พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบราซิล

พิกัด: 22°54′21″S 43°13′34″W / 22.90583°S 43.22611°W / -22.90583; -43.22611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบราซิล
Museu Nacional
แผนที่
ก่อตั้ง6 มิถุนายน ค.ศ. 1818 (1818-06-06)
ที่ตั้งกิงตาดาโบอาวิสตา ในรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล
พิกัดภูมิศาสตร์22°54′21″S 43°13′34″W / 22.90583°S 43.22611°W / -22.90583; -43.22611
ประเภทธรรมชาติวิทยา, ชาติพันธุ์วิทยา และโบราณคดี
ขนาดผลงานวัตถุประมาณ 20 ล้านชิ้น (ก่อนไฟไหม้ ค.ศ. 2018),[1] วัตถุ 1.5 ล้านชิ้นที่วางในอาคารอื่น ๆ (หลังไฟไหม้ 2 กันยายน ค.ศ. 2018)
จำนวนผู้เยี่ยมชมประมาณ 150,000 คน (ค.ศ. 2017)[2]
ผู้ก่อตั้งพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส บราซิล และอัลการ์วึ
ผู้อำนวยการอเล็คซันเดอร์ วิลเฮ็ล์ม อาร์มีน เค็ลเนอร์
เจ้าของมหาวิทยาลัยสหพันธ์รีโอเดจาเนโร
เว็บไซต์museunacional.ufrj.br
ซากปรักหักพัง
อดีตพระราชวังหลวงซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ สวนสาธารณะและสวนสัตว์กิงตาดาโบอาวิสตา
ลักษณะทางประวัติศาสตร์ของอาคารแรกเริ่มและสภาพแวดล้อม

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบราซิล (โปรตุเกส: Museu Nacional) เป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศบราซิล[3][4] ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรีโอเดจาเนโร ที่นำไปไว้ในปาซูจีเซากริสตอเวา (วังนักบุญคริสโตเฟอร์) ซึ่งอยู่ภายในกิงตาดาโบอาวิสตา อาคารหลักเดิมเป็นที่ประทับของราชวงศ์โปรตุเกสระหว่าง ค.ศ. 1808 ถึง 1821 และต่อมาใช้เป็นที่ตั้งของราชวงศ์บราซิลระหว่าง ค.ศ. 1822 ถึง 1889 หลังจากที่ระบอบกษัตริย์ถูกยกเลิกไปแล้ว ก็ได้จัดให้มีการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสาธารณรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1889 ถึง 1891 ก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ใช้พิพิธภัณฑ์ใน ค.ศ. 1892 อาคารนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแห่งชาติของบราซิลใน ค.ศ. 1938[5] และถูกไฟไหม้เสียหายขนานใหญ่ใน ค.ศ. 2018

อาคารนี้ได้รับการก่อตั้งโดยพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส บราซิล และอัลการ์วึ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1818 ภายใต้ชื่อ "พิพิธภัณฑ์หลวง" สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ที่สวนสาธารณะกังปูดือซังตานา ซึ่งจัดแสดงของที่รวบรวมจากสถาบันธรรมชาติวิทยาในอดีต ที่รู้จักกันแพร่หลายในชื่อกาซาดุชปาซซารูส ("สถาบันนก") ซึ่งสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1784 โดยอุปราชแห่งบราซิล ลูอิชดึฟาสกงเซโลสเอโซซา เคานต์ที่ 4 แห่งฟีเกย์โร ตลอดจนการรวบรวมของวิทยาแร่และสัตววิทยา มูลนิธิพิพิธภัณฑ์มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความสนใจในการส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมของประเทศโดยการเผยแพร่ของการศึกษา, วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ส่วนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 สถาบันนี้ได้รับการสถาปนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ ครั้นใน ค.ศ. 1946 ก็ได้รวมเข้ากับมหาวิทยาลัยสหพันธ์รีโอเดจาเนโร[6][5][7]

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้จัดสิ่งของที่รวบรวมไว้เป็นวัตถุมากกว่า 20 ล้านชิ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในคอลเลกชันธรรมชาติวิทยา และศิลปวัตถุทางมานุษยวิทยาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรอบคลุมบันทึกวัสดุที่สำคัญที่สุดบางส่วนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและมานุษยวิทยาในประเทศบราซิล ตลอดจนสิ่งของจำนวนมากที่มาจากภูมิภาคอื่นของโลก และได้รับการสร้างขึ้นจากหลายวัฒนธรรมและอารยธรรมโบราณ โดยได้สะสมมานานกว่าสองศตวรรษผ่านการสำรวจ, การขุดค้น, การครอบครอง, การบริจาค และการแลกเปลี่ยน สิ่งของที่รวบรวมไว้ได้รับการแบ่งออกเป็นเจ็ดแก่นหลัก ได้แก่ ธรณีวิทยา, บรรพชีวินวิทยา, พฤกษศาสตร์, สัตววิทยา, มานุษยวิทยากายภาพ, โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา สิ่งของที่รวบรวมดังกล่าวเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยที่ดำเนินการโดยแผนกวิชาการของพิพิธภัณฑ์ – ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมในทุกภูมิภาคของดินแดนบราซิลและหลายแห่งทั่วโลก รวมถึงทวีปแอนตาร์กติกา พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีห้องสมุดวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศบราซิล โดยมีหนังสือมากกว่า 470,000 เล่ม และผลงานหายาก 2,400 ชิ้น[5]

ในด้านการศึกษา พิพิธภัณฑ์เปิดสอนหลักสูตรเฉพาะทาง, การส่งเสริม และหลังจบการศึกษาในสาขาความรู้ต่าง ๆ นอกเหนือจากการจัดแสดงนิทรรศการชั่วคราวและถาวร รวมถึงกิจกรรมการศึกษาที่เปิดให้บุคคลทั่วไป[5] พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จัดการออร์โตโบตานีกู (สวนพฤกษศาสตร์) ซึ่งติดกับปาซูดือเซาคริสโตเฟา ตลอดจนวิทยาเขตขั้นสูงในซานตาเตเรซา ในรัฐเอสปีรีตูซานตู – สถานีชีวภาพซานตาลูเซียร่วมกับพิพิธภัณฑ์ชีววิทยาศาสตราจารย์ แมลู เลเตา ที่ดินจัดสรรที่สามตั้งอยู่ในซาควัวเรมา โดยใช้เป็นศูนย์สนับสนุนและการส่งกำลังบำรุงสำหรับกิจกรรมภาคสนาม และสุดท้าย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังอุทิศให้แก่การผลิตบทบรรณาธิการ ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านนั้นคืออาร์ชีโวสดูมูเซวนาซิโอนาล ที่เป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของบราซิล[8] ซึ่งได้รับการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1876[6][9]

พระราชวังซึ่งเป็นที่ตั้งของการเก็บรวบรวมส่วนใหญ่ ถูกทำลายด้วยเหตุไฟไหม้ในคืนวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2018[10][11][12] อาคารนี้ถูกเรียกว่า "อาคารที่ไม่มีทางหนีไฟ" โดยนักวิจารณ์ ซึ่งได้ให้เหตุผลว่าไฟไหม้นั้นคาดเดาได้และสามารถป้องกันได้[13] เหตุไฟไหม้ดังกล่าวเริ่มขึ้นที่ระบบปรับอากาศของหอประชุมชั้นล่าง หนึ่งในสามอุปกรณ์นี้ไม่มีสายดินภายนอก ไม่มีสะพานไฟสำหรับแต่ละตัว และลวดไม่มีฉนวนเมื่อสัมผัสกับโลหะ[14] หลังเกิดเพลิงไหม้ สถานที่ปรักหักพังได้รับการปฏิบัติเสมือนโบราณสถาน และอยู่ระหว่างความพยายามในการบูรณะโดยมีหลังคาโลหะครอบคลุมพื้นที่ 5,000 ตร.ม. รวมทั้งเศษซาก[15]

ใน ค.ศ. 2019 ได้มีการค้นพบอดีตสิ่งของราชวงศ์มากกว่า 30,000 ชิ้นระหว่างงานโบราณคดีที่สวนสัตว์รีโอเดจาเนโรที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิงตาดาโบอาวิสตา ในบรรดาสิ่งที่ค้นพบมีหลายอย่าง เช่น เศษเครื่องถ้วยชาม, ถ้วย, จาน, เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร, ฮอร์สชูส์ และแม้กระทั่งกระดุม รวมถึงเข็มกลัดประดับที่มีตราแผ่นดินของจักรพรรดิจากเสื้อผ้าของทหาร โดยสิ่งของเหล่านั้นถูกมอบให้แก่พิพิธภัณฑ์[16] หลังจากถูกทำลายด้วยเหตุไฟไหม้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติได้รับเงินบริจาคเป็นจำนวนเงิน 1.1 ล้านเรอัลบราซิลในเจ็ดเดือนสู่ความพยายามสร้างใหม่[17] ซึ่งความช่วยเหลือทางการเงินได้คาดหวังจากอิทธิพลระหว่างประเทศมากกว่าจากประชากรบราซิลในประเทศ

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Museus em Números, Vol. 1" (PDF). Instituto Brasileiro de Museus – IBRAM. p. 73. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 29 October 2015.
  2. "200 Anos do Museu Nacional" (PDF). Associação Amigos do Museu Nacional. p. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 July 2017.
  3. "Museum lives" (ภาษาโปรตุเกส). Eco & Youtube. สืบค้นเมื่อ 8 October 2018.
  4. "O Museu Nacional é uma instituição autônoma, integra..." (ภาษาโปรตุเกส). Museu Nacional Ufrj. สืบค้นเมื่อ 7 October 2018.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Museu Nacional – UFRJ" (ภาษาโปรตุเกส). Museus do Rio. 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 15 February 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. 6.0 6.1 Grande Enciclopédia Larousse Cultural. Santana de Parnaíba: Banco Safra. 1998. p. 4132.
  7. "O Museu" (ภาษาโปรตุเกส). Museu Nacional - UFRJ. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2017. สืบค้นเมื่อ 15 February 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  8. "Arquivos do Museu Nacional Vol. 62 N. 3" (PDF). 2004. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. "A Revista Arquivos e a Biblioteca do Museu Nacional" (ภาษาโปรตุเกส). Revista do Arquivo Nacional. 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 เมษายน 2018. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2017. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  10. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ reuters20180902
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bbc20180902
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ noticiasBrazil20180902
  13. "Lessons from the destruction of the National Museum of Brazil". The Economist. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  14. "Incêndio que destruiu o Museu Nacional começou no ar-condicionado do auditório, diz laudo da PF". G1 (ภาษาโปรตุเกส). 4 April 2019. สืบค้นเมื่อ 4 April 2019.
  15. "Museu Nacional é liberado para ações de prevenção e estabilização". UOL (ภาษาโปรตุเกส). 14 September 2018. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  16. "Mais de 30 mil peças do passado da Família Imperial são encontradas durante obras no RioZoo". G1 (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 5 April 2019.
  17. "Destruído por incêndio, Museu Nacional recebeu R$ 1,1 milhão em doações. Em dois dias, R$ 3 bilhões foram doados para reconstrução da Catedral Notre-Dame, na França". Folha De S.Paulo (ภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล). สืบค้นเมื่อ 18 April 2019.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Araujo, Ana Lucia (April 2019). "The Death of Brazil's National Museum". The American Historical Review. 124 (2): 569–580. doi:10.1093/ahr/rhz177.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]