พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน

พิกัด: 31°11′11″N 121°29′24″E / 31.18639°N 121.49000°E / 31.18639; 121.49000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน
中华艺术宫
China Art Museum
China Art Museum
สถานที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน ภายในอาคารศาลาประเทศจีนเดิมของงานเอ็กซ์โป 2010
พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนตั้งอยู่ในShanghai
พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน
ที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน ในเซี่ยงไฮ้
ก่อตั้งพ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) ในชื่อ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้
พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2012) ในชื่อ พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน
ที่ตั้งผู่ตง เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน
พิกัดภูมิศาสตร์31°11′11″N 121°29′24″E / 31.18639°N 121.49000°E / 31.18639; 121.49000
จำนวนผู้เยี่ยมชม2.55 ล้าน (2017)[1]
ผู้อำนวยการShi Dawei (施大畏)[2]
ขนส่งมวลชนสถานีพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน เซี่ยงไฮ้เมโทร สาย 8
เว็บไซต์www.sh-artmuseum.org.cn

พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน หรือที่เรียกว่า วังศิลปะจีน (จีนตัวย่อ: 中华艺术宫; จีนตัวเต็ม: 中華藝術宮; พินอิน: Zhōnghuá Yìshù Gōng; สำเนียงเซี่ยงไฮ้: Zongwu Nyizeh Ghon; อังกฤษ: China Art Palace) หรือชื่อเดิม "พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้" (Shanghai Art Museum)[3] เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนสมัยใหม่ที่ตั้งอยู่ในเขตผู่ตง เซี่ยงไฮ้[4] อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เคยใช้เป็นอาคารศาลาประเทศจีน (China Pavilion) ในช่วงงานเอ็กซ์โป 2010 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย

ประวัติ[แก้]

ก่อนหน้าการเปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน เคยปรากฏในชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้ ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ในพื้นที่ที่ร้านอาหารเดิมบนถนนหนานจิงซี (ถนนหนานจิงตะวันตก) และสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2529 ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2543 พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้ได้ย้ายไปยังอาคารสโมสรแข่งม้าเซี่ยงไฮ้เก่า บนจตุรัสประชาชน (People's Square) ซึ่งเคยใช้เป็นที่ตั้งของห้องสมุดเซี่ยงไฮ้ จนถึงปี พ.ศ. 2550 การย้ายพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นจาก 2,200 เป็น 5,800 ตารางเมตร[5]

ต่อมาเมื่อเซี่ยงไฮ้เป็นเจ้าภาพจัดงานเอ็กซ์โป 2010 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และอาคารศาลาประเทศจีนได้รับผู้เข้าชมเกือบ 17 ล้านคน[6] ด้วยความนิยมของอาคารศาลาประเทศจีน จึงเปิดขึ้นให้ชมอีกครั้งเป็นเวลาหกเดือนหลังจากสิ้นสุดงาน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 รัฐบาลเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ได้ประกาศให้อาคารศาลาประเทศจีนของงานเอ็กซ์โป 2010 เป็นสถานที่ตั้งใหม่ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีน ในขณะที่ศาลาเมืองแห่งอนาคต (Urban Future Pavilion) จะถูกแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย "โรงไฟฟ้าศิลปะ" (Power Station of Art)[7][8]

พิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนและสถานีพลังงานศิลปะเปิดในวันชาติจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2555[9] พิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้เก่ายังคงเปิดบริการจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 12,000 คนในช่วงสองวันสุดท้าย[7] โดยพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนนี้มีพื้นที่ใหญ่กว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะเซี่ยงไฮ้ก่อนหน้าถึงสิบเท่า[10]

สถาปัตยกรรม[แก้]

การก่อสร้างศาลาจีนของงานเอ็กซ์โป 2010 ในเซี่ยงไฮ้ เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2550 และอาคารเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553[11] เป็นศาลาที่มีมูลค่าที่สุดในงานเอ็กซ์โป ประมาณ 220 ล้านเหรียญสหรัฐ ศาลาสูง 63 เมตร ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สูงที่สุดในงานเอ็กซ์โป ได้รับการขนานนามว่า "มงกุฏแห่งตะวันออก" เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกับมงกุฎโบราณ[12] อาคารได้รับการออกแบบโดยทีมงานที่นำโดยสถาปนิก He Jingtang ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากงานโครงสร้างหลังคาอาคารไม้แบบจีนที่เรียกว่า 斗拱 (โต่วก่ง) และหม้อทองแดงโบราณที่เรียกว่า 鼎 (ติ่ง)[13]

นิทรรศการ[แก้]

ภายในพิพิธภัณฑ์ศิลปะจีนมีผลงานศิลปะประมาณ 14,000 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะสมัยใหม่ของจีน[10]

กำเนิดศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยของจีน[แก้]

"The Bright Moon Rises from the Sea – Origin of Chinese Modern and Contemporary Art" (海上生明月—中国近现代美术之源) เป็นนิทรรศการถาวรที่บันทึกเหตุการณ์การพัฒนาศิลปะจีนร่วมสมัยและศิลปะสมัยใหม่ โดยเริ่มจากโรงเรียนเซี่ยงไฮ้ ในช่วงปลายราชวงศ์ชิง[14] แบ่งออกเป็นสามยุค (ชิง สาธารณรัฐจีน และสาธารณรัฐประชาชนจีน) และสิบห้อง ครอบคลุมสองชั้นด้วยผลงานศิลปะมากกว่า 6,000 ชิ้น นิทรรศการนี้ดูแลโดย Lu Fusheng (卢辅圣)[15]

นิทรรศการจิตรกรชื่อดัง[แก้]

นิทรรศการสำหรับจิตรกรผู้มีชื่อเสียง (名家艺术陈列专馆) เป็นนิทรรศการถาวรที่จัดแสดงผลงานของศิลปินจีนสมัยใหม่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เฟสแรกนำเสนอผลงานของศิลปินทั้งเจ็ด ได้แก่ He Tianjian, Xie Zhiliu และ Cheng Shifa จาก Shanghai School; Lin Fengmian, Guan Liang และ Wu Guanzhong ผู้บุกเบิกการผสมผสานรูปแบบศิลปะจีนและตะวันตก และหัวเทียนโหย่ว ผู้ก่อตั้งประติมากรรมจีนสมัยใหม่[16]

ศิลปะที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเซี่ยงไฮ้[แก้]

นิทรรศการนี้จัดแสดงผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นสำหรับโครงการของรัฐบาลที่สนับสนุนงานศิลปะที่มีการพัฒนาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเซี่ยงไฮ้ ธีมประกอบด้วยผู้คน เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมพื้นบ้าน และสถาปัตยกรรม โครงการนี้กินเวลาสามปีตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2013[17]

ศิลปะจีนในศตวรรษที่ 21[แก้]

"จีนที่งดงาม – การพัฒนาวิจิตรศิลป์จีนในศตวรรษใหม่" (锦绣中华—行进中的新世纪中国美术) เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงผลงานศิลปะในศตวรรษที่ 21 ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินชาวจีนมากกว่า 260 คน มันถูกแบ่งออกเป็นห้าหน่วย นิทรรศการสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556[18]

นิทรรศการพิเศษ[แก้]

พิพิธภัณฑ์มักจัดแสดงนิทรรศการในหัวข้อพิเศษ ในปีแรกของการดำเนินงาน ได้มีการจัดนิทรรศการพิเศษมากกว่าหนึ่งโหล รวมถึงศิลปะไต้หวัน นิทรรศการภาพถ่ายเซี่ยงไฮ้ครั้งที่สอง[19] และกุสตาฟ กูร์เบต์ และฌอง-ฟรองซัวส์ มิลเลต์ จากคอลเล็กชันพิพิธภัณฑ์ออร์เซแห่งปารีส[20]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 去年最受观众欢迎美术馆是哪个 中华艺术宫位列第一 (ภาษาจีน). Sina Corp. 10 February 2018. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
  2. 中国美术馆建馆50周年藏品大展隆重开幕. National Art Museum of China. 21 May 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-21. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
  3. "中华艺术宫(上海美术馆)公开招聘公告——上海市文化广播影视管理局 上海市文物局". Shanghai Municipal Administration of Culture, Radio, Film and Television (ภาษาChinese (China)). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-06. สืบค้นเมื่อ 2018-08-06.
  4. Lara Day and Te-Ping Chen (28 September 2012). "Shanghai to Open Two Massive Art Museums". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  5. 历史沿革 [History] (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  6. 走进艺术宫 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  7. 7.0 7.1 "迁址扩容能否成就全新的上海美术馆". China Youth Daily. 15 January 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  8. "Popular Pavilions of Expo Shanghai". www.travelchinaguide.com.
  9. "New museums add colour to Shanghai art landscape". France 24. October 1, 2012. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  10. 10.0 10.1 "中华艺术宫和上海当代艺术博物馆国庆免费开放". Sina. 31 August 2012. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  11. 上海世博会中国馆竣工 [China Pavilion of the Shanghai Expo is completed]. Xinhua News Agency (ภาษาจีน). 8 February 2010. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
  12. MacKinnon, Mark (1 May 2010). "Expo 2010 confirms how China has moved to world's centre stage". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
  13. Lu Yuan (21 January 2010). "2010 Expo: He Jingtang and the China Pavilion". China Radio International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-03. สืบค้นเมื่อ 27 September 2013.
  14. 海上生明月—中国近现代美术之源 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  15. 中国近现代美术之源展将在中华艺术宫举办. Sina (ภาษาจีน). 19 September 2012. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  16. 名家艺术陈列专馆 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-14. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  17. 上海历史文脉美术创作工程成果展 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-27. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  18. 锦绣中华—行进中的新世纪中国美术 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  19. 展览列表 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.
  20. 米勒、库尔贝和法国自然主义 (ภาษาจีน). China Art Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 26 September 2013.