดถูกจัดวางเหมือนในครัวจริงๆ
  • ชื่อจริงของกุสโตว์ "Auguste" (ออกุส) ใช้คำสลับอักษรหรืออะนาแกรมจากนามสกุลของเขา "Gusteau" (กุสโตว์)
  • ร้านกุสโตว์ตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำแซน (Seine) ใน 5th arrondissements กรุงปารีส
  • เพื่อความรวดเร็วในการสร้างตัวละคร พิกซาร์จึงทำให้ตัวละครที่เป็นคนทั้งหมดไม่มีนิ้วเท้า
  • ห้องพักเล็กๆ ของลิงกวินี่อยู่ในเขต Montmartre 18th arrondissement ของปารีส
  • เรมี่มีขนบนตัวทั้งหมด 1,150,070 เส้น คอลเลตต์มีผมบนศีรษะทั้งหมด 176,030 เส้น เส้นผมมนุษย์ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 100,000 ถึง 200,000 เส้น
  • ลิงกวินี่มีความสูง 6 ฟุต 3 นิ้ว (190.5 ซม.) แต่เรมี่มีความสูงเมื่อยืนแค่ 7 นิ้ว (17.78 ซม.)

อ้างอิง

  1. Michael Cieply (2007-04-24). "It's Not a Sequel, but It Might Seem Like One After the Ads". New York Times. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 Stacy Finz (June 28, 2007). "Bay Area flavors food tale: For its new film 'Ratatouille,' Pixar explored our obsession with cuisine". San Francisco Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2007-06-29. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. Leo N. Holzer (2007-06-29). "Pixar cooks up a story". The Reporter. สืบค้นเมื่อ 2007-06-29. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. Steve Daly. "Brad Bird cooks up "Ratatouille"". Entertainment Weekly.
  5. 5.0 5.1 5.2 Bill Desowitz (2007-04-25). "Brad Bird Offers an Early Taste of Ratatouille". Animation World Magazine. สืบค้นเมื่อ 2007-05-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  6. Jim Hill (2007-06-28). "Why For did Disney struggle to come up with a marketing campaign for Pixar's latest picture ? Because the Mouse wasn't originally supposed to release "Ratatouille"". Jim Hill Media. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. Germain, David (2007-06-26). "Pixar Perfectionists Cook `Ratatouille'". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "Linguini a la Carte". Yahoo!. 2007-05-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. Helen O'Hara (2007-06-28). "First Look: Ratatouille". Empire. p. 62. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  10. 10.0 10.1 Scott Collura & Eric Moro (2007-04-25). "Edit Bay Visit: Ratatouille". IGN. สืบค้นเมื่อ 2007-05-22. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  11. 11.0 11.1 "Parlez-vous Francais". Yahoo!. 2007-05-22. สืบค้นเมื่อ 2007-05-23. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  12. "The Technical Ingredients". Official site. สืบค้นเมื่อ 2007-05-23.
  13. 13.0 13.1 Anne Neumann (2007-04-25). "Ratatouille Edit Bay Visit!". Comingsoon.net. สืบค้นเมื่อ 2007-05-21. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  14. Walt Disney Pictures (2007-05-24). "Cooking Up CG Food". Comingsoon.net. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  15. "Ratatouille (review)". Radio Free Entertainment. สืบค้นเมื่อ 2007-07-01.
  16. Barbara Robertson. ""Fish, Rats, Chefs and Robots"". CGSociety. สืบค้นเมื่อ 2007-07-07.
  17. Bruce R. Miller (2007-06-30). ""Book shows how 'Ratatouille' was made"". Sioux City Journal. สืบค้นเมื่อ 2007-06-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  18. Cynthia Hubert (2007-06-22). "Rat fanciers hope animated film will help their pets shed bad PR". Sacramento Bee. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  19. "Audiences in on 'Ratatouille' pack". Variety. 2007-06-25. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  20. Eric Vespe (2007-06-09). "Quint orders a giant plate of RATATOUILLE and eats it up!!!". Ain't It Cool News. สืบค้นเมื่อ 2007-06-10. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. Walt Disney Pictures (2007-03-19). "New Ratatouille Trailer Coming Friday". Comingsoon.net. สืบค้นเมื่อ 2007-03-19. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  22. Walt Disney Pictures (2007-05-11). "Disney/Pixar's RATATOUILLE to Kick off the Summer with Big Cheese Tour". Yahoo News. สืบค้นเมื่อ 2007-05-12. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  23. Lifster, Marc (2007-07-28). "Disney backs out of wine promotion". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  24. "RATATOUILLE'S Remy fights movie piracy". The Film Factory. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
  25. "Nissan Note Exploding Cars It's Possible". Visit4Info. สืบค้นเมื่อ 2007-12-23.
  26. Eggert, Brian (2007-06-29). "Ratatouille review". DeepFocusReview.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  27. Graser, Marc (2007-06-15). "Pixar hopes auds find 'Ratatouille' tasty". Variety.com. สืบค้นเมื่อ 2007-10-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  28. "Disney Serves Up 'Ratatouille' on Blu-ray this November". High Def Digest. 2007-08-10. สืบค้นเมื่อ 2007-08-20.
  29. Pamela McClintock (2007-07-01). "Audiences chow down on "Ratatouille"". Variety. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  30. Ratatouille Breaks French Record, Starpulse, สืบค้นเมื่อ 2007-08-13
  31. "Pixar Box Office History". The Numbers. สืบค้นเมื่อ 2008-01-13.
  32. "Ratatouille (2007)". Rotten Tomatoes. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  33. "All-Time High Scores: The Best-Reviewed Movies". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-17.
  34. Scott, A. O. (2007-06-29). "Voilà! A Rat for All Seasonings". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  35. Moore, Roger (2007-06-29). "Ratatouille (3 stars out of 5)". Orlando Sentinel. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  36. Zacharek, Stephanie. ""Ratatouille"". Salon. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
  37. Robinson, Tasha (2007-06-28). "Ratatouille". A.V. Club. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  38. Rats scored big
  39. Rats scores big with public
  40. Gene Seymour (2007-12-30). "2007 in movies: Gene Seymour's top 10". Newsday. สืบค้นเมื่อ 2008-01-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  41. Ratatouille by Michael Giacchino
  42. "Nominees - 80th Academy Awards". Academy of Motion Picture Arts and Sciences. 2008-01-22. สืบค้นเมื่อ 2008-01-22. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  43. "Annie Awards 2008 nominations". International Animated Film Association. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  44. "BFCA Nominees 2007". Broadcast Film Critics Association. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  45. "Blonsky, Coen, 'Enchanted' & 'Hairspray' Win Critics' Choice Awards". broadwayworld.com. สืบค้นเมื่อ 2008-1-8. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "HOLLYWOOD FOREIGN PRESS ASSOCIATION 2008 GOLDEN GLOBE AWARDS FOR THE YEAR ENDED DECEMBER 31, 2007". HFPA. 2007-12-13. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  47. "50th Annual GRAMMY Awards Nominations List". NARAS. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  48. "Hollywood Film Festival winners 2007". Hollywood Film Festival. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
  49. "Ratatouille เกร็ดจากภาพยนตร์". siamzone.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.
  50. "Ratatouille Movie Offical Disney DVD Website". Disney. สืบค้นเมื่อ 2008-03-18.

แหล่งข้อมูลอื่น