นกตีนเทียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกตีนเทียน
H. h. meridionalis (แอฟริกาใต้)
ที่ทะเลสาบอมีนปูร รัฐเตลังคานา อินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Charadriiformes
วงศ์: Recurvirostridae
สกุล: Himantopus
สปีชีส์: H.  himantopus
ระยะกระจายพันธุ์ H. himantopus sensu lato
  ระยะฤดูผสมพันธุ์
  ประจำถิ่น
  ระยะผ่านระหว่างอพยพ
  ระยะนอกฤดูผสมพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Charadrius himantopus Linnaeus, 1758
ไข่ของนกตีนเทียน (H. himantopus) ที่พิพิธภัณฑ์ตูลูส

นกตีนเทียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Himantopus himantopus; อังกฤษ: black-winged stilt) เป็นนกลุยน้ำพบได้ทั่วไปในพื้นที่ภูมิอากาศร้อนถึงอบอุ่น เป็นนกสังคมมักพบเป็นฝูงขนาดเล็ก พบในพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีน้ำตื้นและมักเป็นน้ำกร่อย มีลักษณะเด่นคือ ขายาวมากสีชมพูแดง ปากแหลมบางยาว และสีขนขาวดำตัดกัน นกตีนเทียนจัดอยู่ในวงศ์นกปากงอนและนกตีนเทียน (Recurvirostridae) มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างครอบคลุมไปทั่วตั้งแต่ทวีปยูโรไซบีเรีย และแอฟริกา

ก่อนหน้านี้นกตีนเทียนถูกจัดอย่างกว้างเป็นชนิดเดียวในสกุล (monotype) ในชื่อวิทยาศาสตร์ Himantopus himantopus ซึ่งครอบคลุมหลายชนิดย่อยทั่วโลก (เรียก Himantopus Himantopus Sensu Lato) ชื่อ Himantopus มาจากความหมายภาษากรีก "เท้าที่มีสายรัดหนัง" ปัจจุบันมีการจำแนกชนิดที่เป็นที่ยอมรับออกเป็นอย่างน้อย 2–4 ชนิด[2][3][4][5] ในอดีตบางครั้งยังถูกเรียกว่า "pied stilt" แต่ปัจจุบันชื่อนี้ถูกสงวนไว้สำหรับนกตีนเทียนออสเตรเลีย (Himantopus Leucocephalus)

อนุกรมวิธาน

การจัดจำแนกชนิดของนกตีนเทียนนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ก่อนหน้านี้นกตีนเทียนจัดเป็นชนิดย่อยของนกตีนเทียนธรรมดา (H. himantopus sensu lato หรือบางครั้งเรียก อังกฤษ: common stilt) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในห้าชนิดของสกุลซึ่งแตกต่างกันจากขนาดและตำแหน่งของลายดำ

ในความหมายอย่างกว้างของ H. himantopus (หรือ Himantopus himantopus sensu lato) จัดเป็นหนึ่งชนิดที่ประกอบด้วย 5–7 ชนิดย่อย ซึ่งบางครั้งเรียก นกตีนเทียนธรรมดา (อังกฤษ: common stilt) และในความหมายอย่างแคบของ H. Himantopus (หรือ Himantopus himantopus sensu stricto) หมายถึงนกตีนเทียนปีกดำ (อังกฤษ: black-winged stilt) หรือนกตีนเทียนที่พบในทวีปยูเรเซีย และแอฟริกา รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งมีสองชนิดย่อยคือ H. h. himantopus จาก Palearctic และ H. h. meridionalis จากภูมิภาค แอฟริกาเขตร้อน[6]

ลักษณะทางกายวิภาค

นกตีนเทียนเป็นนกชายเลนขนาดกลาง ตัวโตเต็มวัยมีลำตัวยาว 33–38 เซนติเมตร[7] ปากบางแหลมและยาวตรงสีดำ หัว อก คอ ท้องและลำตัวขาว ปีกและลำตัวด้านบนดำ ขายาวมากสีชมพูแดง มีหน้าแข้งยาวสำหรับเดินลุยเลน มี 4 นิ้ว นิ้วเท้าหลังยกสูง 3 นิ้วเท้าหน้าติดกันเป็นพังผืด ขณะบินจะเหยียดขายาวพ้นหาง[8] ตาสีแดง บางตัวอาจมีแถบสีเทาหรือดำที่หัวและท้ายทอย[9] นกวัยรุ่นปีกสีน้ำตาล

ตัวผู้ หัวและลำตัวขาว ปีกและลำตัวด้านบนดำ บางตัวอาจมีสีดำที่หัวและท้ายทอยรูปแบบแตกต่างกัน อย่างน้อยในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ทุกตัวมีหัวสีขาวล้วน นกตัวเมีย ลำตัวด้านบนดำแกมน้ำตาล หัวและท้ายทอยอาจมีแถบสีเทา นกวัยอ่อน หัวและท้ายทอยน้ำตาลแกมเทา ลำตัวด้านบนและปีกน้ำตาลแกมเทามีลายเกล็ดสีขาวจากขอบบนสีน้ำตาลอ่อน[10] ขาและนิ้วสีชมพูอมส้มอ่อน[11]

การกระจายพันธุ์และถิ่นที่อยู่

แหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มของพื้นที่ภูมิอากาศร้อนถึงอบอุ่น ครอบคลุมไปทั่วโลกตั้งแต่ทวีปยูโรไซบีเรีย และแอฟริกา เคยพบเห็นยากมากในยูโรปเหนือ เขตหนาว และสหราชอาณาจักร[3]

ในสหราชอาณาจักรไม่พบนกตีนเทียนกว่า 27 ปี จนกระทั่งในปี 2557 ที่ประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์ในอังกฤษตอนใต้ในปี 2557[12] และในปี 2560 มีการสำรวจลูกนกจำนวน 13 ตัวในทางตอนใต้ของอังกฤษ[13]

ในประเทศไทย

สามารถพบได้ทุกภาคในประเทศไทย เป็นนกประจำถิ่น และบางส่วนเป็นนกอพยพ[14][15] พบได้บ่อยในแหล่งน้ำเกือบทั่วประเทศทั้งแหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม[5][16] โดยเฉพาะตามหาดเลนและนาเกลือใกล้ชายฝั่งทะเล เป็นนกประจำถิ่นซึ่งทำรังวางไข่ในประเทศไทย[17][18] นกที่พบห่างไกลจากทะเล เช่น ตามภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งเข้ามาสมทบในฤดูหนาวโดยอพยพจากประเทศทางเหนือ[18] พบตามแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น บึง หนองน้ำ ทะเลสาบ อ่างเก็บน้ำ นาข้าว และพื้นที่ชุ่มน้ำ[10]

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

เสียงขณะบินของ H. h. himantopus

นกตีนเทียนพบเห็นง่ายตามแหล่งน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม มีจำนวนมาก เป็นนกสังคมมักพบเป็นฝูงขนาดเล็ก[15] มีเสียงร้อง "กิ๊ก-กิ๊ก-กิ๊ก"[10]

การผสมพันธุ์

ผสมพันธุ์และทำรังในช่วงฤดูร้อนจนถึงต้นฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม–สิงหาคมในบึงบอระเพ็ด[7] และทั่วไปในเดือนเมษายน–มิถุนายน[11]) ทำรังตามพื้นดินใกล้แหล่งน้ำเช่นเดียวกับนกน้ำอื่นที่ทำรังบนพื้นดิน นกตีนเทียนมักทำรังอยู่ใกล้กันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ (semi-colonial) แต่ละรังจะห่างกันประมาณ 5-6 เมตร[11] โดยการขุดให้เป็นแอ่งหลุมตื้น ปูรองด้วยใบหญ้าใบพืชแห้ง กิ่งไม้ ก้านบัว เปลือกหอยสองฝา แต่ไม่มากนักเพื่อวางไข่[19] มักจะทำรังอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำที่ใช้หากิน ไข่มีสีพื้นเป็นสีเขียวเข้ม หรือสีน้ำตาลอมเขียว มีจุดหรือลายสีเขียวเข้ม ดำ หรือสีน้ำตาลแดง ในแต่ละรังมีไข่ 3–4 ฟอง ความกว้างเฉลี่ย 3.0 เซนติเมตร ยาวเฉลี่ย 4.1 เซนติเมตร หนักเฉลี่ย 19.8 กรัม[19] นกตัวผู้และตัวเมียผลัดกันฟักไข่ตลอดทั้งวัน โดยมีพฤติกรรมการรักษาอุณหภูมิไข่ด้วยการนำตัวไปจุ่มน้ำแล้วมาฟักไข่[19] ระยะเวลาฟัก 25–26 วัน[7][18]

นกตีนเทียนมีพฤติกรรมแกล้งบาดเจ็บคล้ายนกนกชายเลนอีกหลายชนิด ในการหลอกล่อสัตว์นักล่าที่เข้ามาใกล้รังให้ถอยออกไป โดยมันจะบินส่งเสียงร้อง และร่อนถลาลงมาแกล้งทำท่า "ปีกหัก" บนพื้นในจุดที่ห่างออกไปจากรัง เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจศัตรูให้ตามไป[11][18]

ลูกนกเมื่อออกจากไข่แล้ว สามารถออกหากินตามพ่อแม่นกได้ทันที[19] และอยู่กับพ่อนกแม่นกไปจนกระทั่งอายุ 35-40 วัน ที่ลูกนกโตเต็มวัย[11]

การหาอาหาร

หากินตอนกลางวันตามชายฝั่งทะเลที่มีน้ำท่วมขัง หรือหาดเลน นกตีนเทียนใช้ปากที่เรียวยาวคล้ายเข็มทำหน้าที่เป็นตัวคีบจับสัตว์น้ำขนาดเล็กกินเป็นอาหาร[18] กินสัตว์ขนาดเล็กที่หน้าดินเช่น ลูกปู ตัวอ่อนของแมลงน้ำ[8] และหนอนที่ฝังตัวอยู่ในดินและใต้น้ำ[7][18]

ชนิดที่คล้ายกัน

ชนิดที่คล้ายกัน
นกตีนเทียน นกตีนเทียนอเมริกาใต้

หรือ นกตีนเทียนหลังคาดขาว

นกตีนเทียนหัวขาว นกตีนเทียนเมกซิโก

หรือ นกตีนเทียนคอดำ

นกตีนเทียนฮาวาย นกตีนเทียนดำ นกตีนเทียนออสเตรเลีย
Himantopus himantopus

black-winged stilt

Himantopus melanurus

white-backed stilt

Himantopus leucocephalus

pied stilt

Himantopus mexicanus

black-necked stilt

Himantopus mexicanus knudseni

Hawaiian stilt

Himantopus novaezelandiae

black stilt

Cladorhynchus leucocephalus

banded stilt

หัวขาวล้วน หรือมีสีดำประประายบนหัวและท้ายทอย หน้าผากขาว คอขาว ท้ายทอยดำไปจนถึงคอ

มีแถบขาวคาดกลางหลังระหว่างคอกับหลัง

หัวขาวล้วน ท้ายทอยดำจรดหลังคอ หัวและท้ายทอยดำ คอขาว คิ้วเป็นแต้มขาว บางครั้งจัดเป็นชนิดย่อยของ

H. mexicanus

สีดำล้วน หรือมีสีขาวรอบจะงอยปากเท่านั้น
นกประจำถิ่นของประเทศไทย

นกอพยพบางส่วน

ไม่พบในประเทศไทย

อาศัยในบราซิล เปรู อาร์เจนตินา

ไม่พบในประเทศไทย ไม่พบในประเทศไทย

อาศัยในเม็กซิโกและอเมริกากลาง

บางส่วนทับซ้อนกับ H. melanurus

ในบราซิล

ไม่พบในประเทศไทย

เป็นนกเฉพาะถิ่นของหมู่เกาะฮาวาย

ไม่พบในประเทศไทย

เป็นนกเฉพาะถิ่นของนิวซีแลนด์

ไม่พบในประเทศไทย

เป็นนกเฉพาะถิ่นของออสเตรเลีย

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2016). "Himantopus himantopus". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T22727969A86541570. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22727969A86541570.en.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "The IUCN Red List of Threatened Species". IUCN Red List of Threatened Species.
  3. 3.0 3.1 "นกตีนเทียน - eBird". ebird.org.
  4. "Himantopus melanurus (White-backed Stilt) - Avibase". avibase.bsc-eoc.org.
  5. 5.0 5.1 "Himantopus himantopus, Black-winged stilt". Thai National Parks (ภาษาอังกฤษ).
  6. "Black-winged Stilt Himantopus himantopus (Linnaeus, 1758)". Avibase. Denis Lepage. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "ข้อมูลนกบึงบอระเพ็ด". 123.242.166.5.
  8. 8.0 8.1 "นกตีนเทียน (Black-winged Stilt) - กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง Department of Marine and Coastal Resources, Thailand". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
  9. "สัตว์". biodiversity.forest.go.th.
  10. 10.0 10.1 10.2 "นกตีนเทียน Black-winged Stilt ( Himantopus himantopus (Linnaeus, 1758) )". www.lowernorthernbird.com.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 วิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชน : นกตีนเทียน Black-winged Stilt. แนวหน้า. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564.
  12. RSPB. "27-year first as rare black-winged stilt chicks hatch at RSPB reserves in southern England". RSPB Website. สืบค้นเมื่อ 16 November 2015.
  13. "UK's rare black-winged stilt numbers soar". Countryfile Magazine. BBC. สืบค้นเมื่อ 20 August 2017.
  14. "นกตีนเทียน Black-winged Stilt – ภาพถ่ายนกทุกชนิดที่พบในประเทศไทย".
  15. 15.0 15.1 "นกตีนเทียน Black-winged Stilt". Birds of Thailand: Siam Avifauna.
  16. "Species: Himantopus himantopus". กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม.
  17. รุ่งโรจน์ จุกมงคล. นกชายเลนในอ่าวไทยตอนในวัฏจักรและชะตาชีวิตบนหาดเลน. สารคดี, 2001. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2564.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 "นกตีนเทียน (Black-winged Stilt)". www.enac-club.com.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 อภิษฎา เรืองเกตุ, ประทีป ด้วงแค, ไกรรัตน์ เอี่ยมอำไพ และดอกรัก มารอด. (2556). ชีววิทยาการสืบพันธ์ุบางประการของนกตีนเทียน (Himantopus himantopus) บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์.