ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมากรุกไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AAAERTCM (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2405:9800:B870:4B92:8C26:C90E:5283:10F (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย นคเรศ
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{ตารางหมากรุก|=
| tright
|
| =
| rd|nd|bd|qd|kd|bd|nd|rd|=
| | | | | | | | |=
| pd|pd|pd|pd|pd|pd|pd|pd|=
| | | | | | | | |=
| | | | | | | | |=
| pl|pl|pl|pl|pl|pl|pl|pl|=
| | | | | | | | |=
| rl|nl|bl|kl|ql|bl|nl|rl|=
| ตารางหมากรุกไทย ตอนเริ่มเล่น (ใช้สัญลักษณ์ของหมากรุกสากล)
}}
[[ไฟล์:Makruk Thai 1.JPG|thumb|การแข่งขันหมากรุกไทย]]
[[ไฟล์:Makruk Thai 1.JPG|thumb|การแข่งขันหมากรุกไทย]]
[[ไฟล์:Makruk Thai 2.JPG|thumb|ชุดหมากรุกไทยสมัย 100 ปีก่อน พ.ศ. 2555]]
[[ไฟล์:Makruk Thai 2.JPG|thumb|ชุดหมากรุกไทยสมัย 100 ปีก่อน พ.ศ. 2555]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:01, 21 ตุลาคม 2565

การแข่งขันหมากรุกไทย
ชุดหมากรุกไทยสมัย 100 ปีก่อน พ.ศ. 2555
ชุดหมากรุกไทยสมัย 200 ปีก่อน พ.ศ. 2555 โดยตัวเบี้ยเป็นเปลือกหอย
ชุดหมากรุกไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ตัวหมากรุกทำจากเขาควายเผือก และเขาควายดำ

หมากรุกไทย เป็นเกมกระดานที่พัฒนามาจากหมากรุกของอินเดียที่ชื่อเกมว่าจตุรงค์ ลักษณะการเล่นเกมใกล้เคียงกับหมากรุกสากล นอกจากนี้ในประเทศกัมพูชามีเกมหมากรุก ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมากรุกไทยนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย

หมากรุกไทย มีประวัติเริ่มในอินเดีย โดยมาจากตำนานของรามเกียรติ์ ตามตำนานกล่าวว่า ฝ่ายทศกัณฐ์นั้น เมื่อมีศึกเข้าประชิด นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ เห็นทศกัณฐ์เครียดกับการศึกจึงคิดหาเกมให้สวามีได้ผ่อนคลาย โดยคิดเป็นเกมหมากรุกขึ้น โดยแต่เดิมใช้คนเล่น 4 คน เรียกว่า จตุรังกา แต่ในภายหลังได้รับการปรับปรุงจนสามารถใช้ผู้เล่นเพียง 2 คนได้

อย่างไรก็ตาม คาดว่าหมากรุกแพร่หลายมาตามเส้นทางสายไหมจากอินเดียและตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นรูปแบบหมากรุกก่อนที่จะพัฒนาเหมือนหมากรุกต่างๆในปัจจุบัน ทำให้มีกฎเกณฑ์และรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละประเทศ

แชมป์หมากรุกโลก วลาดีมีร์ ครัมนิค ระบุว่าหมากรุกไทย เป็นเกมที่ต้องใช้กลยุทธ์มากกว่าหมากรุกสากล ที่ต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวังในช่วงท้ายเกม[1]

ตัวหมากรุก

  • ขุน เป็นตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ แต่ไม่สามารถเดินเข้าไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้
         
   
   
   
         
  • เม็ด มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน
         
     
    ม็    
     
         
  • เบี้ยหงาย มีการเดินและกินเหมือนกับเม็ด
  • โคน มีการเดินและกินข้างหน้าแนวตรงและแนวแทยง และข้างหลังในแนวแทยงเท่านั้น(ห้ามถอยแนวตรงหรือเดินออกข้าง)
         
   
       
     
         
  • ม้า เป็นหมากตัวเดียวที่สามารถข้ามหมากตัวได้ และมีลักษณะการเดินเป็นรูปตัว L(เดินไปข้างหน้าสองช่องแล้วเดินออกข้างอีกหนึ่งช่องหรือเดินออกข้างหนึ่งช่องแล้วเดินไปข้างหน้าอีกสองช่อง)
     
     
       
     
     
  • เรือ เดินเหมือนเรือของหมากรุกชาติอื่น
       
       
       
       
  • เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ
         
   
       
         
         

กติกาการเล่น

  • ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
  • ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะโดนกินและเอาออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะโดนกินไม่ได้
  • ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะต้องพูดว่า"รุก" โดยตาต่อไปฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยู่ในตำแหน่งที่จะโดนกิน
  • ถ้าขุนโดนรุกอยู่และเดินหนีหรือป้องกันการรุกไม่ได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
  • ถ้าขุนไม่โดนรุก แต่ในตาต่อไปเดินหมากตัวไหนไม่ได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน

การนับศักดิ์

การนับศักดิ์ หรือบางครั้งเรียกว่า การนับเพื่อขอเสมอ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายกระดาน มีเฉพาะในหมากรุกไทยเท่านั้น โดยเมื่อมีการนับจนครบตามเงื่อนไข จะถือว่าทั้งสองฝ่ายเสมอกัน ไม่มีการแพ้-ชนะเกิดขึ้น

การนับศักดิ์ จะนับโดยฝ่ายที่เป็นรองฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยนับในขณะที่ตนเป็นฝ่ายเดินหมาก หากลืมนับในตาใด ให้ถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายเป็นรอง ดังนั้นเมื่อถึงตาถัดไปหรือเมื่อนึกได้ ให้นับเลขต่อจากที่นับตัวสุดท้าย ห้ามมิให้มีการนับข้ามเด็ดขาด (เว้นแต่ฝ่ายเป็นต่อจะอนุญาต) เช่น หากนับถึง 10 แล้วลืมนับไป 3 ตา จึงนึกขึ้นได้ ตาต่อไปที่เดินก็ให้นับ 11 (ไม่ให้นับ 14)

การนับศักดิ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การนับศักดิ์กระดาน และการนับศักดิ์หมาก

การนับศักดิ์กระดาน

การนับโดยวิธีนี้จะเริ่มนับเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเบี้ยคว่ำ และฝ่ายเป็นรองเหลือหมากตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยให้เริ่มต้นนับตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 64 (ฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว) โดยเมื่อฝ่ายเป็นรองนับเลข 64 ฝ่ายเป็นต่อจะมีโอกาสเดินอีก 1 ตา ถ้ารุกจน จะถือว่าชนะ (ต้องนับ 65 ถึงจะเสมอ)

ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นต่อถูกกินหมากจนกลับเป็นรอง ก็มีสิทธิขอนับศักดิ์กระดานได้ โดยให้นับใหม่ตั้งแต่ 1 และหากฝ่ายเป็นต่อกลับมาได้เปรียบอีกครั้ง (ได้เปรียบ>เสียเปรียบ>กลับมาได้เปรียบ) ฝ่ายเป็นรองก็มีสิทธิขอนับศักดิ์กระดานได้ใหม่ แต่ต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ 1 ห้ามนับต่อจากเดิมเด็ดขาด

ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นรองถูกกินหมากจนเหลือขุนเพียงตัวเดียว จะต้องนับศักดิ์หมากที่มีบนกระดานเท่านั้น

การนับศักดิ์หมาก

การนับโดยวิธีนี้จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อฝ่ายเป็นรองเหลือขุนเพียงตัวเดียว และบนกระดานไม่มีเบี้ยคว่ำเหลืออยู่ โดยเริ่มนับตัวหมากของทั้งสองฝ่ายที่อยู่บนกระดานก่อน ได้จำนวนเท่าใดก็ให้เริ่มนับศักดิ์หมากต่อจากนั้น เช่น ฝ่ายเป็นต่อมีหมาก 4 ตัว (ขุน โคน และเบี้ยหงายอีก 2 ตัว) ฝ่ายเป็นรองมีหมาก 1 ตัว (เหลือขุนเพียงตัวเดียว ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการนับศักดิ์หมากด้วย) เท่ากับว่ามีตัวหมากอยู่บนกระดาน 5 ตัว ในการนับศักดิ์หมากก็ให้เริ่มนับต่อที่ 6 โดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อฝ่ายเป็นต่อมีศักดิ์ของหมากดังนี้

  • เรือสองลำต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 8
  • เรือลำเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 16
  • โคนสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 22
  • โคนตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 44
  • ม้าสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 32
  • ม้าตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 64
  • สำหรับเม็ดและเบี้ยหงายนับถึง 64

การนับศักดิ์หมากให้ไล่นับจากศักดิ์ใหญ่ก่อนเสมอ (เรียงจากบนลงล่าง) เช่น (หากเหลือ เรือ 1 ตัว, โคน 1 ตัว, ม้า 2 ตัว ให้นับ 16) (ถ้าหากเลือก โคน 1 ตัว, เบี้ยหงาย 3 ตัว ให้นับ 44) (ถ้าหากเหลือ โคน 1 ตัว, ม้า 2 ตัว ให้นับ 44 ไม่ใช่ 32 เพราะโคนมีศักดิ์สูงกว่าม้า) แต่บางแห่งก็บอกว่าให้ฝ่ายเสียเปรียบสามารถเลือกนับศักดิ์น้อยสุดได้

การนับศักดิ์หมากจะมีเงื่อนไขการเสมอเหมือนกับจากการนับศักดิ์กระดาน คือ เมื่อฝ่ายเป็นรองนับจนครบแล้ว ฝ่ายเป็นต่อมีสิทธิเดินได้อีก 1 ตา หากสามารถรุกจนได้ ให้ถือว่าฝ่ายเป็นต่อชนะ เช่น ถ้ามีเรือ 2 ตัว (นับ 8) พอนับถึง 8 แล้ว ฝ่ายเป็นต่อจะมีสิทธิเดินอีก 1 ครั้ง โดยที่ยังไม่เสมอ (จะเสมอเมื่อฝ่ายเป็นรองนับ 9 ได้)

ถ้าเริ่มนับศักดิ์หมากแล้วถ้าฝ่ายเป็นรองกินหมากตัวใดตัวหนึ่งของฝ่ายเป็นต่อก็มิให้เปลี่ยนแปลงการนับเป็นอย่างอื่น (มีเรือ 2 ลำ นับ 8 หากถูกกินไป 1 ลำ ก็ยังคงนับถึงแค่ 8 ไม่เปลี่ยนเป็น 16 แต่อย่างใด) แต่ถ้าคิดว่าตัวเองพลิกสถานการณ์ได้แล้ว ฝ่ายเป็นรองสามารถจะหยุดนับเมื่อใดก็ได้

นอกจากนี้การนับศักดิ์ยังช่วยเพิ่มความสนุกให้กับการแข่งขัน คือ เมื่อการแข่งขันดำเนินมาจนถึงช่วงปลายกระดาน แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง หากปล่อยไว้ก็จะใช้เวลามากและน่าเบื่อ เมื่อมีการนับศักดิ์จะทำให้การแข่งขันไม่ยืดเยื้อ และยังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายตั้งใจเดินหมากมากขึ้น เพราะฝ่ายเป็นต่อต้องการที่จะชนะ แต่หากคิดไม่รอบคอบ โดนนับจนครบ แทนที่ตัวเองจะชนะกลับกลายเป็นได้แค่เสมอ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเป็นรอง ถ้าปล่อยให้เล่นยืดเยื้อไม่สิ้นสุด ย่อมมีโอกาสแพ้สูง แต่เมื่อมีการนับศักดิ์ ทำให้ฝ่ายเป็นรองเห็นจุดหมายที่จะเสมอ ทำให้ต้องคิดให้รอบคอบเพื่อที่จะได้ไม่ต้องแพ้ในกระดานนั้น ๆ

อ้างอิง

  1. Kramnik plays Makruk Thai by Dr. René Gralla.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น