พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
ทิวทัศน์ของพิพิธภัณฑ์ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก | |
วันที่เปิด | 20 ตุลาคม ค.ศ. 1984[1] |
---|---|
ที่ตั้ง | มอนเทอเรย์, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา |
พิกัด | 36°37′06″N 121°54′05″W / 36.618253°N 121.901481°W |
จำนวนสัตว์ | 35,000[2] |
จำนวนสปีชีส์ | 623 (พืชและสัตว์ในปี ค.ศ. 2005) [2] |
ปริมาตรตู้ใหญ่ | 4,500,000 ลิตร |
จำนวนนักท่องเที่ยวต่อปี | 1.8 ล้านคน[1] |
สมาชิกภาพ | AZA[3] |
เว็บไซต์ | www |
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ ตั้งอยู่ที่บริเวณที่เคยเป็นโรงงานผลิตปลาซาร์ดีนกระป๋องบนแคนเนอร์รีโรว์ (Cannery Row) แนวชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในเมืองมอนเทอเรย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย มีผู้เข้าชมปีละ 1.8 ล้านคน จัดแสดงพืชและสัตว์รวม 35,000 ตัวอย่าง จาก 623 ชนิด มีการหมุนเวียนน้ำทะเลในพิพิธภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพโดยสูบน้ำจากอ่าวมอนเทอเรย์เข้ามาตามท่อเข้าสู่พิพิธภัณฑ์
ภายในพิพิธภัณฑ์มีตู้จัดแสดงสิ่งมีชีวิตมากมาย แต่มีอยู่สองตู้ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษ คือ ตู้สูง 10 เมตร ปริมาตร 1.3 ล้านลิตรที่ตั้งอยู่กลาง Ocean's Edge Wing สำหรับจัดแสดงสิ่งมีชีวิตตามชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย ในตู้นี้มีเคลพยักษ์ ซึ่งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแห่งแรกที่สามารถเพาะเลี้ยงเคลพยักษ์ได้ โดยใช้เครื่องกำเนิดคลื่นที่อยู่ด้านบนสุดของตู้ (การเคลื่อนไหวของน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการเพาะเลี้ยงเคลพยักษ์ ที่จะดึงสารอาหารจากน้ำโดยรอบและน้ำต้องขุ่น) ด้านบนตู้เปิดรับแสงอาทิตย์ และหมุนเวียนน้ำทะเลจากอ่าวเข้ามา อีกตู้หนึ่งคือ ตู้ปริมาตร 4.5 ล้านลิตรในปีกอาคารนอกอ่าว (Outer Bay Wing) ที่มีกระจกแผ่นเดี่ยวที่ใหญ่ที่สุดแผ่นหนึ่งในโลก (ความจริงแล้วเป็นกระจกห้าแผ่นต่อเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่น) [4]
ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ เช่น กระเบน แมงกะพรุน นากทะเล กุ้งมังกร อายุกว่า 50 ปี และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่พบในท้องถิ่น ซึ่งสามารถชมได้ทั้งจากด้านบนหรือใต้ระดับน้ำ ในการจัดแสดงแมงกะพรุนนั้น พิพิธภัณฑ์ได้ใช้ตู้ที่เรียกว่า Kreisel tank ที่สร้างกระแสน้ำไหลเวียนเพื่อให้แมงกะพรุนสามารถลอยตัวอยู่ได้ ผู้เข้าชมสามารถชมสิ่งมีชีวิตในป่าเครพได้จากชั้นต่าง ๆ ของอาคาร และในพิพิธภัณฑ์ไม่จัดแสดงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ นอกจากนาก
ประวัติ
[แก้]อาคารเดิมของพิพิธภัณฑ์ออกแบบโดยบริษัท Esherick Homsey Dodge & Davis และเปิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2527 จุดมุ่งหมายของพิพธภัณฑ์คือ "สร้างแรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ทะเล" แรกเริ่มนั้นได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก David Packrd ผู้ร่วมก่อตั้ง ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และในฐานะที่เป็นช่างตีเหล็ก Packard ยังได้ออกแบบและสร้างส่วนการจัดแสดงต่าง ๆ สำหรับพิพิธภัณฑ์ที่โรงตีเหล็กของตนที่ Big Sur รวมทั้งสร้าง Wave machine สำหรับ Kelp forest และกรงนก ปัจจุบัน Julie Packard ลูกสาวของ Packard ซึ่งเป็นนักชีววิทยาทางทะเล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหารของพิพิธภัณฑ์
การออกแบบขั้นพื้นฐาน
[แก้]ในขั้นตอนการออกแบบขั้นพื้นฐานของพิพิธภัณฑ์ ได้ดำเนินการสูบน้ำทะเลจากอ่าวมอนเทอเรย์ตลอดทั้งวัน ด้วยอัตรา 2,000 แกลลอนต่อนาที สำหรับตู้จัดแสดงกว่า 100 ตู้ ในเวลากลางวันน้ำจะถูกกรองให้ใสขึ้น ขณะที่เวลากลางคืน น้ำทะเลดิบที่ยังไม่ผ่านการกรองจะถูกสูบเข้ามาในตู้ต่าง ๆ เพื่อนำแพลงก์ตอนเข้ามาสำหรับเป็นอาหารสัตว์ น้ำทะเลที่ใช้แล้วจากพิพิธภัณฑ์จะไหลลงสู่อ่าว การออกแบบลักษณะนี้พิพิธภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวในเชิงนิเวศวิทยา และทำให้สามารถเพาะเลี้ยงสิ่งมีชีวิตอย่าง Giant kelp ซึ่งปกติแล้วไม่สามารถเพาะเลี้ยงพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเลทั่วไปได้
Newer exhibits
[แก้]เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์ได้เปิด Outer Bay wing สำหรับจัดแสดงระบบนิเวศทะเลเปิดของ Monterey's Outer Bay ซึ่งนอกจากจะมีตู้ขนาดล้านแกลลอนแล้ว ยังมีตู้รูปวงแหวนแสดงฝูงปลาในวงศ์ปลาแมว 3,000 ตัว (ปลาที่เคยเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจของ Monterey) ว่ายทวนกระแสน้ำ
ส่วน Outer Bay เปิดให้เข้าชมเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เป็นส่วนที่จัดแสดงฉลามขาวยักษ์เพศเมีย ซึ่งนับเป็นตัวแรกที่สามารถนำมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำได้ ฉลามตัวนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์เป็นเวลา 198 วัน และถูกปล่อยไปเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2548 หลังจากกัด Soupfin shark สองตัวในตู้เดียวกัน ซึ่งทั้งสองตัวได้ตายลงในเวลาต่อมา เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เชื่อว่าฉลามอาจแสดงออกเช่นนั้นเพื่อปกป้องอาณาเขตเนื่องจากไม่ได้มีท่าทีว่าจะกินฉลามอีกสองตัวเลย เมื่อเย็นวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549 พิพิธภัณฑ์ได้นำฉลามขาวเพศผู้ที่ยังไม่โตเต็มที่เข้ามาจัดแสดงในส่วน Outer Bay ฉลามตัวนี้ถูกจับมาจากนอกอ่าว Santa Monica เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม[5] และถูกปล่อยไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2550 ในระหว่างที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ฉลามตัวนี้เจริญเติบโตขึ้นจากความยาว 5-foot-8 และน้ำหนัก 103 ปอนด์ เป็นความยาว 6-foot-5 และน้ำหนัก 171 ปอนด์ ข้อมูลจากฉลามขาวตัวที่สองนี้ถูกส่งกับมาที่เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์จาก pop-off satellite tag หลังจากปล่อยไป 90 วัน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550 พิพิธภัณฑ์ได้นำฉลามขาวมาจัดแสดงเป็นตัวที่สาม ซึ่งเป็นเพศผู้ที่ยังไม่โตเต็มที่เช่นเดียวกับตัวที่สอง ขนาดตัวยาว 4 ฟุต 9 นิ้ว และหนัก 67.5 ปอนด์ โดยถูกจับหลังจากติดอยู่กับเครื่องจับสัตว์น้ำเช่นเดียวกับฉลามเพศเมียตัวแรก และเคยอยู่ใน ocean holding pen นอกฝั่งมาลิบู ทางใต้ของแคลิฟอร์เนีย เพื่อเฝ้าสังเกตว่าสามารถกินอาหารและว่ายน้ำในพื้นที่จำกัดได้ดีหรือไม่ ต่อมาได้ปล่อยไปเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ฉลามขาวตัวที่สี่เป็นเพศเมีย จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2551 และถูกปล่อยไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากกินอาหารได้น้อย[6] และเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ก็ได้นำฉลามขาวเพศเมียอีกตัวหนึ่งมาจัดแสดงในส่วน Outer Bay และมีรายงานว่าการจัดแสดงเป็นไปอย่างเรียบร้อย[7]
เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 พิพิธภัณฑ์ได้เปิดตู้จัดแสดงนกเพนกวินเพิ่มเติมจากตู้จัดแสดงนากทะเลที่เป็นที่นิยมแล้ว โดยได้นกเพนกวิน 19 ตัวมาจาก Aquarium of the Americas ในนิวออร์ลีนส์ พร้อมกับนากทะเลอีกสองตัว หลังจากพิพิธภัณฑ์เสียหายอย่างหนักจากพายุเฮอร์ริเคน Katrina
ในบรรดาส่วนจัดแสดงต่าง ๆ มีตู้ขนาดใหญ่อยู่สามตู้ ได้แก่
Monterey Bay Habitats
[แก้]เป็นตู้ทรงนาฬิกาทราย ยาวกว่า 27 เมตร บรรจุน้ำ 350,000 แกลลอน มีกระจกหน้าต่างอะคริลิกหนา 3-4 นิ้ว จัดแสดงระบบนิเวศแบบต่าง ๆ ในอ่าว Monterey ทั้งแนวปะการัง โขดหิน ผิวทะเล พื้นทรายก้นทะเล เป็นต้น ตู้ทรงนาฬิกาทรายทำให้ฉลามขนาดใหญ่ในตู้สามารถว่ายน้ำได้อย่างสะดวก
ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : California halibut, Broadnose sevengill shark, White sturgeon, Common murre
Kelp Forest
[แก้]เป็นตู้สูง 8.40 เมตร ซึ่งเป็นตู้แสดงสัตว์น้ำที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเป็นตู้แสดงระบบนิเวศแบบ Kelp forest แห่งแรกของโลก จัดแสดง Giant kelp และสัตว์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ Kelp forest ออกแบบให้สามารถรับชมได้เหมือนมุมมองของนักดำน้ำจากกระจกอะคริลิกหนา 7.25 นิ้ว กว้าง 2.4 เมตร สูง 4.8 เมตร และหนักแผ่นละ 2.8 ตัน นำมาต่อกันเป็นหน้าต่าง ด้านบนตู้เปิดให้ได้รับแสงอาทิตย์ มีระบบสูบน้ำทะเลเข้ามาในตู้ด้วยอัตรา 2,000 แกลลอนต่อนาที และมีระบบกรองน้ำที่สูบเข้ามาในเวลากลางวัน ขณะที่เวลากลางคืนระบบกรองจะไม่ทำงาน
ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : Leopard shark, Pacific sardine, California sheephead, Cabezon, Rockfish
Outer Bay
[แก้]เป็นตู้ที่ใหญ่ที่สุดในพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลเปิด มีหน้าต่างกระจกยาว 16.95 เมตร สูง 5.10 เมตร หนา 13 นิ้ว และหนัก 78,000 ปอนด์ จัดเป็นหนึ่งในกระจกหน้าต่างที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถชมได้จากชั้นต่าง ๆ สามชั้นของอาคาร แต่ละวันจะมีน้ำหมุนเวีนในตู้ประมาณ 1.3 ล้านแกลลอน โดยเป็นน้ำทะเลจากทะเลโดยตรง 80,000 แกลลอน ที่เหลือเป็นน้ำที่ใช้แล้วที่กรองแล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ แต่น้ำปริมาณ 1 ใน 3 จะอยู่ด้านหลังผนังรูปโค้งที่ทำจากฉนวนใยแก้ว ผนังนี้ทำให้เกิดมุมมองจากกระจกหน้าต่างอย่างลื่นไหลเหมือนไม่มีผนังด้านหลัง น้ำในตู้ถูกควบคุมให้มีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 20 องศาเซลเซียสเสมอ ซึ่งสูงกว่าน้ำในอ่าว Monterey เวลากลางคืนท่อใต้กระจกหน้าต่างจะปล่อยฟองอากาศออกมาปกคลุมที่กระจก เพื่อให้ปลาในตู้สามารถมองเห็นกระจกและไม่ว่ายชนกระจกเมื่อแสงไฟในพิพิธภัณฑ์เปิดขึ้นในเวลาทำความสะอาด
ตัวอย่างสัตว์ที่จัดแสดง : ปลาพระอาทิตย์, Pelagic ray, Scalloped hammerhead shark, Moon jellyfish, Pacific bluefin tuna
การวิจัยทางทะเล
[แก้]พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ Monterey Bay Aquarium Research Institute (MBARI) ซึ่งตั้งอยู่ที่ Moss Landing แคลิฟอร์เนีย ที่ส่วนต้นของ Monterey Canyon มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากการวิจัยสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกและงานวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวกับชีววิทยาทางทะเล[8] อ่าว Monterey อยู่ในเขต Monterey Bay National Marine Sanctuary (MBNMS) ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล (เทียบเท่ากับอุทยานแห่งชาติทางทะเล) นอกชายฝั่งแคลิฟอร์เนียตอนกลาง
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์เป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเพียงแห่งเดียวในโลกที่มีฉลามขาวยักษ์ไว้ในครอบครองเกิน 16 วัน ทางพิพิธภัณฑ์ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงฉลามขาวที่ยังไม่โตเต็มที่ในหลาย ๆ ครั้ง และเจ้าหน้าที่ได้พัฒนากระบวนการจับ จัดแสดง ขนส่ง และปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ให้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น ฉลามขาวแต่ละตัวจะถูกติด Tag ก่อนปล่อยออกสู่ทะเล โดยสาเหตุที่ต้องปล่อยอาจเนื่องมาจากเริ่มล่าสัตว์อื่น ๆ ในตู้เดียวกัน หรือจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายเพื่อความปลอดภัยในการปล่อยออกสู่ทะเล
การระดมทุน
[แก้]แรกเริ่มนั้นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ได้รับบริจาคเงินทุนจาก มูลนิธิ David and Lucile Packard ซึ่งได้สนับสนุนพิพิธภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง ทุนดำเนินงานนั้นครอบคลุมทั้งค่าเข้าชม ค่าธรรมเนียม Special event และค่าธรรมเนียมสมาชิก[9] การจัดองค์กรภายในพิพิธภัณฑ์ได้แบ่งออกเป็นสามหน่วยงาน ได้แก่ มูลนิธิพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Monterey Bay, the Support Services และ the Research Institue ที่ดำเนินงานเรือเดินสมุทรสามลำสำหรับงานวิจัย
Cultural references
[แก้]พิพิธภัณฑ์ได้ปรากฏในภาพยนตร์ Star Trek IV: The Voyager Home เมื่อ พ.ศ. 2529 ซึ่งได้สมมติเป็น Cetacean Institute ใน Sausalito มีการใช้เทคนิคพิเศษเพื่อจำลองอาคารพิพิธภัณฑ์ให้เป็นตู้เลี้ยงวาฬหลังค่อมสองตัว
ในภาพยนตร์ Lemony Snicket's A Series of Unfortunate Events ตัวละครชื่อ Stephano ทำงานเกี่ยวกับงูทะเลอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นี้ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วพิพิธภัณฑ์นี้ไม่มีงูทะเลอยู่เลย
พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ถัดจากบ้านและ lab (Pacific Biological Laboratories) ของ Ed Ricketts นักชีววิทยาสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล ซึ่งยังคงตั้งอยู่ในปัจจุบัน Ricketts มีชื่อเสียงในฐานะ "Doc" แห่ง Cannery Row ของ John Steinbeck ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ ของ Ricketts อย่างเช่นหนังสือบางเล่ม และในร้านค้ายังจำหน่ายส่วนหนึ่งของ Monterey and Steinbeck books
ทีมผู้สร้าง The Penguins of Madagascar ได้กล่าวว่า นากที่ชื่อว่า Marlene ได้ถูกย้ายจากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์มายัง New York city zoo
Gallery
[แก้]-
ทางเข้าด้านหน้าพิพิธภัณฑ์
-
Surface supplied diver พูดคุยกับผู้เข้าชมขณะกำลังให้อาหารปลา
-
ฝูงปลาในส่วน Outer Bay
-
Spotted Jellies. (Mastigias papua)
-
Spotted Jellyfish (Mastigias papua) ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์
-
Flower Hat Jellyfish (Olindias formosa) สิ่งมีชีวิตที่สวยงามอีกชนิดหนึ่งในส่วน Jelly: Living Art
-
Sea nettle Jellyfish (Chrysaora quinquecirrha)
-
แมงกะพรุนเมดิเตอร์เรเนียน (Cotylorhiza tuberculata)
-
แมงกะพรุนเมดิเตอร์เรเนียน (Cotylorhiza tuberculata)
-
นากทะเลที่เป็นที่นิยมในพิพิธภัณฑ์
-
Huge display window at Outer Bay exhibit
-
ปลาพระอาทิตย์ขนาดใหญ่
-
Rockfish (Sebastidae) ว่ายรอบ ๆ kelp forest
-
ปากกาทะเลสีแสด (Ptilosarcus gurneyi)
-
A sanderling (Calidris alba) ยืนด้วยขาข้างเดียวในกรงนก
-
Blackfooted penguins ใน Splash Zone
-
ตู้แสดง Kelp forest ความสูง 10 เมตร
-
ส่วนหนึ่งของกรงนกในพิพิธภัณฑ์
-
ตู้แสดง Kelp forest มองจากชั้นสอง
-
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ มองออกไปเห็นมหาสมุทรแปซิฟิก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อFAQ
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ2005_press_kit
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อaza_list
- ↑ [1] เก็บถาวร 2013-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Official website FAQ. Accessed July 22, 2009.
- ↑ Second great white shark introduced เก็บถาวร 2008-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at San Francisco Chronicle
- ↑ Monterey Bay Aquarium. White Sharks on Exhibit. เก็บถาวร 2009-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ SeaNotes, Monterey Bay Aquarium. Red Herrings and White Elephants เก็บถาวร 2012-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. September 25, 2009
- ↑ "About MBARI". August 26, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.
- ↑ "An Inside Look at Monterey Bay Aquarium". Salmon Facts. December 18, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-01-02.