ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพอากาศไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Skyman (คุย | ส่วนร่วม)
Skyman (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 257: บรรทัด 257:
| [[Israel Aircraft Industries]] || [[IAI Arava]] || {{ISR}} || ตรวจการณ์ || 3 || (ฝูง 402.)
| [[Israel Aircraft Industries]] || [[IAI Arava]] || {{ISR}} || ตรวจการณ์ || 3 || (ฝูง 402.)
|-
|-
| [[Saab]] || [[Erieye radar|Saab 340 with ERIEYE]] || {{SWE}} || ตรวจการณ์ / แจ้งเตือนล่วงหน้า || 2 || สั่งซื้อ, รับมอบในปี 2010
| [[Saab]] || [[Erieye radar|Saab 340 with ERIEYE]] || {{SWE}} || ตรวจการณ์ / แจ้งเตือนล่วงหน้า || 1 || สั่งซื้อ, รับมอบในปี 2010 มี Option ซื้อเพิ่มอีก 1 ลำ
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:33, 9 เมษายน 2551

กองทัพอากาศไทย
(Royal Thai Air Force)
ไฟล์:RTAF-emblem.png
ตราราชการกองทัพอากาศ
ประเทศไทย
รูปแบบกองทัพอากาศ
กองบัญชาการกองบัญชาการกองทัพอากาศ ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร
สมญาทัพฟ้า
สีหน่วยฟ้า
เพลงหน่วยมาร์ชกองทัพอากาศ
วันสถาปนา9 เมษายน พ.ศ. 2480
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการ
ทหารอากาศ
พล.อ.อ. ชลิต พุกผาสุก
ผบ. สำคัญพล.อ.ท. พระเวชยันต์รังสฤษฎ์
จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี
จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร
เครื่องหมายสังกัด
ตราราชการ
ไฟล์:RTAF-emblem.png
ธงประจำ
กองทัพ
ไฟล์:RTAF-flag.png
Roundel

กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ.,en: Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ

ประวัติ

กองทัพอากาศไทย แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย

ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454

หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"

ไฟล์:RTAF F8F.jpg
F8F Bearcat ที่เคยประจำการในกองทัพอากาศไทย

หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ด้วยการเติบโตของกำลังทางอากาศ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"

กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก

ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 4 กองพลบิน 11 กองบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ

นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย

ภารกิจ

มีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพอากาศและป้องกันราชอาณาจักร มีผู้บัญชาการทหารอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ส่วนราชการในสังกัดกองทัพอากาศ

ส่วนบัญชาการ

F-16ADF ของฝูงบิน 102 ของกองทัพอากาศไทย ติดตั้ง AIM-120 AMRAAM ขณะตั้งแสดง ณ งานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2549 ณ กองบิน 6 ดอนเมือง
ไฟล์:F 16 rtaf thales.jpg
เครื่องบิน F-16 ของกองทัพอากาศไทย
  • สำนักงานเลขานุการกองทัพอากาศ
  • กรมสารบรรณทหารอากาศ
  • กรมกำลังพลทหารอากาศ
  • กรมข่าวทหารอากาศ
  • กรมยุทธการทหารอากาศ
  • กรมส่งกำลังบำรุงทหารอากาศ
  • กรมจเรทหารอากาศ
  • กรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ
  • สำนักงานปลัดบัญชีทหารอากาศ
  • สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศทหารอากาศ

กองบัญชาการยุทธทางอากาศ

กองพลบินที่ 1 กองพลบินที่ 2 กองพลบินที่ 3 กองพลบินที่ 4
  • กองบิน 1 นครราชสีมา
    • ฝูงบิน 102 "Star"
    • ฝูงบิน 103 "Lightning"
    • ฝูงบิน 106 อู่ตะเภา*
  • กองบิน 21 อุบลราชธานี
    • ฝูงบิน 211 "Eagle"
  • กองบิน 23 อุดรธานี
    • ฝูงบิน 231 "Hunter"
    • ฝูงบิน 236 สกลนคร*
    • ฝูงบิน 237 น้ำพอง **
    • ฝูงบิน 238 นครพนม *
  • กองบิน 4 ตาคลี
    • ฝูงบิน 401 "Dragon"
    • ฝูงบิน 402 "Focus"
    • ฝูงบิน 403 "Cobra"
  • กองบิน 41 เชียงใหม่
    • ฝูงบิน 411 "Thunder"
    • ฝูงบิน 416 เชียงราย*
  • กองบิน 46 พิษณุโลก
    • ฝูงบิน 461 "Vampire"
    • ฝูงบิน 466 น่าน*
  • กองบิน 7 สุราษฏร์ธานี
    • ฝูงบิน 701 "Shark"
  • กองบิน 5 ประจวบคีรีขันธ์
    • ฝูงบิน 501 "Mosquito"
    • ฝูงบิน 509 หัวหิน***
  • กองบิน 56 หาดใหญ่****

หมายเหตุ
(*) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนาม
(**) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามและสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศ
(***) = ฝูงบินอิสระปฏิบัติราชการสนามและหน่วยบินเฮลิคอปเตอร์พระราชพาหนะ
(****) = ฐานบินปฏิบัติการส่วนหน้า

กองบัญชาการสนับสนุนทหารอากาศ

L-39ZA/ART, Alphajet A, F-16A, AU-23A ขณะทำการบินในงานวันเด็กแห่งชาติปี 2550 ณ กองบิน 6 ดอนเมือง
  • กรมช่างอากาศ
  • กรมสรรพาวุธทหารอากาศ
  • กรมสื่อสารทหารอากาศ
  • ศูนย์ส่งกำลังบำรุง
  • กรมขนส่งทหารอากาศ
  • กรมช่างโยธาทหารอากาศ
  • กรมพลาธิการทหารอากาศ
  • กรมแพทย์ทหารอากาศ
  • กรมการลาดตระเวนทางอากาศ
  • กรมอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ

กองบัญชาการฝึกศึกษาทหารอากาศ

ส่วนกิจการพิเศษ

  • กรมการเงินทหารอากาศ
  • กรมสวัสดิการทหารอากาศ
  • ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ
  • สำนักงานตรวจบัญชีทหารอากาศ
  • สำนักงานผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง

พิพิธภัณฑ์

สื่อในการควบคุมของกองทัพอากาศ

อากาศยานที่ประจำการ

ไฟล์:RTAF L-39ZA 101 4.jpg
L-39ZA/ART

เครื่องบินขับไล่/โจมตี

ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ รุ่น จำนวน รายละเอียด
Saab JAS-39 Gripen ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ขับไล่ครองอากาศ / โจมตี / โจมตีทางทะเล 6 สั่งซื้อ รับมอบในปี 2011 มี Option เพื่อซื้อเพิ่มอีก 6 ลำ
General Dynamics / Lockheed Corporation F-16A  สหรัฐ ขับไล่ครองอากาศ / โจมตี 29 (ฝูง 103, 403.)
General Dynamics / Lockheed Corporation F-16B  สหรัฐ ขับไล่ครองอากาศ / โจมตี / ฝึก 15 ฝึก (ฝูง 103, 403.)
General Dynamics / Lockheed Corporation F-16ADF  สหรัฐ ขับไล่ครองอากาศ / โจมตี 15 สามารถติด AIM-120 AMRAAM ได้ (ฝูง 102.)
Northrop F-5T Tigris  สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น ~15 ปรับปรุงโดยอิสราเอล สามารถติด Python-4 ได้(ฝูง 211.)
Northrop F-5E  สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น ~15 จะถูกแทนด้วย JAS-39 Gripen (ฝูง 701.)
Northrop F-5B  สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น / ฝึก ~3 ฝึก, จะถูกแทนด้วย JAS-39 Gripen (ฝูง 701.)
Northrop F-5F  สหรัฐ ขับไล่สกัดกั้น / ฝึก ~5 ฝึก,(ฝูง 211.)
Aero L-39ZA/ART Albatros ธงของประเทศเช็กเกีย เช็กเกีย โจมตี / ฝึก 36 ปรับปรุงโดยอิสราเอล, ใช้อาวุธมาตราฐาน NATO (ฝูง 411, 401.)
Dornier / Dassault-Breguet Alpha Jet ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนีธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส โจมตี 19 จัดซื้อจากทอ.เยอรมัน (ฝูง 231.)
Pilatus Aircraft AU-23A Peacemaker ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ โจมตี / ธุรการ ~20 ปรับปรุงจาก PC-6 โดยกองทัพสหรัฐ, ทอ.ไทยเป็นผู้ใช้ผู้เดียวในโลก (ฝูง 503.)

เครื่องบินลำเลียง

ไฟล์:Rtaf f16a childrenday2551.JPG
F-16A ของฝูง 403 กองบิน 4 ตาคลี ในงานวันเด็กแห่งชาติ 2551
ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ รุ่น จำนวน รายละเอียด
Lockheed Corporation C-130  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี 12 (ฝูง 601.)
Basler Turbo Conversions BT-67  สหรัฐ ลำเลียงทางยุทธวิธี 8 ปรับปรุงจาก C-47, ส่วนใหญ่ใช้ในภารกิจฝนหลวงและดับไฟป่า (ฝูง 461.)
GAF Nomad ธงของประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ลำเลียงทางยุทธวิธี 19 ส่วนใหญ่ใช้ในภารกิจฝนหลวงและดับไฟป่า (ฝูง 461.)
Alenia G.222 ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี ลำเลียงทางยุทธวิธี 3 (ฝูง 603.)
Avro HS-748  สหราชอาณาจักร ลำเลียง 4 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 5 (บ.ล.5)
กำลังปลดประจำการ (ฝูง 603.)
หมายเลข 11-111 พระราชพาหนะ ประจำการ พ.ศ. 2518
หมายเลข 99-999 พระราชพาหนะ ประจำการ พ.ศ. 2526 [1]
Boeing 737-2Z6  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ 1 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11 (บ.ล.11)
เครื่องพระราชพาหนะสำรอง (ฝูง 602 รอ.)
(เดิมหมายเลข 22-222 ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 60201)
ประจำการ พ.ศ. 2527 [1][2]
Boeing 737-4Z6  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ 1 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11ข (บ.ล.11ข)
เครื่องพระราชพาหนะสำรอง (ฝูง 602 รอ.)
(เดิมหมายเลข 55-555/HS-CMV ปัจจุบันเปลี่ยนแล้ว)
ประจำการ พ.ศ. 2538 [1]
Boeing 737-8Z6 BBJ  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ 1 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 11ค (บ.ล.11ค)
เครื่องพระราชพาหนะหลัก (ฝูง 602 รอ.)
(หมายเลข 55-555/HS-TYS)
ประจำการ พ.ศ. 2550 [1][3]
Airbus A310-324  สหภาพยุโรป รับส่งบุคคลสำคัญ 1 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 13 (บ.ล.13)
เครื่องพระราชพาหนะสำรอง (ฝูง 602 รอ.)
(เดิมหมายเลข 44-444/HS-TYQ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น 60202)
ประจำการ พ.ศ. 2534 [1]
Airbus A319-115X CJ  สหภาพยุโรป รับส่งบุคลลสำคัญ 1 เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 15 (บ.ล.15)
เครื่องพระราชพาหนะสำรอง (ฝูง 602 รอ.)
(หมายเลข HS-TYR เดิมคือเครื่องไทยคู่ฟ้า)
Saab Saab 340 ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ลำเลียง / ฝึก 1 สั่งซื้อ, รับมอบในปี 2010

เครื่องบินตรวจการณ์

ไฟล์:Rtaf c130 childrenday2551.JPG
C-130 ของฝูง 601 กองบิน 6 ดอนเมือง ณ สนามบินนานาชาติเชียงใหม่
ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ รุ่น จำนวน รายละเอียด
Lear Jet Learjet 35A  สหรัฐ ตรวจการณ์ 2 ตก 1 ลำ (ฝูง 402.)
Israel Aircraft Industries IAI Arava ธงของประเทศอิสราเอล อิสราเอล ตรวจการณ์ 3 (ฝูง 402.)
Saab Saab 340 with ERIEYE ธงของประเทศสวีเดน สวีเดน ตรวจการณ์ / แจ้งเตือนล่วงหน้า 1 สั่งซื้อ, รับมอบในปี 2010 มี Option ซื้อเพิ่มอีก 1 ลำ

เฮลิคอปเตอร์

UH-1H จากฝูงบิน 203 กองบิน 2 ลพบุรี ในงานวันเด็กแห่งชาติ 2550
ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ รุ่น จำนวน รายละเอียด
Bell Helicopter Textron UH-1 Iroquois  สหรัฐ ค้นหากู้ภัย / ลำเลียงทั่วไป 20 (ฝูง 203.)
Bell Helicopter Textron Bell 412SP  สหรัฐ
ธงของประเทศแคนาดา แคนาดา
รับส่งบุคคลสำคัญ 17 เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง (ฝูง 201 รอ.)
Sikorsky Aircraft Corporation Sikorsky S-92  สหรัฐ รับส่งบุคคลสำคัญ 3 เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง, สั่งซื้อ, รับมอบในปี 2010

เครื่องบินฝึก

ไฟล์:Rtaf f5f childrenday2551.JPG
F-5F ของฝูง 211 กองบิน 21 อุบล ในงานวันเด็กแห่งชาติ 2551
ผู้ผลิต แบบอากาศยาน ประเทศ รุ่น จำนวน รายละเอียด
Pacific Aerospace PAC CT/4 ธงของประเทศนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์ ฝึกขั้นต้น ~20 โรงเรียนการบินกำแพงแสน
Pilatus Aircraft PC-9 ธงของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ฝึกขั้นปลาย 23 โรงเรียนการบินกำแพงแสน
กองทัพอากาศไทย บ.ชอ.2  ไทย ฝึกขั้นต้น/ธุรการ/ต้นแบบ 1 ต้นแบบอากาศยานที่กองทัพอากาศพัฒนาเอง เพื่อทำการทดลองสร้างบ.ทอ.6 เข้าประจำการ

ข่าวการจัดหาอาวุธของกองทัพอากาศ

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทน บ.ข.18

วันที่ 17 ตุลาคม เวลา 13.00 น.ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เปิดแถลงข่าวการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบกริพเพน/ซีดี จำนวน 12 ลำ ตามงบประมาณที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยจะจัดซื้อลอตแรก จำนวน 6 ลำ เป็นจำนวนเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท โดยเป็นงบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยปี 2551 ตั้งงบไว้ที่ 1,900 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 7,065 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 5,595 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 2,960 ล้านบาท และปี 2555 จำนวน 1,480 ล้านบาท

ส่วนลอตที่สองอีก6 ลำ เป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2556-2560 เป็นจำนวนเงิน 15,400 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 12 ลำ เป็นจำนวนเงิน 34,400 ล้านบาท โดยเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้จะนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 5 ที่ประจำการอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552-2554 แหล่งข่าวกองทัพอากาศเปิดเผยว่า กองทัพอากาศมีแผนในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่เพื่อมาทดแทนเครื่องบินแบบเอฟ 5 มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.อ.ชลิต ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเพื่อคัดเลือกแบบ โดยกองทัพอากาศให้ความสนใจในเครื่องบิน 3 รุ่น คือ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินซู 30 ของรัสเซีย และเครื่องบินกริพเพนของสวีเดน ก่อนจะมีการคัดเลือกในที่สุด [4]

ในวันที่ 8 มกราคม 2551 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพอากาศจัดหาเครื่องบินรบจำนวน 6 ลำ ดังมีการแถลงข่าวดังนี้

ไฟล์:RTAF F-5B Oldest -1-.jpg
F-5B เครื่องแรกของโลก อายุ 44 ปี กำลังจะถูกแทนที่ด้วย JAS-39 Gripen

ประเด็นที่ 1 กระทรวงกลาโหมพิจารณาเห็นว่ากองทัพอากาศดำเนินการอันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการภายใต้มติ ครม. ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม และกรอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ ตามข้อ 2 โดยจำเป็นต้องจัดหาเครื่องบินประจำการ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการโครงการเรียบร้อย ได้มีข้อเสนอ ดังนี้

1. ให้กระทรวงกลาโหม โดยกองทัพอากาศ ดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินกริปเปน จีอาร์ไอพีอีเอ็น 39 ซี/ดี จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ เป็นเงิน 19,000 ล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (จี2จี) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสวีเดน

2. ให้ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นผู้รับมอบอำนาจลงนามในข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบิน ในนามรัฐบาลไทย รวมทั้งแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบินโดยวงเงินรวมไม่เปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ มีการอธิบายจาก พล.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว มีเงื่อนไขพิเศษที่รัฐบาลสวีเดนจะจัดให้ เป็นข้อที่ 3 คือ ทางรัฐบาลสวีเดน ในการเจรจากับคณะกรรมการ จะมีการจัดเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศ ติดตั้งอุปกรณ์เรดาร์แบบอีรีอาย 1 เครื่อง หรือ 1 ลำ กับเครื่องบินลำเลียงแบบ SAAB-340 จำนวน 1 เครื่อง พร้อมทั้งทุนการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 92 ทุน และระบบดาต้าลิงก์ สำหรับการป้องกันทางอากาศในระบบควบคุมและแจ้งเตือนภาคใต้ เพราะฉะนั้นเครื่องบินที่มีการตกลงนั้นแบ่งเป็น 2 ส่วน ลักษณะประเภทเครื่องบิน คือ 1 ที่นั่ง จำนวน 2 ลำ และ 2 ที่นั่ง จำนวน 4 ลำ รวม 6 ลำ เฉพาะค่าจัดซื้อเครื่องบินพร้อมอุปกรณ์อะไหล่ และการฝึกอบรม 18,284 ล้านบาท

ส่วนเรื่องการปรับปรุงอาคารสถานที่และการบริหารโครงการ ในส่วนกองทัพอากาศรับผิดชอบ ซึ่งต้องดำเนินการก่อนและหลังการรับมอบเครื่องบิน เป็นเงิน 716 ล้านบาท ทั้งหมดมี 3 ประเด็นด้วยกัน[5]

การจัดซื้อเครื่องบินโดยสาร ATR-72

กองทัพอากาศได้จัดหาเครื่องบินโดยสาร ATR-72 จำนวน 3 ลำ จากบริษัทผู้ผลิตในฝรั่งเศส เพื่อทดแทน Avro-748 ที่มีอายุการใช้งานนานเกือบ 40 ปี โดยจะได้รับมอบเครื่องบินในปี 2552 [6]



การจัดหาเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งลำใหม่

โดยปกติแล้ว เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งจะมีอายุการใช้งานในการเป็นเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งหลักค่อนข้างสั้นกว่าเครื่องบินพระที่นั่ง (เพื่อความปลอดภัยสูงสุด) โดยเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งลำที่ประจำการอยู่ในปัจจุบันมีอายุครบกำหนดแล้ว จึงมีการจัดหาฮ.พระที่นั่งลำใหม่ครับ คือ S-92 จาก Sikorsky โดยจัดหาจำนวน 3 ลำ และจะได้รับมอบในปี 2010.[7]

บ.ชอ.2 ที่กองทัพอากาศพัฒนาขึ้นเอง ขณะกำลังบินทดสอบ

การพัฒนาเครื่องบินฝึกขั้นต้นใช้เอง

ในวันที่ 5 พ.ย. 50 พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีประจำการ บ.ชอ.2 ซึ่งกองทัพอากาศพัฒนาขึ้นเอง โดยใช้เครื่องบินฝึกแบบที่ 15 (SF-260) ซึ่งปัจจุบันประจำการในประเทศฟิลิปปินส์ และฟิลิปปินส์เพิ่งสั่งซื้อเพิ่มเติม 18 ลำในปี พ.ศ. 2550 เป็นต้นแบบ แต่ได้แก้ไขแบบจากเดิม 3 ที่นั่งให้เป็น 4 ที่นั่ง โดยจะใช้เป็นต้นแบบในการทดลอง และศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องบิน บ.ทอ.6 เพื่อเข้าประจำการและมีแผน ผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต[8]

ดูเพิ่ม

การทหารในประเทศไทย

ข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับกองทัพอากาศไทย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 รัชต์ รัตนวิจารณ์, พ.อ.อ., พลานุภาพอากาศยานไทย, สำนักพิมพ์อนิเมทกรุ๊ป, 2550, 224 หน้า, ISBN 974-94583-6-2
  2. เครื่องบินพระที่นั่งลำใหม่ถึงไทยแล้ว
  3. เดิมเครื่องบินพระราชพาหนะลำนี้จะใช้หมายเลข 88-888 แต่ได้กำหนดหมายเลขใหม่เป็น 55-555 แทนเครื่อง บ.ล.11ข 737-4Z6 ลำเดิม
  4. Bangkok PostChalit insists purchase of Swedish jets appropriate, also the best deal
  5. Skyman's Military BlogJAS-39 Gripen: ครม. อนุมัติกริพเพนแล้ว รอเซ็นสัญญา
  6. Thaifighterclub.com
  7. Skyman's Military Blog เฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งใหม่มาแล้วครับ: Sikorsky S-92
  8. ข่าวกองทัพอากาศกองทัพอากาศประสบผลสำเร็จในการสร้างเครื่องบินต้นแบบ บ.ชอ.๒


แหล่งข้อมูลอื่น