เทียนทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทียนทะเล หรือ เทียนเล (Pemphis acidula) ในภาษาอังกฤษรู้จักกันในชื่อ bantigue (pron. bahn-tee-geh ) หรือ mentigi, เป็น พืชดอก ในวงศ์ Lythraceae เป็นพืชทนเค็ม พบได้ทั่วไปตามแนวป่าชายเลน ในเขตร้อนแถบ อินโด - แปซิฟิกที่เติบโตบนชายฝั่งหิน เทียนทะเล เป็นพืชที่ถูกจำแนกอยู่มีเพียงสปีชีส์เดียวในสกุล Pemphis (โดยมีการอธิบายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2318) มานาน จนเรียกได้เป็นชนิดต้นแบบ ของ Pemphis จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้พบว่าน่าจะนี้มีอย่างน้อยหนึ่งชนิด


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เทียนทะเล ชื่อวิทยาศาสตร์ Pemphis acidula J.R. Forst. จัดเป็นไม้ชนิดเดียวในสกุล Pemphis ที่พบในเมืองไทย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 8 เมตร แต่บางต้นอาจสูงได้ถึง 11 เมตร ลำต้นเป็นปุ่มปม แตกกิ่งแขนงจำนวนมาก ลำต้นมักบิดงอเนื่องมาจากแรงลม บางครั้งพบลำต้นมีลักษณะเลื้อย แคระ สูงเพียง 15 เซนติเมตร และต้นที่มีอายุมากผิวของลำต้นมักแห้งตายเป็นหย่อม ๆ

ใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ใบขนาดเล็ก ค่อนข้างอวบน้ำ

ดอกสีขาวออกตามซอกใบ กลีบดอก 6 กลีบ กลีบดอกรูปขอบขนาน ฐานรองดอกเป็นรูปถ้วยปากแตรสีเขียว บางครั้งปนแดง

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็วและสามารถสร้างรากและตาใหม่ได้เร็วมาก มักเริ่มออกดอกและออกเมล็ดเมื่อสูงประมาณ 1-4 เมตร

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่

เทียนทะเล เป็น พืชทนเค็ม (halophyte) พุ่มไม้ที่พบได้ตามแนวชายฝั่ง ในเขตร้อนแถบอินโด-แปซิฟิก เป็นไม้พุ่มที่เจริญเติบโตในดินทราย ดินเหนียว และหินปูนของ โซนฝั่งทะเล ของ มหาสมุทรอินเดีย และตะวันตกและภาคกลางของ มหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้ยังพบในแนวป่าชายเลน (ป่าโกงกาง)

ในประเทศไทยพบได้ในป่าชายเลนตามป่าชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ที่ผ่านมาผู้คนนิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับและบอนไซ ในระดับโลกจะพบเห็นได้ง่ายตามหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิก

แต่ในบางพื้นที่พบว่ามีจำนวนประชากรลดลงอย่างมาก เนื่องจากการขยายพื้นที่อยู่อาศัยรุกรานพื้นที่ป่าธรรมชาติ และที่เร่งการสูญพันธุ์คือการขุดไปค้าขายทำบอนไซ

การใช้ประโยชน์

ไม้ของสายพันธุ์นี้มีคุณค่าตามประเพณีในหลายวัฒนธรรมเนื่องจากมีความแข็งและหนักรวมทั้งทนทานต่อการเน่า และการบิดโก่งตัว (ความแปรปรวนของรูปทรง) เนื่อไม้มี ผิวละเอียดตามธรรมชาติและอาจใช้เป็นไม้เท้า เสารั้ว มือจับอุปกรณ์เครื่องมือ และแม้แต่ พุก ในเมือง Réunion และ ประเทศมอริเชียส เป็นที่รู้จักกันในชื่อ bois matelot [1] ใน มัลดีฟส์ ไม้เนื้อแข็งชนิดนี้ถูกใช้ในการ ต่อเรือ แบบดั้งเดิมเพื่อยึดแผ่นไม้ของตัวเรือเข้าด้วยกันรวมถึง "ตะปูทำคุณไสย" ในพิธีไสยศาสตร์ท้องถิ่น [2]

Pemphis acidula เป็นหนึ่งในพันธุ์ไม้ที่ใช้ใน บอนไซ เนื่องจากความชื่นชอบในเขตร้อนและความต้านทานต่อ พายุไต้ฝุ่น จึงเป็นพันธุ์ที่พบมากที่สุดสำหรับบอนไซใน ฟิลิปปินส์ แต่ยังปลูกเป็นบอนไซใน ไต้หวัน และ หมู่เกาะริวกิว ของ ญี่ปุ่น เนื่องจากได้รับความนิยมและมีมูลค่าสูงในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบบอนไซจึงเป็นหนึ่งในรายชื่อสายพันธุ์ที่ถูกจัดอยู่ในประเภท 'คุกคาม' โดย กรมสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ของฟิลิปปินส์ การรวบรวมการขายและการขนส่ง Pemphis acidula ป่าเป็นสิ่งผิดกฎหมายในฟิลิปปินส์และมีโทษปรับและจำคุกไม่เกินหกปี

ใน เกาะ Marovo, ตองกา, ตาฮิติ และ หมู่เกาะ อื่น ๆ ใน มหาสมุทรแปซิฟิกใต้ ใช้ทำเครื่องมือไม้เช่นสากด้ามเครื่องมืออาวุธและหวี [3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

Pemphis acidula พุ่มไม้หลังทุ่งหญ้าแห้งใน เกาะยูโรปา
ดอกไม้และผลไม้ Pemphis acidula ใน ไอตุตากี หมู่เกาะคุก
ดอกไม้และใบอ่อนระยะใกล้ ตองกา

อ้างอิง

  1. xycol.net Pemphis acidula J.R. Forst., 1775 - Nom pilote : miki miki
  2. Xavier Romero-Frias, The Maldive Islanders, A Study of the Popular Culture of an Ancient Ocean Kingdom. NEI (1999), ISBN 84-7254-801-5
  3. Pawley, Andrew; Osmond, Meredith (eds). 2008. The lexicon of Proto Oceanic: The culture and environment of ancestral Oceanic society. Volume 3: Plants. Pacific Linguistics 599. Canberra: Pacific Linguistics, Australian National University.

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "tpl" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "ipni2" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "cck" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า
อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "cjp" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า

อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ชื่อ "fao" ซึ่งนิยามใน <references> ไม่ถูกใช้ในข้อความก่อนหน้า