ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอเสาไห้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{กล่องข้อมูล อำเภอ
| name = เสาไห้
| english = Sao Hai
| province = สระบุรี
| coordinates = {{Coord|14|33|1|N|100|51|27|E|type:admin2nd_region:TH}}
| area = 118
| population = 33,944
| population_as_of = 2562
| density = 287.66
| postal_code = 18160
| geocode = 1910
| image_map = Amphoe 1910.svg
| capital = ที่ว่าการอำเภอเสาไห้ เลขที่ 5 หมู่ที่ 5 ถนนพิชัยรณรงค์สงคราม ตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 18160
| phone = 0 3639 1182, 0 3639 1246
| fax = 0 3639 1182, 0 3639 1246
| คำขวัญ = เสาตะเคียนคู่บ้าน ถิ่นข้าวสารพันธุ์ดี<br />ผ้าทอหลากสี ประเพณีเรือยาว
}}
'''เสาไห้''' เป็นอำเภอใน[[จังหวัดสระบุรี]]ที่อยู่ใกล้[[อำเภอเมืองสระบุรี]]มากที่สุด (ประมาณ 7 กิโลเมตร) เลื่องชื่อในด้านประเพณีการแข่งเรือยาว [[ผ้าทอ]] และข้าวสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี [[พ.ศ. 2437]] โดยแต่เดิมเป็นตัวเมืองสระบุรีมาก่อน (ปัจจุบันเป็นตำบลเมืองเก่า) มีตำนานเล่าว่าชื่ออำเภอนี้ได้มาจากตำนานแม่นางตะเคียนเสาร้องไห้ซึ่งเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเสาไห้ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดสูง

== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
อำเภอเสาไห้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
อำเภอเสาไห้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:59, 4 มิถุนายน 2563

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอเสาไห้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ตำนานชื่ออำเภอ

ชื่ออำเภอเสาไห้เป็นการกร่อนคำมาจากคำว่า "เสาร้องไห้" เป็นตำนานเรื่องเล่าของเสาไม้ตะเคียนทองซึ่งมีขนาดความยาว 13 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 เมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ต้นหนึ่งที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นเสาเอกในการสร้างปราสาทราชวังที่ประทับเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ ในต้นรัชกาลกรุงรัตนโกสินทร์ นางตะเคียนที่สิงสถิตอยู่เสียใจมาก ตกกลางคืนจึงแสดงอภินิหารลอยทวนน้ำขึ้นมา ขณะลอยมานั้นชาวบ้านริมน้ำได้ยินเสียงร้องไห้ และเสาดังกล่าวได้มาจมลงในบริเวณคุ้งน้ำป่าสัก ห่างจากที่ว่าการอำเภอเสาไห้ปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 50 เมตร บริเวณนั้นจึงถูกเรียกว่า "สาวร้องไห้" ต่อมาเหลือเพียงคำว่า "เสาไห้"

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอเสาไห้แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12 ตำบล 103 หมู่บ้าน ได้แก่

1. เสาไห้ (Sao Hai) 7 หมู่บ้าน 7. ท่าช้าง (Tha Chang) 8 หมู่บ้าน
2. บ้านยาง (Ban Yang) 15 หมู่บ้าน 8. พระยาทด (Phraya Thot) 7 หมู่บ้าน
3. หัวปลวก (Hua Pluak) 12 หมู่บ้าน 9. ม่วงงาม (Muang Ngam) 8 หมู่บ้าน
4. งิ้วงาม (Ngio Ngam) 6 หมู่บ้าน 10. เริงราง (Roeng Rang) 7 หมู่บ้าน
5. ศาลารีไทย (Sala Ri Thai) 5 หมู่บ้าน 11. เมืองเก่า (Mueang Kao) 9 หมู่บ้าน
6. ต้นตาล (Ton Tan) 8 หมู่บ้าน 12. สวนดอกไม้ (Suan Dok Mai) 11 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอเสาไห้ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลเสาไห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเสาไห้ทั้งตำบล[1][2]
  • เทศบาลตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านยาง[3]
  • เทศบาลตำบลสวนดอกไม้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสวนดอกไม้ทั้งตำบล[4][5]
  • เทศบาลตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่าทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลต้นตาล-พระยาทด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นตาลและตำบลพระยาทดทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลหัวปลวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวปลวกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านยาง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านยาง)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลช้างไทยงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วงาม ตำบลศาลารีไทย และตำบลท่าช้างทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงงาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงงามทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเริงราง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเริงรางทั้งตำบล

ตำบลที่สำคัญ

  • ตำบลเสาไห้ เป็นตำบลที่เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอ โรงเรียนเสาไห้ "วิมลวิทยานุกูล" ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และวัดสูงที่เป็นที่ประดิษฐานของเสาร้องไห้
  • ตำบลบ้านยาง เป็นตำบลที่มีชื่อทางด้านการทำกระยาสารท
  • ตำบลต้นตาล เป็นตำบลที่มีชื่อในด้านการทำผ้าทอ ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มทอผ้าสตรีตำบลต้นตาล ณ วัดต้นตาล และมีวัดเขาแก้วราชวรมหาวิหารซึ่งเป็นวัดสร้างโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) และตรงข้ามวัดจะมีศูนย์วัฒนธรรมประจำตำบลต้นตาล ซึ่งมีลักษณะเป็นบ้านทรงไทยติดริมแม่น้ำ เป็นที่ถ่ายทำละครมาแล้วหลายเรื่อง อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านของชาวไทยวนด้วย ตำบลนี้มีคำขวัญประจำตำบลว่า "ถิ่นพื้นบ้านไทยวน ผ้าทอล้วนหลากสี ดวงมณีวัดเขาแก้ว ตั้งติดแนวป่าสัก อนุรักษ์วัฒนธรรม"
  • ตำบลท่าช้าง เป็นตำบลที่มีร้านก๋วยเตี๋ยวจ๊างนัก (ก๋วยเตี๋ยวท่าช้าง) ที่เป็นที่รู้จักของชาวสระบุรี
  • ตำบลเมืองเก่า เป็นตำบลที่เคยเป็นที่ตั้งของตัวเมืองสระบุรีมาก่อน (ปัจจุบันย้ายไปที่ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี)
  1. [1] ๑๕ ตุลาคม ๒๔๙๙ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
  2. [2] ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลเสาไห้ รวมกับ เทศบาลตำบลเสาไห้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
  3. [3] ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๐๖ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านยาง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
  4. [4] ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
  5. [5] ๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมองค์การบริหารส่วนตำบลกับเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบลสวนดอกไม้ รวมกับ เทศบาลตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี