พายุไต้ฝุ่นโนรู (พ.ศ. 2560)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นโนรู
พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ไต้ฝุ่นโนรูที่ภาคใต้ของอิโวจิมะในวันที่ 31 กรกฎาคม
ไต้ฝุ่นโนรูที่ภาคใต้ของอิโวจิมะในวันที่ 31 กรกฎาคม
ไต้ฝุ่นโนรูที่ภาคใต้ของอิโวจิมะในวันที่ 31 กรกฎาคม
ก่อตัว 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
สลายตัว 9 สิงหาคม พ.ศ.2560

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 8 สิงหาคม)

ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
250 กม./ชม. (155 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต รวม 2 คน
ความเสียหาย 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2560)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ญี่ปุ่น
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560

พายุไต้ฝุ่นโนรู เป็นพายุไต้ฝุ่นหมายเลข 5 โดยเป็นพายุที่มีช่วงอายุยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่สองในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อันดับหนึ่งคือพายุเวนน์ใน พ.ศ. 2529 และเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดอันดับสองของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 โดยพายุโนรูได้เริ่มก่อตัวขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคม และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนวันที่ 23 กรกฎาคม พายุโนรูมีความเร็วลมถึงระดับพายุไต้ฝุ่นและเป็นพายุไต้ฝุ่นลำดับแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ในวันที่ 28 กรกฎาคม พายุโนรูอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน จนในวันที่ 30 กรกฎาคม พายุโนรูเริ่มทวีความรุนแรงและเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางสภาพที่เอื้ออำนวย พายุไต้ฝุ่นโนรูทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็วเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกแรกของฤดูกาลในวันที่ 31 กรกฎาคม ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม พายุโนรูมีแนวโน้มอ่อนตัวลงเล็กน้อยในขณะที่โค้งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากอยู่เหนือหมู่เกาะซัตสึนังก็อ่อนแรงลงเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้งในวันที่ 5 สิงหาคมหลังจากนั้นพายุเริ่มมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังภูมิภาคคันไซของญี่ปุ่นและขึ้นฝั่งในจังหวัดวากายามะเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม และสลายไปหนึ่งวันหลังจากนั้น

พายุไต้ฝุ่นโนรูส่งผลให้ผู้เสียชีวิตสองคนในจังหวัดคาโงชิมะ และสร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อย 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงิน พ.ศ. 2560) ในประเทศญี่ปุ่น[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-08. สืบค้นเมื่อ 2019-12-28.