สะพานหลูผู่

พิกัด: 31°11′26″N 121°28′33″E / 31.19056°N 121.47583°E / 31.19056; 121.47583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานหลูผู่
卢浦大桥
Lupu Bridge
พิกัด31°11′26″N 121°28′33″E / 31.19056°N 121.47583°E / 31.19056; 121.47583
เส้นทาง6 lanes of North–South Elevated Road, 2 pedestrian walkways[1]
ข้ามแม่น้ำหวงผู่
ที่ตั้งเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
เจ้าของShanghai Lupu Bridge Investment Development Co., Ltd.[1]
เหนือน้ำXupu Bridge
ท้ายน้ำNanpu Bridge
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทThrough arch
วัสดุเหล็กกล้า
ความยาว750 m (2,461 ft)[2]
ความกว้าง28.7 m (94 ft)[3]
ความสูง100 m (328 ft)[4]
ช่วงยาวที่สุด550 m (1,804 ft)[2]
เคลียร์ตอนล่าง46 m (151 ft)[3]
ประวัติ
ผู้ออกแบบShanghai Municipal Engineering Design Institute[5]
ผู้สร้างShanghai Foundation Engineering Company of Shanghai Construction Group[1]
วันเริ่มสร้างOctober 2000[6]
งบก่อสร้าง2.5 พันล้าน หยวน (302 ล้านเหรียญสหรัฐ)[2]
เปิดตัวJune 27, 2003[7]
วันเปิดJune 28, 2003[2]
ที่ตั้ง
แผนที่
สะพานหลูผู่ในตอนกลางคืน เมื่อมองจากอาคารเมอร์เซเดส-เบนซ์ (ศาลาประเทศซาอุดิอาระเบีย) ในช่วงงานเอ็กซ์โป 2010
Tourists can climb to the top of the arch and view the bridge from above, as shown in this picture.

สะพานหลูผู่ (จีนตัวย่อ: 卢浦大桥; จีนตัวเต็ม: 盧浦大橋; พินอิน: Lúpǔ Dàqiáo; อังกฤษ: Lupu Bridge) ตั้งชื่อตามเขตหลูวาน เป็นสะพานโค้งข้ามแม่น้ำหวงผู่ในเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เชื่อมระหว่างเขตหวงผู่และผู่ตง และเป็นสะพานโค้งเหล็กที่ยาวที่สุดเป็นอันดับสองของโลก รองจากสะพานเฉาเทียนเหมินในฉงชิ่ง มีความยาวรวมทางขึ้นลง 3,900 ม. (12,795 ฟุต) เปิดใช้บริการเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โครงสร้างโค้งสะพานหลักยาว 750 เมตร ซึ่งรวมช่วงปีกสองข้างของสะพานแต่ละฝั่ง 100 เมตร[8] และส่วนโค้งหลัก 550 เมตร (1,804 ฟุต)[2] สูงเหนือแม่น้ำหวงผู่กว่า 32 เมตร (105 ฟุต) สะพานหลูผู่เคยเป็นสะพานโค้งที่ยาวที่สุดในช่วง 2546-2552 ทำลายสถิติสะพาน New River Gorge ในเมืองฟาเยตต์วิลล์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย[5] สะพานมีมูลค่า 2.5 พันล้านหยวน (302 ล้านเหรียญสหรัฐ)[5][2] แบ่งเป็น 78.04 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงสร้างเหล็กหลักเพียงอย่างเดียว[8] ตั้งอยู่ในบริเวณสถานที่จัดงานเอ็กซ์โป 2010 และทำหน้าที่เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่เป็นหัวใจของงานระดับโลกในเซี่ยงไฮ้

ชื่อ

ชื่อของสะพานหลูผู่ มาจากตัวย่อชื่อของสองเขตในเซี่ยงไฮ้ที่รวมเข้าด้วยกัน ฝั่งเหนือของแม่น้ำเคยขึ้นกับเขตลู่วานจนถึงปี 2011 ปัจจุบันเขตนี้ถูกผนวกรวมกับเขตหวงผู่ แต่สะพานนี้ยังคงชื่อเดิมไว้ ฝั่งใต้ของแม่น้ำขึ้นกับเขตผู่ตงใหม่ ซึ่งเป็นไปตามแบบแผนการตั้งชื่อสะพานที่ข้ามแม่น้ำหวงผู่สามแห่งก่อนหน้า ได้แก่ สะพานหนานผู่ (หนานซี-ผู่ตง), สะพานหยางผู่ (หยางผู่-ผู่ตง) และสะพานสูผู่ (สูฮุ่ย-ผู่ตง)

ประวัติ

สะพานหลูผู่ได้รับการออกแบบเพื่อลดความแออัดของการขนส่งระหว่างพื้นที่ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็วทางด้านใต้ของผู่ซี รวมทั้งการเตรียมรับมือกับการจราจรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงงานเอ็กซ์โป 2010 สะพานตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของพื้นที่จัดงานบนฝั่งผู่ซี และอยู่กลางทางพื้นที่จัดงานบนฝั่งผู่ตง

การก่อสร้างเริ่มในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยใช้วิธีคานยื่นและยึดสายเคเบิลชั่วคราว ใช้เหล็กมากกว่า 35,000 ตันในการก่อสร้าง สะพานโค้งเชื่อมเข้ากันเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2545[2][6] เมื่อสะพานสร้างเสร็จในขณะนั้นเป็นสะพานโค้งที่ยาวที่สุดในโลก แซงหน้าสะพาน New River Gorge ในเมืองฟาเยตต์วิลล์ รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย พิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยมีกลุ่มนักวิ่ง รวมทั้งเหยาหมิง ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ข้ามสะพาน[7] สะพานเปิดให้สัญจรไปมาได้ในวันถัดมา[2]

ในปี พ.ศ. 2552 สะพานหลูผู่เสียสถิติสะพานโค้งที่ยาวที่สุดในโลกให้กับสะพานเฉาเทียนเหมิน ในเมืองฉงชิ่ง[9] ซึ่งสะพานเฉาเทียนเหมินมีความยาวมากกว่าสะพานหลูผู่เพียง 2 เมตร (7 ฟุต) ที่ความยาว 552 เมตร (1,811 ฟุต)[10]

สะพานหลูผู่เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่เป็นหัวใจทางสถาปัตยกรรมของงานเอ็กซ์โป 2010 ในเซี่ยงไฮ้ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งภายในเขตบริเวณการจัดงานทางฝั่งผู่ตงในส่วนฝากตะวันตกของพื้นที่งาน แม้ไม่สามารถเชื่อมต่อภายในโดยตรงทางรถยนต์

การเชื่อมต่อทางถนน

สะพานหลูผู่มีช่องทางจราจร 6 ช่อง ต่อเข้ากับทางยกระดับเหนือ-ใต้ ทางขึ้นสะพานฝั่งผู่ตงที่ถนนเหย้าหฺวาและถนนจี่หยาง

การวิจารณ์

โครงสร้างโค้งของสะพานถูกมองว่าเป็นการใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยเกินกว่าที่ควรเป็น ซึ่งโครงสร้างสะพานแบบอื่นที่แพงน้อยกว่าได้ถูกปฏิเสธด้วยสาเหตุของความต้องการให้สะพานนี้มีความแตกต่างทางทัศนียภาพและเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยสะพานนี้เป็นสะพานแรกที่มีโครงสร้างโค้งข้ามแม่น้ำหวงผู่ต่างจากสะพานอื่นที่เป็นโครงสร้างแบบขึง

แหล่งดึงดูดการท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยวสามารถปีนขึ้นไป สะพานหลูผู่เคยเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่สามารถปีนขึ้นไปบนชั้นสังเกตการณ์บนยอดของโค้งสะพาน เรียก เซี่ยงไฮ้ไคลมป์ (Shanghai Climb) ด้วยการโดยสารลิฟต์ความเร็วสูงหรือปีนขั้นบันได 367 ขั้นตลอดแนวโค้ง ซึ่งเปิดในช่วงเอ็กซ์โป 2010 ปัจจุบันปิดการบริการนี้

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ iabse2
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Lupu Bridge
  3. 3.0 3.1 光纤光栅传感器应用于上海卢浦大桥 เก็บถาวร 2012-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาจีน)
  4. Lupu Bridge Walk เก็บถาวร 2013-02-10 ที่ archive.today
  5. 5.0 5.1 5.2 L. J. H. Ellis, Critical Analysis of the Lupu Bridge in Shanghai เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. 6.0 6.1 Recent development of arch bridges in China เก็บถาวร 2011-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 7.0 7.1 Lupu Bridge Opens - 6/27/03
  8. 8.0 8.1 Biao Ma; Yuanpei Lin; Junjie Zhang (March 2013), Decade Review: Bridge Type Selection and Challenges of Lupu Bridge (PDF), Structural Engineering International, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 August 2014, สืบค้นเมื่อ 3 August 2014
  9. Chongqing completes world's longest arch bridge เก็บถาวร 2011-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. Chaotianmen Bridge เก็บถาวร 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน