ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย"

พิกัด: 18°46′21″N 99°0′2″E / 18.77250°N 99.00056°E / 18.77250; 99.00056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ไม่มี
ชื่อเสียงของโรงเรียนอัสสัมชัญพระนครโน้มได้น้ามนักเรียนจากเชียงใหม่ไปศึกษาที่กรุงเทพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 เมื่อนักเรียนเหล่านั้นได้กลายเป็นศิษย์เก่าแล้ว จึงเชิญภราดาไมเคิล และภราดา[[ฟ. ฮีแลร์]] ไปเปิดโรงเรียนที่นั่น ประกอบกับ [[ผู้แทนพระสันตะปาปา]] [[เรอเน-มารี-โฌแซ็ฟ แปโร|เรอเน แปโร]] ประมุข[[เขตมิสซังกรุงเทพฯ|เขตมิสซังสยาม]]ในขณะนั้น และบาทหลวงยอร์ช มีราแบล คิดว่าการเผยแผ่คริสต์ศาสนาจะดีขึ้น หากมีโรงเรียนคาทอลิกช่วยอีกแรง ดังนั้นแล้วจึงเชิญ[[คณะอุร์สุลิน]] และ[[คณะภราดาเซนต์คาเบรียล]] ไปเปิดโรงเรียนชาย และหญิง

14 ตุลาคม พ.ศ. 2474 เมื่อโรงเรียนอัสสัมชัญหยุดกลางภาค ภราดาไมเคิล และ ภราดาฟ.ฮีแลร์ พร้อมด้วยอัสสัมชนิกฝ่ายเหนือ โดยสารรถไฟด่วนขึ้นยัง ลำปาง, เชียงใหม่ ตลอดจน เชียงรายและเชียงแสน เพื่อหาดูทำเลที่เหมาะสมแก่การตั้งโรงเรียน ในที่สุดคณะอุร์สุลินได้ตั้ง[[โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย]]ขึ้น ส่วนคณะภราดาเซนต์คาเบรียลได้ตั้งโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2475 โดยใช้ที่ดินที่บาทหลวงยอร์ช มีราแบล ซื้อไว้นานแล้วจาก[[หลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)]] บริเวณถนนเจริญประเทศ แปลงหนึ่งขนาด 12 ไร่ติดแม่น้ำปิงมอบให้โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แต่การสร้างโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเสร็จล่าช้ากว่า[[โรงเรียนพระหฤทัย เชียงใหม่|โรงเรียนพระหฤทัย]]และเรยีนา ราวครึ่งปี

โรงเรียนมงฟอร์ตทำการเปิดสอนครั้งแรก ในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 โดยมีภราดาซิเมออน ริโตล เป็นอธิการคนแรก และมีภราดาแอมบรอซิโอ เป็นรองอธิการ โดยระหว่างเปิดสอนขณะนั้น มีนักเรียนเพียง 22 คน โดยอาศัยเรือนไม้ข้างโบสถ์พระหฤทัย(หลังเก่า)เป็นห้องเรียนชั่วคราว

เมื่ออาคารมงฟอร์ต และอาคารอำนวยการแล้วเสร็จ นักเรียนมงฟอร์ตรุ่นแรก จึงย้ายจากวัดพระหฤทัยเข้ามาเรียนในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2476 จากนั้นนักเรียนจึงเพิ่มขึ้นเป็น 116 คน โดยการเรียนการสอนในช่วงแรกๆ เนื่องจากชั้นหนึ่ง มีนักเรียนไม่มากนัก การเรียนการสอนจึงสอนอย่างสบายๆ กวดขันใกล้ชิด ดังนั้นแล้วนักเรียนในสมัยนั้นจะสามารถพูดภาษาอังกฤษตอบโต้ได้เป็นอย่างดี

ในสมัยของภราดาปีเตอร์ดำรงตำแหน่งอธิการ [[สงครามโลกครั้งที่สอง]] ได้อุบัติขึ้น ส่งผลให้การศึกษาต้องหยุดชะงัก จังหวัดได้ประกาศปิดโรงเรียนทุกแห่งในเชียงใหม่ และมีทหารสื่อสาร และทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานมาใช้พื้นที่โรงเรียนนานเกือบเดือน ก่อนที่จะย้ายไปทุ่งช้างคลาน ด้วยภาวะสงครามและเศรษฐกิจตกต่ำ เมื่อราชการประกาศให้เปิดโรงเรียน จึงมีนักเรียนเหลือน้อยมาก ภราดาปีเตอร์ได้พยายามทำทุกวีถีทางเพื่อให้โรงเรียนก้าวหน้าต่อไปได้ ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2478 ภราดาเกลเมนต์ (บุญมี เกิดสว่าง) ได้ยื่นคำขอต่อกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ แต่เนื่องจากภาวะสงครามจึงถูกเพิกเฉย ต่อมาภราดาเซราฟิน ได้ยื่นคำร้องนี้อีกครั้ง เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2489 คำร้องได้รับการพิจารณา พร้อมด้วยมีการตรวจโรงเรียน ทำให้โรงเรียนได้รับการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ตั้งแต่ปีการศึกษา 2589 ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2490 และสามปีต่อมาได้เริ่มเปิดแผนกมัธยม ด้วยนักเรียนที่มีจำนวนมากขึ้นเอยๆจนโรงเรียนเดิมไม่สามารถรับนักเรียนได้ไหว จึงไปตั้งแผนกประถมที่ถนนช้างคลาน (ปัจจุบันคือ[[โรงเรียนวชิรวิทย์]] ฝ่ายประถม) ในปี [[พ.ศ. 2513]]

ต่อมาเมื่อโรงเรียนมีนักเรียนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องย้ายแผนกมัธยมจากเดิมที่ถนนเจริญประเทศ ไปตั้งใหม่ยังถนนมหิดล ตำบลท่าศาลา บริเวณใกล้ ๆ กับ[[โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย]] ในพื้นที่ 52 ไร่ โดยเริ่มเปิดทำการศึกษาแผนกมัธยมในบริเวณใหม่ในปี [[พ.ศ. 2528]] และย้ายแผนกประถมกลับมายังถนนเจริญประเทศซึ่งเป็นที่ตั้งของแผนกมัธยมเดิม


== ข้อมูลทั่วไป ==
== ข้อมูลทั่วไป ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:58, 4 กรกฎาคม 2557

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
Montfort College
ไฟล์:FSG Logo.gif
ไฟล์:Montfort College Alumni Building.jpg
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.ว. และ ม.ป. หรือ MC
ประเภทโรงเรียนเอกชน
คำขวัญละติน: Labor omnia vincit
"วิริยะอุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ"
สถาปนา16 มีนาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี)
ผู้อำนวยการภราดาศุภนันท์ ขันธปรีชา (ประถม)
ภราดาอนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ (มัธยม)
จำนวนนักเรียน3,238 คน (แผนกมัธยม; 2556)
สีน้ำเงิน ขาว แดง
เพลงภาษาไทย: มาร์ชมงฟอร์ต
ภาษาอังกฤษ: Come Cheer
ไฟล์:March Montfort.ogg
ต้นไม้ต้นพิกุล
เว็บไซต์แผนกมัธยม: www.montfort.ac.th
แผนกประถม: www.mcp.ac.th

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College , ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นโรงเรียนเอกชน ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตได้แยกที่ตั้งในแผนกประถม และมัธยมคือ โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2475 แผนกประถม ตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และ แผนกมัธยมตั้งอยู่ที่ ถนนมงฟอร์ต หมู่บ้านมงฟอร์ตวิลลา ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ

ไม่มี

ข้อมูลทั่วไป

ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 ทางโรงเรียนได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเปิดโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ที่ตำบลท่าศาลา และโรงเรียนยังได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน (ทั้งแผนกประถมและมัธยม) ถึง 7 ครั้ง โดยแผนกประถมได้รับพระราชทานรางวัลเมื่อปี พ.ศ. 2530 พ.ศ. 2537พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2552 และแผนกมัธยมได้รับพระราชทานรางวัลในปี พ.ศ. 2532 พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2554

นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2543 แผนกประถมและมัธยมยังผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา ในปี พ.ศ. 2546 ภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ได้รับรางวัลเกียรติคุณ และได้รับพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติบุคคลดีเด่น สาขาผู้บริหารสถานศึกษา และในปี พ.ศ. 2549 ที่ผ่านมายังผ่านการประเมินมาตรฐานการศึกษาจาก สมศ. อีกด้วย

จากการที่โรงเรียนมงฟอร์ตเริ่มรับนักเรียนหญิงในระดับชั้นประถมในปี พ.ศ. 2551 ทำให้โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเป็นโรงเรียนชายล้วนแห่งสุดท้ายของเชียงใหม่[1] ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตได้เปิดสอนทั้งหมด 12 ชั้นปี 4 ช่วงชั้น (ป.1-ป.3, ป.4-ป.6, ม.1-ม.3 และ ม.4-ม.6) โดยในระดับช่วงชั้นที่ 4 เรียนในระบบสหศึกษา (ชาย-หญิงเรียนรวมกัน) โดยนักเรียนชายล้วนรุ่นสุดท้ายคือปีการศึกษา พ.ศ. 2556 โรงเรียนมีจำนวนครูรวม 2 แผนกกว่า 400 คนและนักเรียนรวม 2 แผนกกว่า 5,000 คน และในปัจจุบัน ช่วงชั้นที่ 1 ก็เริ่มมีการเรียนในระบบสหศึกษาเช่นเดียวกันกับช่วงชั้นที่ 4

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถมตั้งอยู่ที่ ถ.เจริญประเทศ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีตึกทำการคือตึกมงฟอร์ต ตึกมารีย์ ตึกอำนวยการ ตึกสามัคคีนฤมิต อาคารอเนกประสงค์ข้างตึกอำนวยการ (ที่ตั้งมุมสวัสดิการ,ห้องแนะแนว,ห้องพักครูภาษาจีน , งานอภิบาล, ฝ่ายกิจการนักเรียน, ฝ่ายวิชาการ) อาคารอเนกประสงค์บริเวณข้างตึกมงฟอร์ต (ที่ตั้งอาคารศิลปะ ห้องเรียนดนตรีและอาคารฝ่ายงานเกี่ยวกับสถานที่) อาคารศาลามารีย์บริเวณหลังตึกมารีย์ อาคารโรงอาหาร อาคารดุริยางค์ และอาคารสมาคมศิษย์เก่ามงฟอร์ต นอกจากนั้นยังมีที่ตั้งของวัดน้อยสำหรับทำพิธีกรรมศาสนาคริสต์ของคริสตชนในโรงเรียน อาคารเฮือนพญ๋าสำหรับเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และอาคารบ้านเทพฯอาทร ที่พักของนักเรียนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ตั้งอยู่ที่ ถ.มงฟอร์ต ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มีตึกทำการคือตึกอำนวยการ ตึกปีเตอร์ ตึกเซราฟิน ตึกอัลเบิร์ต ตึกอันโตนิโอ ตึกแอมบรอซิโอ ตึกเอ็มมานูเอล อาคารโรงอาหาร อาคารที่ที่การศูนย์การเรียนรู้วิทยุเพื่อการศึกษา vmc 91.0 MHz และ ที่ทำการสมาคมผู้ปกครอง และครู อาคารกิจกรรม อาคารอเนกประสงค์ข้างตึกอันโตนิโอ และยังมีอาคารใหม่คืออาคารเซนต์แมรี่ และการปรับปรุงโรงเรียนครั้งใหญ่ ด้วยงบประมาณกว่าร้อยล้านบาท

ปัจจุบันโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยทั้งสองแผนก ได้มีการเรียนการสอนแบบ 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปกติ และหลักสูตรภาษาอังกฤษ โดยหลักสูตรปกติในระดับช่วงชั้นที่ 4 จะแยกออกเป็น 2 แผนการเรียนคือ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ และแผนการเรียนศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย ศิลป์-ภาษาจีน, ศิลป์-ภาษาฝรั่งเศส, ศิลป์-ภาษาญี่ปุ่น, ศิลป์-ดนตรี และ ศิลป์-คณิตศาสตร์ (เปิดเฉพาะ ม.6)

สถาบันดนตรี

ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนมงฟอร์ตและสถาบันดนตรีลอสแอนเจลิส (อังกฤษ: Los Angelis Music Acedemy, LAMA) ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมจัดตั้ง สถาบันดนตรีมงฟอร์ตวิทยาลัย (อังกฤษ: Montfort College Music Acedemy, MCMA) ซึ่งเป็นสถาบันดนตรีมาตรฐานสากลที่เปิดสอนแก่บุคคลทั่วไปโดยมุ่งเน้นผลิตนักดนตรีอาชีพแก่วงการดนตรี ซึ่งมีการเรียนการสอนดนตรีทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย ปัจจุบันมี ณรงค์ศักดิ์ อิ่มเจริญ (รางวัลพระพิฆเนศทองคำ 2540) เป็นผู้อำนวยการสถาบัน โดยจะเริ่มทำการเปิดสอนอย่างเต็มรูปแบบ ในปีการศึกษา 2557

คณะภราดาและครูผู้บริหารในปัจจุบัน

แผนกประถม

  • ภราดาศุภนันท์ ขันธปรีชา (อธิการ/ผู้อำนวยการ)
  • ภราดาโยเซฟ อังเดร เกแก็ง (รองอธิการอาวุโส, ภราดาอาวุโสสุงสุดในคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย)

แผนกมัธยม

พรจิตต์ รังสรรค์ เล่าว่าเคยโดนฉุดขึ้นรถจะไปข่มขืนแต่เจ้าตัวไม่ยอม (หลงตัวเอง)

รายนามอธิการ

ทำเนียบอธิการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (พ.ศ. 2475 - 2553)
รายนาม ดำรงตำแหน่ง
1. ภราดา ซีเมออน ริโคล พ.ศ. 2475 - 2481
2. ภราดา ฮิวเบิร์ต คูแซง พ.ศ. 2481 - 2484
3. ภราดา ปีเตอร์ พ.ศ. 2484 - 2490
4. ภราดา เซราฟิน พ.ศ. 2490 - 2496
5. ภราดา อัลเบิร์ต เบิร์น พ.ศ. 2496 - 2498
6. ภราดา ซีเกียว อาเกล พ.ศ. 2498 - 2504
7. ภราดา ฮิวเบิร์ต ไมเกต์ พ.ศ. 2504 - 2509
8. ภราดา เอ็ดเวิร์ด คูเรียน พ.ศ. 2509 - 2513
9. ภราดา อิลเดฟองโซ มารีอา พ.ศ. 2513 - 2515
10. ภราดา พจน์ เลาหเกียรติ พ.ศ. 2515 - 2516
11. ภราดา สมพงษ์ ศรีสุระ พ.ศ. 2516 - 2521
12. ภราดา บัญญัติ โรจนารุณ พ.ศ. 2521 - 2530
13. ภราดา วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์ พ.ศ. 2530 - 2537
14. ภราดา วินัย วิริยวิทยาวงศ์ พ.ศ. 2537 - 2540
15. ภราดา นุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์ พ.ศ. 2540 - 2547
16. ภราดา มีศักดิ์ ว่องประชานุกูล พ.ศ. 2547 - 2553
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม
17. ภราดา อาจิณ เต่งตระกูล พ.ศ. 2553 - 2556
18. ภราดา อนุศักดิ์ นิธิภัทราภรณ์ พ.ศ. 2556- ปัจจุบัน
ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม
16. ภราดา มีศักดิ์ ว่องประชานุกูล พ.ศ. 2553 - 2556
17. ภราดา ศุภนันท์ ขันธปรีชา พ.ศ. 2556- ปัจจุบัน

ความสำเร็จ

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยนับว่าเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการและด้านกิจกรรม (ดนตรี/กีฬา) ในจังหวัดเชียงใหม่ นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผลงานทางวิชาการและกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศและระดับโลกมาแล้วมากมายดังตัวอย่าง

ระดับโลก

Marching Contest World Division และ Show Contest World Division Corps Style Class

ระดับประเทศ

ด้านวิชาการ
  • นายวรพล รัตนพันธ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนประเทศไทยเข้าแข่งขัน วิทยาศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคเอเชีย Asian Science Camp 2010 ณ ประเทศอินเดีย ปี 2553 [2]
  • โครงงานวิทยาศาสตร์รางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2547 เรื่องการศึกษาวงจรชีวิตและเส้นใยของหนอนผีเสื้อยักษ์เพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ และยังเป็นตัวแทนโครงงานประเทศไทยเข้าแข่งระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • โครงงานอาชีพ "ทองผำ ทองเตา" ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการกรุงไทยยุววานิช ปี 2547
  • นายศรัณย์ อาฮูยา ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง คณิตศาสตร์โอลิมปิกระดับนานาชาติที่ประเทศญี่ปุ่น ปี 2547 [3]
  • ด.ช.ภาณุวัฒน์ ไตรธรรม ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองโอลิมปิก วิชาการ สาขาเคมี ปี 2550
  • โครงงานอาชีพ "หมอนหก-สะลีเมือง" ได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการกรุงไทยยุววานิช ปี 2554
ด้านดนตรี

วงดุริยางค์ของโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยประสบความสำเร็จและก้าวหน้าโดยเริ่มจากการส่งเสริมของภราดาตั้งแต่ในอดีตเช่นภราดาซิเมออน สูงสุดในสมัยที่ภราดาอันโตนิโอ มารีอา (ชื่อพระราชทานเป็นภาษาไทยว่า ภราดาอนุรักษ์ ศรีวาทยากร) เป็นรองอธิการโดยท่านได้เป็นผู้ประพันธ์เพลงโรงเรียน และได้ส่งเสริมการเล่นดุริยางค์ของนักเรียนมงฟอร์ต ปูพื้นฐานดนตรีสากลให้กับนักเรียนมงฟอร์ตทุกคนอย่างจริงจัง โดยประพันธ์แบบเรียนดนตรีสากลให้สำหรับนักเรียนประถมต้นให้ได้รู้จักดนตรีสากลอย่างจริงจัง นอกจากนั้นในอดีตท่านยังได้มีส่วนในการสร้างนักเรียนมงฟอร์ตให้มีความสามารถด้านดนตรีจนมีชื่อเสียงในเวลาต่อมา

  • ได้รับคัดเลือกให้แสดงคอนเสิร์ตเผยแพร่วัฒนธรรมไทยส ในงาน Family Festival Bandfest ในปี พ.ศ. 2539 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • รางวัลชนะเลิศ การประกวดวงดุริยางค์เครื่องเป่านานาชาติ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในปี พ.ศ. 2544
  • วง h.r.u (หรู) เป็นวงดนตรีที่ชนะการประกวด KPN Band ในปี พ.ศ. 2548 และมีผลงานออกมาในปี พ.ศ. 2549
  • รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯการแข่งขันการประกวดวงโยธวาทิต นักเรียน นักศึกษา ชิงถ้วยพระราชทาน พระบรมโอรสาธิราชฯ ครั้งที่ 29 ประจำปี 2553
ความสำเร็จระดับภูมิภาค และ ประเทศ
  • นางสาวธัญลักษณ์ โชติพิบูลศิลป์ นักกีฬายิงปืน 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงินทีมชาติไทย ในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ปีการศึกษา 2551[4]
  • นายศุภนร ศุขสวัสดิ ณ อยุธยา นักกรีฑาเยาวชน เหรียญทองกรีฑาเยาวชนชิงแชมป์โลก "6th IAAF World Youth Championships" ณ สาธารณรัฐอิตาลี กรกฎาคม 2552[5]

ด้านกิจกรรม

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยแผนกมัธยมปลุกกระแสความยิ่งใหญ่ของผู้นำเชียร์ และกองเชียร์อีกครั้งในปี พุทธศักราช ๒๕๕๑ อีกครั้งโดยคัดเลือกผู้นำเชียร์ของโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม Sponsor Thailand Championship 2008 ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ และได้เป็นตัวแทนภาคเหนือไปประกวดระดับประเทศ ณ จังหวัดราชบุรี และได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ ๔ หลังจากนั้นได้ทำการคัดเลือกผู้นำเชียร์เข้าร่วมแข่งขันรายการดังกล่าวทุกปี

เพลงโรงเรียน

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยเป็นหนึ่งในไม่กี่โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะภราดาเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ไม่ได้ใช้เพลงสดุดีอัสสัมชัญเป็นเพลงประจำโรงเรียน เนื่องจากชื่อโรงเรียนไม่ได้ชื่อว่า "อัสสัมชัญ" เหมือนโรงเรียนอื่น ๆ ปัจจุบันเพลงประจำโรงเรียนคือเพลงมาร์ชมงฟอร์ต ซึ่งมีสองแบบคือแบบภาษาไทย (เพลงมาร์ชมงฟอร์ต) และภาษาอังกฤษ (เพลง Come Cheer) ทั้งสองแบบประพันธ์โดย ภราดาอนุรักษ์ ศรีวาทยากร นอกจากนั้นปัจจุบันโรงเรียนยังได้รับเพลง "สดุดีอัสสัมชัญ" มาใช้ในการประกวดผู้นำเชียร์ของโรงเรียน โดยได้ดัดแปลงเป็นเพลงใหม่ที่เข้ากับโรงเรียนมงฟอร์ต และตั้งชื่อใหม่เป็นเพลง "เกียรติศักดิ์ MC" ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้นำบูมโรงเรียนมาใช้อีกครั้ง

กิจกรรมโรงเรียน

กรีฑาสีมงฟอร์ต

โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย ไม่มีการจัดการแข่งขันกีฬาสี มีแต่เพียงการแข่งขันกรีฑาสีเท่านั้น ในสูจิบัตรการแข่งขันกรีฑาสีครั้งที่ 42 ประจำปีการศึกษา 2551 ม.นิสิต เจียงสงวน ครูอาวุโสได้เรียบเรียงถึงประวัติการจัดการแข่งขันดังนี้

การกีฬามงฟอร์ตเป็นที่รู้จักดีของคนทั่วไปในสมัยภราดาอาซีเนียว ราว พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา กีฬาที่นำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนอย่างมากคือบาสเก็ตบอล ต่อมาภราดาอาซีเนียวได้ให้การสนับสนุนกีฬาด้านอื่นๆ และกรีฑาด้วย เป็นที่ชื่นชอบของผู้ปกครองและพวกเราชาวมงฟอร์ต ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียงทั้งด้านการเรียนและกีฬา สำหรับการกีฬาอธิการได้ให้ความเอาใจใส่และสนับสนุนทุกๆ ทาง มีการแข่งขันกีฬาและกรีฑาประจำปี เป็นการหาตัวนักกีฬาเป็นตัวแทนของโรงเรียนซึ่งการแข่งขันจะแบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ

  • ห้อง A สีแดง
  • ห้อง B สีน้ำเงิน
  • ห้อง C สีเหลือง
  • ห้อง D สีเขียว

แบ่งเป็นรุ่นจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ ตามความสูงที่กำหนด โดยจัดเฉพาะโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย เริ่มในปีการศึกษา 2509 อย่างเป็นทางการ ต่อมาเมื่อมีห้องเรียนเพิ่มก็จัดแบ่งเป็น 6 สี ในสมับของภราดาเอ็ดเวิร์ด ปีการศึกษา 2510 ได้จัดการแข่งขันร่วมกับทางโรงเรียนเรยีนาเชลีและโรงเรียนพระหฤทัย รวม 3 โรงเรียน โดยจะพลัดกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันทุกปี

จนกระทั่งถึงสมัยของภราดาบัญญัติ โรจนรุณ ปีการศึกษา 2523 ได้ล้มเลิกการจัดกิจกรรมร่วมกัน และทำการแข่งขันแต่ละโรงเรียนเอง ซึ่งทางโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัยก็ทำการแข่งขันอย่างต่อเนื่องจนถึงบัดนี้

สมัยภราดามีศักดิ์ ว่องประชานุกูล ในปีการศึกษา 2549 ได้รับนักเรียนเพิ่มมากขึ้นในช่วงชั้นที่ 4 เป็นจำนวน 12 ห้องเรียน (รวม EP) ซึ่งต่างกับช่วงชั้นที่ 3 ซึ่งมีเพียง 8 ห้อง (รวม EP) ดังนี้

ห้อง ม.ปลาย สีก่อนปีการศึกษา 2551 สีหลังปีการศึกษา 2551
1 สีเหลือง สีเหลือง
2 สีเขียว สีเขียว
3 สีชมพู สีชมพู
4 สีแดง สีแดง
5 สีม่วง สีม่วง
6 สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน
7 สีแสด สีขาว
8 - สีน้ำตาล
9 - สีแสด
10 และ 11 สีทอง สีทอง
EP สีฟ้า,เงิน (บางปีแยกรวมกับสีอื่น) สีฟ้า
ห้อง ม.ต้น สีก่อนปีการศึกษา 2551 สีหลังปีการศึกษา 2551
1 สีเหลือง สีเหลือง
2 สีเขียว สีเขียว
3 สีชมพู สีชมพู
4 สีแดง สีแดง
5 สีม่วง สีม่วง
6 สีน้ำเงิน สีน้ำเงิน
7 สีแสด สีแสด
EP สีฟ้า,เงิน (บางปีแยกรวมกับสีอื่น) สีฟ้า

บุคคลสำคัญจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย

การเมือง

วิชาการ

กีฬา

บันเทิง

มงฟอร์ตในโลกบันเทิง

ไฟล์:MC MV.jpg
ภาพโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม ในเอ็มวี "ที่สุดของหัวใจ"
  • ในปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำมิวสิกวิดีโอ "ที่สุดของหัวใจ" ขับร้องโดย เรนโบว์ เป็นการแจ้งเกิดในวงการให้แก่ ออย ธนา สุทธิกมลซึ่งเป็นพระเอกในมิวสิกวิดีโอดังกล่าว
  • ในปี พ.ศ. 2539 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยแนววัยรุ่นจาก ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น เรื่อง อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 กำกับและอำนวยการสร้างโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล
  • ในปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกมัธยม ได้ถูกใช้เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ" กำกับโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล โดยเริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2555
  • ในปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย แผนกประถม ได้ถูกใช้เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "คิดถึงวิทยา" กำกับโดย นิธิวัฒน์ ธราธร โดยเริ่มเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

18°46′21″N 99°0′2″E / 18.77250°N 99.00056°E / 18.77250; 99.00056