ซาลาเปา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาลาเปา
ซาลาเปาไส้ต่าง ๆ
ประเภทอาหารจีน
แหล่งกำเนิดจีน
อุณหภูมิเสิร์ฟร้อน
ส่วนผสมหลักแป้งสาลี ผงฟู เนยขาว น้ำตาลทราย เกลือ
ซาลาเปา
คำว่า ซาลาเปา เมื่อเขียนด้วยอักษรจีน
ภาษาจีน包子
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
ภาษาจีน

ซาลาเปา ภาษาจีนเรียก เปาจึ (包子) หรือ เปา (包) เป็นอาหารทำด้วยแป้งปั้นเป็นลูก ใส่ไส้ต่าง ๆ เช่น เนื้อหรือผัก แล้วนึ่งให้สุก แต่ปัจจุบันอาจใช้วิธีอื่น เช่น ทอด ในวัฒนธรรมจีนยังมีอาหารที่คล้ายคลึงกันแต่ไม่ใส่ไส้ คือ หมั่นโถว

ซาลาเปา

ในประเทศจีน เปาจึแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ ต้าเปา (大包; "เปาใหญ่") มักมีขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร และนิยมซื้อกลับไปรับประทานที่บ้าน กับ เสี่ยวเปา (小包; "เปาน้อย") มักมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร และนิยมรับประทานที่ร้านอาหาร

เชื่อกันว่า จูกัดเหลียง (諸葛亮) ขุนนางจีนสมัยสามก๊ก คิดค้นหมั่นโถวและเปาจึขึ้น[1] โดยเดิมเรียกหมั่นโถวเหมือนกัน ครั้นสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ มีบันทึกคำว่า "เปา" หรือ "เปาจึ" ใช้เรียกหมั่นโถวแบบใส่ไส้ ดังนั้น เปาจึจึงใช้เรียกมาตั้งแต่สมัยซ่งเหนือเป็นอย่างน้อย[2] ปัจจุบัน ในภาษาจีนมาตรฐาน หมั่นโถวใช้เรียกประเภทที่ไม่ใส่ไส้แต่ประเภทเดียว แต่ในภาษาถิ่น เช่น ภาษาอู๋ (吳語) ยังเรียกทั้งที่ใส่ไส้และไม่ใส่ไส้ว่าหมั่นโถว

ซาลาเปานิยมนับเป็นส่วนหนึ่งของชุดอาหารติ่มซำ และรับประทานได้ในทุกมื้ออาหาร[3]

ที่ฟิลิปปินส์ก็นิยมรับประทานซาลาเปา โดยเรียกว่า "เชาเปา" (燒包)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 周达观(). 诚斋杂记. 孔明征孟获。人曰:蛮地多邪,用人首祭神,则出兵利。孔明杂以羊豕之内,以面包之,以像人头。此为馒头之始。
  2. 王栐(北宋). 燕翼冶谋录. “仁宗诞日,赐群臣包子。”包子下注“即馒头别名。”、“今俗屑发酵,或有馅,或无馅,蒸食之者,都谓之馒头。”
  3. "Salapao – Chinese Steamed Buns". thaizer.com/. January 15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-27. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.
  4. Robert Colinares (September 30, 2008). "Siopao (Steam Buns)". filipino-food-lovers.com. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]