ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศตุรกี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Patsagorn Y. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 51: บรรทัด 51:
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| Gini_year = 2557
| Gini_year = 2557
| Gini = 41.2
| Gini = 41.2<ref name="GINI">{{cite web|url=https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI?locations=TR |title=Turkey|publisher=World Bank}}</ref>
| Gini_ref = <ref name="GINI">{{cite web|url=https://data.worldbank.org/indicator/SI.POV.GINI?locations=TR |title=Turkey|publisher=World Bank}}</ref>
| HDI_year = 2559
| HDI_year = 2559
| HDI = {{increase}} 0.767
| HDI = 0.767
| HDI_change = increase
| HDI_rank = 71st
| HDI_rank = 71st
| HDI_category = <font color="green">สูง</font>
| currency = [[ลีราใหม่ตุรกี]]
| currency = [[ลีราใหม่ตุรกี]]
| currency_code = TRY
| currency_code = TRY

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:37, 16 มีนาคม 2564

สาธารณรัฐตุรกี

Türkiye Cumhuriyeti (ตุรกี)
เพลงชาติ
ที่ตั้งของตุรกี
เมืองหลวงอังการา
เมืองใหญ่สุดอิสตันบูล
ภาษาราชการภาษาตุรกี
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบประธานาธิบดี สาธารณรัฐรัฐธรรมนูญ
เรเจป ไตยิป แอร์โดอัน
ฟ็วต ออคเตย์
การสร้างชาติ
23 เมษายน พ.ศ. 2463
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2462
30 สิงหาคม พ.ศ. 2465
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2466
29 ตุลาคม พ.ศ. 2466
พื้นที่
• รวม
780,580 ตารางกิโลเมตร (301,380 ตารางไมล์) (36)
1.3
ประชากร
• 2561 ประมาณ
82,003,882 (19 1)
101 ต่อตารางกิโลเมตร (261.6 ต่อตารางไมล์) (102 1)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 2.132 ล้านล้าน
$ 26,453
จีดีพี (ราคาตลาด) 2560 (ประมาณ)
• รวม
$ 841.206 พันล้าน
$ 10,434
จีนี (2557)41.2[1]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2559)เพิ่มขึ้น 0.767
สูง · 71st
สกุลเงินลีราใหม่ตุรกี (TRY)
เขตเวลาUTC+2 (EET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
EEST
รหัสโทรศัพท์90
โดเมนบนสุด.tr

ประเทศตุรกี (อังกฤษ: Turkey; ตุรกี: Türkiye ทุรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (อังกฤษ: Republic of Turkey; ตุรกี: Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเชีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีพื้นที่ส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง

ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต ค.ศ. 1071 รัฐสุลต่านรูมเซลจุคปกครองอานาโตเลียจนมองโกลบุกครองใน ค.ศ. 1243 ซึ่งสลายเป็นเบย์ลิก (beylik) เติร์กเล็ก ๆ หลายแห่ง

ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ออตโตมันรวมอานาโตเลียและสร้างจักรวรรดิซึ่งกินพื้นที่กว้างใหญ่ของยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกและแอฟริกาเหนือ กลายเป็นมหาอำนาจในยูเรเซียและทวีปแอฟริการะหว่างสมัยใหม่ตอนต้น จักรวรรดิเรืองอำนาจถึงขีดสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 17 โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างรัชกาลสุลต่านสุลัยมานผู้เกรียงไกร หลังการล้อมเวียนนาครั้งที่สองของออตโตมันใน ค.ศ. 1683 และการสิ้นสุดมหาสงครามเติร์กใน ค.ศ. 1699 จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ระยะเสื่อมอันยาวนาน การปฏิรูปแทนซิมัตในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมุ่งทำให้รัฐออตโตมันทันสมัย ไม่เพียงพอในหลายสาขาและไม่อาจหยุดยั้งการสลายของจักวรรดิได้ จักรวรรดิออตโตมันเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเข้ากับฝ่ายมหาอำนาจกลางและแพ้ในที่สุด ระหว่างสงคราม รัฐบาลออตโตมันก่อความป่าเถื่อนใหญ่หลวง กรณีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ต่อพลเมืองอาร์มีเนีย อัสซีเรียและกรีกพอนทัส หลังสงคราม ดินแดนและประชาชนกลุ่มใหญ่ซึ่งเดิมประกอบเป็นจักรวรรดิออตโตมันถูกแบ่งเป็นหลายรัฐใหม่ สงครามประกาศอิสรภาพตุรกี (ค.ศ. 1919–22) ซึ่งมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์กและเพื่อนร่วมงานของเขาในอานาโตเลียเป็นผู้เริ่ม ส่งผลให้มีการสถาปนาสาธารณรัฐตุรกีสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1923 โดยอตาเติร์กเป็นประธานาธิบดีคนแรก

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศ

ยอดเขาอารารัด ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศตุรกี

ตุรกีเป็นประเทศสองทวีปที่มีดินแดนอยู่ทั้งในทวีปเอเชียและทวีปยุโรป[2] ตุรกีในฝั่งเอเชียซึ่งครอบคลุมบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอานาโตเลีย นับเป็นพื้นที่ร้อยละ 97 ของประเทศ และถูกแยกจากตุรกีฝั่งยุโรปด้วยช่องแคบบอสพอรัส ทะเลมาร์มะรา และช่องแคบดาร์ดะเนลส์ (ซึ่งรวมกันเป็นพื้นน้ำที่เชื่อมระหว่างทะเลดำกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) ตุรกีในฝั่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอลข่านมีพื้นที่คิดเป็นร้อยละ 3 ของทั้งประเทศ[3] ดินแดนของตุรกีมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวมากกว่า 1,600 กิโลเมตร และกว้างประมาณ 800 กิโลเมตร [4] ตุรกีมีพื้นที่ (รวมทะเลสาบ) ประมาณ 783,562 ตารางกิโลเมตร[5]

ตุรกีถูกล้อมรอบด้วยทะเลสามด้าน ได้แก่ทะเลอีเจียนทางตะวันตก ทะเลดำทางเหนือ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ นอกจากนี้ ยังมีทะเลมาร์มะราในเขตตะวันตกเฉียงเหนือ[6]

ตุรกีฝั่งเอเชียที่มักเรียกว่าอานาโตเลียหรือเอเชียไมเนอร์ประกอบด้วยที่ราบสูงในตอนกลางของประเทศ อยู่ระหว่างเทือกเขาทะเลดำตะวันออกและเกอรอลูทางตอนเหนือกับเทือกเขาเทารัสทางตอนใต้ และมีที่ราบแคบ ๆ บริเวณชายฝั่ง ทางตะวันออกของตุรกีมีลักษณะเป็นภูเขาและเป็นต้นน้ำของแม่น้ำหลายสายเช่น แม่น้ำยูเฟรติส แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำอารัส นอกจากนี้ยังมีทะเลสาบวัน และยอดเขาอารารัด ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของตุรกีที่ 5,165 เมตร[6]

สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายนั้นเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาหลายพันปี และยังคงปรากฏให้เห็นในปัจจุบันในรูปของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ และภูเขาไฟระเบิดในบางครั้ง ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์ก็เกิดจากแนวแยกของเปลือกโลกที่วางตัวผ่านตุรกีทำให้เกิดทะเลดำขึ้น ทางตอนเหนือของประเทศมีแนวแยกแผ่นดินไหววางตัวในแนวตะวันตกไปยังตะวันออก ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในปีพ.ศ. 2542[7]

ภูมิอากาศ

ชายฝั่งด้านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน กล่าวคือหน้าร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ส่วนหน้าหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก เทือกเขาที่ตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งเป็นตัวกั้นทำให้ภูมิอากาศตอนกลางของประเทศเป็นแบบภาคพื้นทวีป ซึ่งมีความแตกต่างระหว่างฤดูอย่างเห็นได้ชัด ฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงตอนกลางหนาวมาก อุณหภูมิลดลงถึง -30 ถึง -40 อาจมีหิมะปกคลุมนานถึง 4 เดือนต่อปี

ฝั่งตะวันตกมีอุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูหนาวต่ำกว่า 1℃ ฤดูร้อนร้อนและแห้งแล้ง ในตอนกลางวันมีอุณหภูมิสูงกว่า 30℃ ปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยต่อปีประมาณ 400 มิลลิเมตร ซึ่งปริมาณจริงแตกต่างกันไปตามระดับความสูง บริเวณที่แห้งแล้งที่สุดคือที่ราบกอนยาและที่ราบมาลาตยาซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยนต่อปีต่ำกว่า 300 มิลลิเมตร เดือนที่มีฝนมากที่สุดคือเดือนพฤษภาคม และเดือนที่แล้งที่สุดคือเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม[8]

ประวัติศาสตร์

ก่อนสมัยเติร์ก

กำแพงของเมืองทรอย ซึ่งเป็นสถานที่ที่เกิดสงครามเมืองทรอย

คาบสมุทรอานาโตเลีย (หรือที่เรียกว่าเอเชียไมเนอร์) ซึ่งเป็นที่ตั้งของพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตุรกี เป็นดินแดนที่มีการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่องมายาวนานเพราะอยู่ในตำแหน่งที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานในตอนต้นของยุคหินใหม่ เช่น ชาตัลเฮอยืค (Çatalhöyük), ชาเยอนู (Çayönü), เนวาลี โจลี (Nevali Cori), ฮาจิลาร์ (Hacilar), เกอเบกลี เทเป (Göbekli Tepe) และ เมร์ซิน (Mersin) นับได้ว่าเป็นการตั้งถิ่นฐานที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[9] การตั้งถิ่นฐานในเมืองทรอยเริ่มต้นในยุคหินใหม่และต่อเนื่องไปถึงยุคเหล็ก ในประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ ชาวอานาโตเลียใช้ภาษาอินโดยูโรเปียน, ภาษาเซมิติก และภาษาคาร์ตเวเลียน และยังมีภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา นักวิชาการบางคนเสนอว่าอานาโตเลียเป็นศูนย์กลางที่ภาษากลุ่มอินโดยูโรเปียนนั้นกระจากออกไป[10]

หอสมุดเซลซุสในเมืองเอเฟซุสสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 135

จักรวรรดิแห่งแรกของบริเวณอานาโตเลียคือจักรวรรดิของชาวอิไตต์ ซึ่งรุ่งเรืองขึ้นประมาณศตวรรษที่ 18 ถึง 13 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น อาณาจักรฟรีเจียซึ่งมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองกอร์ตีอุมมีอำนาจขึ้นมาแทนจนกระทั่งถูกทำลายโดยชาวคิมเมอเรียในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล[11] แต่ชาวคิมเมอเรียก็พ่ายแพ้ต่ออาณาจักรลีเดียซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองซาร์ดีสในเวลาต่อมา ลีเดียเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยและเป็นผู้คิดค้นเหรียญกษาปณ์

ประมาณ 1200 ปีก่อนคริสตกาล ชายฝั่งตะวันตกของอานาโตเลียถูกครอบครองโดยชาวกรีกไอโอเลียนและอีโอเนียน ชาวเปอร์เซียแห่งจักรวรรดิอาเคเมนิดสามารถพิชิตพื้นที่ทั้งหมดได้ในศตวรรษที่ 6 ถึง 5 ก่อนคริสตกาล แต่หลังจากนั้นดินแดนแห่งนี้ก็ตกเป็นของอเล็กซานเดอร์มหาราช ในปี 334 ก่อนคริสตกาล[12] อานาโตเลียจึงถูกแบ่งออกเป็นดินแดนเฮลเลนิสติกขนาดเล็กหลายแห่ง (รวมทั้ง บิทูเนีย คัปปาโดเกีย แพร์กามอน และพอนตุส) ซึ่งดินแดนเหล่านี้ตกเป็นของจักรวรรดิโรมันในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล[13] ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เลือกเมืองไบแซนเทียมให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมัน และตั้งชื่อให้ว่า โรมใหม่ (ภายหลังกลายเป็นคอนสแตนติโนเปิล และอิสตันบูล) หลังจากที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกเสื่อมลง เมืองนี้ก็กลายเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์[14]

สมัยเติร์กและจักรวรรดิออตโตมัน

อาณาจักรออตโตมันในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด (ประมาณ ค.ศ. 1680)
สุเหร่าสุลต่านอาห์เหม็ด (สุเหร่าสีน้ำเงิน) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรออตโตมัน

ตระกูลเซลจุกเป็นสาขาหนึ่งของโอกุสเติร์ก ซึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาศัยอยู่บริเวณตอนเหนือของทะเลแคสเปียนและทะเลอารัล[15] ในคริสต์วรรษที่ 10 พวกเซลจุกเริ่มอพยพออกจากบ้านเกิดมาทางตะวันออกของอานาโตเลีย ซึ่งในที่สุดกลายเป็นดินแดนแห่งใหม่ของเผ่าโอกุสเติร์ก หลังจากสงครามแมนซิเกิร์ตในปี 1071 ชัยชนะของเซลจุกในครั้งนี้ทำให้เกิดสุลต่านเซลจุกในอานาโตเลีย ซึ่งเป็นเสมือนอาณาจักรย่อยของอาณาจักรเซลจุกซึ่งปกครองบางส่วนของเอเชียกลาง อิหร่าน อานาโตเลีย และตะวันออกกลาง[16]

การเมืองการปกครอง

บริหาร

ตุรกีปกครองในรูปแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี นับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2466 การเป็นรัฐโลกวิสัยเป็นส่วนสำคัญของการเมืองตุรกี ประมุขแห่งรัฐของตุรกีคือประธานาธิบดี ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลาห้าปี

นิติบัญญัติ

ตุลาการ

สถานการณ์การเมือง

สิทธิมนุษยชน

การแบ่งเขตการปกครอง

ตุรกีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 81 จังหวัด (provinces - iller) ได้แก่

ต่างประเทศ

กองทัพ

เศรษฐกิจ

โครงสร้าง

นับตั้งแต่การเป็นสาธารณรัฐ ตุรกีได้มีแนวทางเข้าหาการนิยมอำนาจรัฐ โดยมีการควบคุมจากรัฐบาลในด้านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน การค้าต่างประเทศ และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังปี 2526 ตุรกีเริ่มมีการปฏิรูป นำโดยนายกรัฐมนตรีตุรกุต เออซัล ตั้งใจปรับจากเศรษฐกิจแบบอำนาจรัฐเป็นแบบของตลาดและภาคเอกชนมากขึ้น[17] การปฏิรูปนี้ส่งผลให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็สะดุดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงินในปี 2537 2542[18] และ 2544[19] เป็นผลให้มีการเจริญเติบโตของจีดีพีเฉลี่ยต่อปีตั้งแต่ปี 2524 ถึง 2546 อยู่ที่ 4 เปอร์เซนต์[20] การขาดหายของการปฏิรูปเพิ่มเติม กอปรกับการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากและคอร์รัปชัน ทำให้เกิดเงินเฟ้อสูง ภาคการธนาคารที่อ่อนแอ และความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมหภาคที่เพิ่มขึ้น[21]

สถานการณ์สำคัญ

นับตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจปี 2544 และการปฏิรูปที่เริ่มโดยรัฐมนตรีคลังในขณะนั้น เกมัล เดร์วึช อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเหลือเป็นเลขหลักเดียว ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น และการว่างงานลดลง ไอเอ็มเอฟพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ของตุรกีไว้ที่ 6 เปอร์เซนต์[22] ตุรกีได้พยายามเปิดกว้างระบบตลาดมากขึ้นผ่านการปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยลดการควบคุมจากรัฐบาลด้านการค้าต่างประเทศและการลงทุน และการแปรรูปอุตสาหกรรมของรัฐ การเปิดเสรีในหลายด้านไปสู่ภาคเอกชนและต่างประเทศได้ดำเนินต่อไปท่ามกลางการโต้เถียงทางการเมือง[23]

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคม และ โทรคมนาคม

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พลังงาน

การสาธารณสุข

การศึกษา

การศึกษาในประเทศตุรกีเป็นแบบภาคบังคับ และไม่เก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 6 ถึง 15 ปี อัตราการรู้หนังสือคือร้อยละ 95.3 ในผู้ชาย ร้อยละ 79.6 ในผู้หญิง และเฉลี่ยรวมร้อยละ 87.4 [24] การที่อัตราการรู้หนังสือของผู้หญิงต่ำกว่าชายป็นเพราะในเขตชนบทยังคงมีแนวความคิดแบบเก่าที่ไม่นิยมให้ผู้หญิงเรียนหนังสือ[25]

ประชากรศาสตร์

เมืองใหญ่สุด 20 อันดับแรก

เชื้อชาติ

ในปี พ.ศ. 2550 ตุรกีมีประชากร 70.5 ล้านคน และมีอัตราการเติบโตร้อยละ 1.04 ต่อปี ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 92 คนตารางกิโลเมตร ความหนาแน่นของประชากรในแต่ละจังหวัดแตกต่างกันตั้งแต่ 11 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในตุนเจลี) จนถึง 2,420 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในอิสตันบูล) ค่ามัธยฐานของอายุประชากรคือ 28.3 [27] จากข้อมูลของทางการในปี พ.ศ. 2548 อายุคาดหมายเฉลี่ยของประชากรทั้งหมดคือ 71.3 ปี[28]

ประชากรส่วนใหญ่ของตุรกีมีเชื้อสายตุรกี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 50 ถึง 55 ล้านคน[29] ชนชาติอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ชาวเคิร์ด, เซอร์ซาสเซียน, ซาซา บอสเนีย, จอร์เจีย, อัลเบเนีย, โรมา (ยิปซี), อาหรับ และอีก 3 ชนชาติที่ได้รับการยอมรับจากทางการได้แก่พวกกรีก, อาร์มีเนีย และยิว ในบรรดาชนชาติเหล่านี้ กลุ่มที่ใหญ่ที่สุดคือชาวเคิร์ด (ประมาณ 12.5 ล้านคน[29]) ซึ่งมักจะอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวตุรกีจำนวนมากอพยพไปยังยุโรปตะวันตก (โดยเฉพาะเยอรมนีตะวันตก) เนื่องจากความต้องการแรงงานในยุโรปเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดชุมชนชาวตุรกีนอกประเทศขึ้น แต่ในระยะหลังตุรกีกลับกลายเป็นจุดหมายของผู้อพยพจากประเทศข้างเคียง ซึ่งมีทั้งผู้อพยพที่ปักหลักอยู่ในประเทศตุรกี และผู้ที่ใช้ตุรกีเป็นทางผ่านต่อไปยังประเทศกลุ่มยุโรป[30] [31]

ภาษา

ประเทศตุรกีมีภาษาทางการเพียงภาษาเดียวคือภาษาตุรกี [32] ซึ่งภาษาตุรกียังเป็นภาษาที่พูดในหลายพื้นที่ในยุโรป เช่นไซปรัส ทางตอนใต้ของคอซอวอ มาเซโดเนีย และพื้นที่ในคาบสมุทรบอลข่านที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เช่น แอลเบเนีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บัลแกเรีย กรีซ โรมาเนีย และเซอร์เบีย[33] นอกจากนี้ ยังมีผู้ที่ใช้ภาษาตุรกีมากกว่า 2 ล้านคนอาศัยอยู่ในเยอรมนี และมีกลุ่มผู้ใช้ภาษาตุรกีในประเทศออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร[34]

ศาสนา

ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม (31,129,845 คน) ที่เหลือเป็นคริสต์ นิกายอีสเทิร์นออร์โธดอกซ์ (143,251) คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (25,833 คน) คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (22,983 คน) และยิว (38,267 คน)

กีฬา

การแข่งขันระดับนานาชาติ

ฟุตบอล

วอลเลย์บอล

วัฒนธรรม

รากฐานทางสังคมของตุรกีมีมีลักษณะเป็นครอบครัวแบบขยายที่มีความสัมพันธ์กันทั้งสายเลือดและแต่งงาน โดยยึดถือการสืบทอดทางฝ่ายชาย สมาชิกทุกคนยึดถือปฏิบัติตามหลักศาสนา ผู้ชายทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัว ในปัจจุบันมีความพยายามส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย โดยผู้หญิงสามารถออกไปทำงานนอกบ้านได้ ทั้งในส่วนของรัฐบาลและภาคเอกชน แต่ผู้ชายก็ยังมีความคิดว่าผู้หญิงด้อยกว่าทั้งทางด้านร่างกายและอารมณ์

ศิลปกรรม

นักดนตรีหญิงน้อยทั้งสอง (ซ้าย) และ นักฝึกเต่า (ขวา) จิตรกรรมของ Osman Hamdi Bey นักดนตรีหญิงน้อยทั้งสอง (ซ้าย) และ นักฝึกเต่า (ขวา) จิตรกรรมของ Osman Hamdi Bey
นักดนตรีหญิงน้อยทั้งสอง (ซ้าย) และ นักฝึกเต่า (ขวา) จิตรกรรมของ Osman Hamdi Bey

โดยทั่วไปในความคิดแบบตะวันตก เป็นที่ยอมรับกันว่าจิตรกรรมแบบตุรกีเริ่มเฟื่องฟูในกลางคริสต์ศตวรรศที่ 19 สถาบันจิตรกรรมแห่งแรกของตุรกีคือมหาวิทยาลัยเทคนิคตุรกี (ในขณะนั้นคือ สถาบันวิศวกรรมศาสตร์กองทัพอิมพีเรียล) ซึ่งเปิดสอนในปี 1793 เพื่อจุดมุ่งหมายเชิงการใช้งานมากกว่า[35] ปลายคริสตืศตวรรษที่ 19 การวาดมนุษย์ตามอย่างตะวันตกเริ่มแพร่หลายโดยเฉพาะกับ Osman Hamdi Bey ลัทธิประทับใจ รวมทั้งศิลปะยุคใหม่เริ่มเข้ามากับ Halil Pasha ศิลปินตุรกียุคใหม่ที่ถูกส่งไปเล่าเรียนในยูโรปเมื่อปี 1926 กลับมาพร้อมกับแนวศิลปะร่วมสมัยทั้ง ฟอวิสซึม คิวบิซึม และ เอ็กซ์เพรชชั่นนิสซึม ต่อมาศิลปินได้รวมกันจัดตั้ง "Group D" ซึ่งประกอบด้วยจิตรกรที่นำโดย Abidin Dino, Cemal Tollu, Fikret Mualla, Fahrünnisa Zeid, Bedri Rahmi Eyüboğlu, Adnan Çoker และ Burhan Doğançay ผู้นำเสนอเทรนด์ใหม่ที่จะคงอยู่ในจิตรกรรมตะวันตกไปอีกสามทศวรรศ นอกจาก Group D แล้วยังมีการเคลื่อนไหวอื่น ๆ อีก เช่น "Yeniler Grubu" (ผู้มาใหม่) ราวปลายทศวรรศ 1930s, "On'lar Grubu" (กลุ่มสิบคน) ในทศวรรศ 1940s, "Yeni Dal Grubu" (กลุ่มสาขาใหม่) ในทศวรรศ 1950s และ "Siyah Kalem Grubu" (กลุ่มปากกาดำ) ในทศวรรศ 1960s[36]

พรมตุรกี เป็นศิลปกรรมท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่ตุรกียุคก่อนอิสลาม ยิ่งผ่านกาลเวลามาเท่าไร พรมตุรกีก็ยิ่งมีการผสมผสานวัฒนธรรมใหม่ ๆ มากขึ้นเท่านั้น สังเกตได้จากกลิ่นอายและงานออกแบบที่มีความเป็นไบแซนไทน์ อนาโตเลีย อาร์เมเนีย ฯลฯ ล้วนทำให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละถิ่น จนกระทั่งหลังศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแผ่ พรมตุรกีจึงได้รับอิทธิพลอย่างมากจากศิลปะอิสลาม[37]

จุลจิตรกรรมแบบตุรกี (Turkish miniature) เป็นงานศิลป์ชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากธรรมเนียมจุลจิตรกรรมแบบเปอร์เชีย การวาดลวดลายขนาดจิ๋วซึ่งเรียกว่า taswir หรือ nakish พบในวัฒนธรรมออตโตมัน และเรียกสตูดิโอที่ทำชิ้นงานว่า Nakkashanes[38]โดยทั่วไปแล้วจุลจิตรกรรมหนึ่งภาพอาจต้องใช้จิตรกรมากกว่าหนึ่งคน เพื่อร่างโครงสร้าง จัดองค์ประกอบ ลงสี ตกต่งและเก็บรายละเอียด ยังรวมไปถึงขั้นตอนการเขียนคัลลิกราฟี ก่อนที่จะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือหรือเอกสารหนึ่งหน้า[39]

การสร้างลวดลายหินอ่อนบนกระดาษแบบตุรกี (Turkish paper marbling) ก็เป็นอีกจิตรกรรมที่เป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จัก มักพบใช้ในการตกแต่งขอบกระดาษในหนังสือหรือเอกสาร หรือใช้สร้างแม่ลาย (mortif) "Hartif"[40]


ดนตรี

อาหาร

สถาปัตยกรรม

สื่อสารมวลชน

วันหยุด

อ้างอิง

  1. "Turkey". World Bank.
  2. Sabancı University (2005). "Geography of Turkey". Sabancı University. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  3. Turkish Odyssey: Turkey
  4. "Geography of Turkey". US Library of Congress. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  5. UN Demographic Yearbook, accessed April 16, 2007
  6. 6.0 6.1 Turkish Ministry of Tourism (2005). "Geography of Turkey". Turkish Ministry of Tourism. สืบค้นเมื่อ 2006-12-13.
  7. "Brief Seismic History of Turkey". University of South California, Department of Civil Engineering. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  8. "Climate of Turkey". Turkish State Meteorological Service. 2006. สืบค้นเมื่อ 2008-8-14. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Thissen, Laurens (2001-11-23). "Time trajectories for the Neolithic of Central Anatolia" (PDF). CANeW - Central Anatolian Neolithic e-Workshop. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. Balter, Michael (2004-02-27). "Search for the Indo-Europeans: Were Kurgan horsemen or Anatolian farmers responsible for creating and spreading the world's most far-flung language family?". Science. 303 (5662): 1323.
  11. The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 2000 – 1000 B.C. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21.
  12. Hooker, Richard (1999-06-06). "Ancient Greece: The Persian Wars". Washington State University, WA, United States. สืบค้นเมื่อ 2006-12-22.
  13. The Metropolitan Museum of Art, New York (October 2000). "Anatolia and the Caucasus (Asia Minor), 1000 B.C. - 1 A.D. in Timeline of Art History.". New York: The Metropolitan Museum of Art. สืบค้นเมื่อ 2006-12-21.
  14. Daniel C. Waugh (2004). "Constantinople/Istanbul". University of Washington, Seattle, WA. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  15. Wink, Andre (1990). Al Hind: The Making of the Indo Islamic World, Vol. 1, Early Medieval India and the Expansion of Islam, 7th-11th Centuries. Brill Academic Publishers. ISBN 90-04-09249-8.
  16. Mango, Cyril (2002). The Oxford History of Byzantium. Oxford University Press, USA. ISBN 0-19-814098-3.
  17. Nas, Tevfik F. (1992). Economics and Politics of Turkish Liberalization. Lehigh University Press. ISBN 0-934223-19-X. (อังกฤษ)
  18. "Turkish quake hits shaky economy". British Broadcasting Corporation. 1999-08-17. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12. (อังกฤษ)
  19. "'Worst over' for Turkey". British Broadcasting Corporation. 2002-02-04. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12. (อังกฤษ)
  20. World Bank (2005). "Turkey Labor Market Study" (PDF). World Bank. สืบค้นเมื่อ 2006-12-10. (อังกฤษ)
  21. OECD Reviews of Regulatory Reform - Turkey: crucial support for economic recovery : 2002. Organisation for Economic Co-operation and Development. 2002. ISBN 92-64-19808-3. {{cite book}}: |first= ไม่มี |last= (help) (อังกฤษ)
  22. IMF: World Economic Outlook Database, April 2008. Inflation, end of period consumer prices. Data for 2006, 2007 and 2008. (อังกฤษ)
  23. Jorn Madslien (2006-11-02). "Robust economy raises Turkey's hopes". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2006-12-12. (อังกฤษ)
  24. "Population and Development Indicators - Population and education". Turkish Statistical Institute. 2004-10-18. สืบค้นเมื่อ 2006-12-11.
  25. Jonny Dymond (2004-10-18). "Turkish girls in literacy battle". British Broadcasting Corporation. สืบค้นเมื่อ 2006-12-11.
  26. http://www.citypopulation.de/Turkey-RBC20.html December 2012 address-based calculation of the Turkish Statistical Institute as presented by citypopulation.de
  27. "2007 Census,population statistics in 2007". Turkish Statistical Institute. 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-08-15.
  28. "Life expectancy has increased in 2005 in Turkey". Hürriyet. 2006-12-03. สืบค้นเมื่อ 2006-12-09.
  29. 29.0 29.1 "Türkiyedeki Kürtlerin Sayısı! (Number of Kurds in Turkey!)" (ภาษาตุรกี). Milliyet. 2008-06-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-18.
  30. Kirişçi, Kemal (November 2003). "Turkey: A Transformation from Emigration to Immigration". Center for European Studies, Bogaziçi University. สืบค้นเมื่อ 2006-12-26.
  31. "http://www.economist.com/world/international/displaystory.cfm?story_id=11921822". The Economist. November 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-9-3. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); แหล่งข้อมูลอื่นใน |title= (help)
  32. "Turkish language" in The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition | Date: 2008
  33. "Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Report for language code:tur (Turkish)". 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.Gordon, Raymond G., Jr.
  34. "The European Turks: Gross Domestic Product, Working Population, Entrepreneurs and Household Data" (PDF). Turkish Industrialists' and Businessmen's Association. 2003. สืบค้นเมื่อ 2007-01-06.
  35. Antoinette Harri; Allison Ohta (1999). 10th International Congress of Turkish Art. Fondation Max Van Berchem. ISBN 978-2-05-101763-3. The first military training institutions were the Imperial Army Engineering School (Mühendishane-i Berr-i Hümâyun, 1793) and the Imperial School of Military Sciences (Mekteb-i Ulûm-ı Harbiye-i Şahane, 1834). Both schools taught painting to enable cadets to produce topographic layouts and technical drawings to illustrate landscapes ...
  36. ""10'Lar' Grubu", "Yenı Dal Grubu", "Sıyah Kalem Grubu"". turkresmi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 11 August 2014. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  37. Brueggemann, Werner; Boehmer, Harald (1982). Teppiche der Bauern und Nomaden in Anatolien = Carpets of the Peasants and Nomads in Anatolia (1st ed.). Munich: Verlag Kunst und Antiquitäten. pp. 34–39. ISBN 3-921811-20-1.
  38. Barry, Michael (2004). Figurative art in medieval Islam and the riddle of Bihzâd of Herât (1465–1535). p. 27. ISBN 978-2-08-030421-6. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  39. "Turkish Miniatures". www.turkishculture.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.
  40. "The Turkish Art of Marbling (EBRU)". turkishculture.org. สืบค้นเมื่อ 11 February 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศตุรกี ที่โอเพินสตรีตแมป