พิธีศพของกอเซม โซเลย์มอนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหล่าผู้ไว้อาลัยในจัตุรัสอะซาดิ, เตหะราน
เหล่าผู้ไว้อาลัยในถนนอะซาดิ, เตหะราน

พิธีศพของกอเซม โซเลย์มอนี ซึ่งเป็นนายพลที่สำคัญของกองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม (IRGC) ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 ถึง 7 มกราคม 2020 ในประเทศอิรัก และอิหร่าน – อาทิ ในเมืองแบกแดด, กัรบะลาอ์, นาจาฟ, แอฮ์วอซ, แมชแฮด, เตหะราน, กอม และบ้านเกิดเมืองนอนของเขาในเมืองเฆร์มอน พิธีศพของโซเลย์มอนีในพื้นที่ของเมืองเตะหะรานได้รับขนานนามว่า "เป็นพิธีศพที่เนืองแน่นมากที่สุดนับตั้งแต่พิธีศพของมัรเญียะอ์สูงสุด รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี" ซึ่งเป็นผู้สถาปนาสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ในปี 1989[1][2][3]

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2020 ได้มีเหตุโกลาหล ส่งผลให้ประชาชนแตกตื่น จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 56 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 200 ราย

อิรัก[แก้]

เมื่อวันที่ 5 มกราคม พิธีเคลื่อนขบวนศพของกอเซม โซเลย์มอนีได้จัดขึ้นที่เมืองแบกแดด ท่ามกลางผู้ไว้อาลัยนับพันคนที่มี่กันอย่างเนืองแน่น มีการสะบัดธงชาติ และธงประจำกองทัพอิหร่าน[4] และมีการพูดเปล่งเสียงกันความว่า "ไปตายซะอเมริกา, ไปตายซะอิสราเอล"[5]มีการเริ่มเคลื่อนขบวนที่มัสยิดอัล-กัสฮิมิยาห์ ในเมืองแบกแดด นายกรัฐมนตรีอิรัก อาดีล อับดุลมะฮ์ดี และเหล่าผู้บังคับบัญชากองหนุนอิหร่านร่วมพิธีด้วย[6] ร่างโซเลย์มอนีได้ถูกนำไว้ที่เมืองอันศักดิ์สิทธิ์ชี ของกัรบะลาอ์ และนาจาฟ[7]

มัสฮัด และอาห์วาซ[แก้]

สถานีโทรทัศน์แห่งอิหร่าน ได้เผยแพร่ภาพผู้ไว้อาลัยล้านกว่าคนในเมืองมัสฮัดและอาห์วาซ ในวันที่ 5 มกราคม[1]

เคอร์มาน[แก้]

จากที่สำนักข่าวฟร็องส์แว็งต์-กัทร์ ได้รายงานจำนวนผู้ร่วมไว้อาลัยในพื้นที่เมืองเคอร์มาน, อาห์วาซ, มัสฮัด, เตหะราน และกอม มีจำนวนคนเฉลี่ยเดียวกัน[8] บีบีซี ได้เผยแพร่คำพูดของฝูงชนในระหว่างการเคลื่นขบวนว่า "ขอความตายจงมีแก่อเมริกา" และ "ขอความตายจงมีแก่ทรัมป์"[9]

โซเลย์มอนีได้ขอไว้ก่อนที่จะเสียชีวิตว่า เขาขอให้เอาร่างของเขาไปไว้คู่กับหลุมฝังศพมูฮัมหมัด-ฮอสเซน ยูโสฟาลาฮิ[10] และยังขอหลุมฝังศพแบบ "เรียบง่าย แบบเพื่อนชะฮีด" และขอให้สลักบนจารึกว่า "นายทหาร กอเซม โซเลย์มอนี" (سرباز قاسم سلیمانی) โดยไม่มีการกล่าวพรรณนาใด ๆ[11][12]

เหตุโกลาหล[แก้]

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2020 ได้มีเหตุโกลาหล ส่งผลให้ประชาชนแตกตื่น และเหยียบกันจนเสียชีวิต ในระหว่างพิธีศพของโซเลย์มอนี จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิต 56 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 200 ราย[13] ประธานฝ่ายจัดงานพิธ๊ เมฮดิ ซาดาฟี ได้กล่าวกับสำนักงานข่าวนักเรียนอิหร่าน ว่า พิธีการฝังศพจำเป็นต้องถูกยเลิกหลังจากการเสียชีวิต[13]

ผลสืบเนื่อง[แก้]

มีภาพจำนวนมากแสดงถึงฝูงชนที่มาร่วมงานที่เมืองเตหะราน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน จาวาส ซาลิบ ทวีตข้อความ: "คุณยังคงจินตนาการว่าคุณกำลังทำลายความศรัทธาของชาติอันยิ่งใหญ่และประชาชนของประเทศนี้ได้? จุดจบของสหรัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้กำลังเริ่มขึ้น"[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Rogers, James. "Satellite images show Soleimani funeral crowds thronging streets of Tehran". Foxnews. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  2. Fassihi, Farnaz; Kirkpatrick, David D. "Khamenei Wants to Put Iran's Stamp on Reprisal for U.S. Killing of Top General". nytimes. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  3. Birnbaum, Michael; Cunningham, Erin; Dadouch, Sarah. "Soleimani's funeral procession in Iran sees massive crowds and calls for revenge". washington post. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  4. "Qasem Soleimani: Mourners gather in Baghdad for funeral procession". BBC News. 4 January 2020. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  5. O'Brien, Amy (4 January 2020). "Thousands march in Baghdad funeral procession for Qassem Suleimani—video". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  6. Safi, Michael (4 January 2020). "Qassem Suleimani: chants of 'death to America' at Baghdad funeral". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  7. Ibrahim, Arwa. "'You never let us down': Thousands mourn Soleimani in Baghdad". aljazeera. สืบค้นเมื่อ 4 January 2020.
  8. "Thousands in Iran gather to mourn as Soleimani's body arrives in hometown of Kerman". France24. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  9. "Stampede kills 50 at Soleimani's burial in Iran". 7 January 2020 – โดยทาง www.bbc.com.
  10. "کرمان| وصیت‌نامه سردار سلیمانی در مورد سنگ مزارش چه بود؟+ تصویر- اخبار استانها - اخبار تسنیم - Tasnim". خبرگزاری تسنیم - Tasnim.
  11. "طبق وصیت‌نامه، سنگ مزار سردار سلیمانی را آماده خواهیم کرد". ایسنا. 4 January 2020.
  12. "توضیحات مدیر بنیاد شهید کرمان درباره سنگ مزار شهید سلیمانی | نظر همسر سردار چیست؟". همشهری آنلاین. 4 January 2020.
  13. 13.0 13.1 Safi, Michael (7 January 2020). "Iran: dozens dead in crush at Suleimani burial procession". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  14. Berlinger, Joshua; Mackintosh, Eliza. "Iranians mourn slain general". CNN. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]