ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองรอบกรุง"

พิกัด: 13°44′45″N 100°30′13″E / 13.745858°N 100.503702°E / 13.745858; 100.503702
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ZeroSixTwo (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


{{เรียงลำดับ|รอบกรุง}}
{{เรียงลำดับ|รอบกรุง}}
[[หมวดหมู่:คลองในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:คลองในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]]
[[หมวดหมู่:คลองในเขตพระนคร]]
[[หมวดหมู่:คลองในเขตสัมพันธวงศ์]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:โบราณสถานในกรุงเทพมหานคร]]
{{สร้างปี|2326}}
{{สร้างปี|2326}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:36, 14 สิงหาคม 2565

คลองรอบกรุงและป้ายในปัจจุบัน
คลองรอบกรุงในอดีต ด้านหลังคือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ

คลองรอบกรุง (อักษรโรมัน: Khlong Rop Krung) เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นกลาง (ชั้นที่สอง) ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร

ในครั้งนั้นพระนครฝั่งตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นแหลมโค้ง มีลำน้ำโอบอยู่สามด้าน ส่วนด้านในซึ่งติดกับผืนแผ่นดิน ได้ขุดเป็นคูเมืองไว้ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จึงมีสัณฐานคล้ายเกาะ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อซากป้อมบางกอกเดิมกับกำแพงเมืองครั้งกรุงธนบุรี เพื่อขยายกำแพงและคูพระนครใหม่ให้กว้างออกไป คูพระนครใหม่นี้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดขนานไปกับแนวคูเมืองเดิม เริ่มจากริมแม่น้ำตอนบางลำพู วกไปออกแม่น้ำข้างใต้ บริเวณเหนือวัดสามปลื้ม ยาว 85 เส้น 13 วา กว้าง 10 วา ลึก 5 ศอก พระราชทานนามว่า "คลองรอบกรุง"

ประชาชนโดยมากมักเรียกชื่อคลองแตกต่างตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ตอนต้นเรียก "คลองบางลำพู" ตามชื่อตำบล เมื่อผ่านสะพานหันเรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่านวัดเชิงเลน เรียก "คลองวัดเชิงเลน" และช่วงสุดท้ายเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า "คลองรอบกรุง"[1][2]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ไฮไลต์ใหม่ที่คลองโอ่งอ่าง". ไทยรัฐ. 26 November 2015. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.
  2. "คลองรอบกรุง". ไทยรัฐ. 5 November 2011. สืบค้นเมื่อ 26 November 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′45″N 100°30′13″E / 13.745858°N 100.503702°E / 13.745858; 100.503702