พายุไซโคลนวียารุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พายุไซโคลนวียารุ หรือที่เคยรู้จักกันในนาม พายุไซโคลนมหาเสน เป็นพายุหมุนเขตร้อนค่อนข้างอ่อนที่ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตในหกประเทศเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พายุนี้ก่อตัวขึ้นอย่างช้า ๆ จากบริเวณความกดอากาศต่ำเหนืออ่าวเบงกอลตอนใต้ในต้นเดือนพฤษภาคม 2556 พายุค่อนข้างอยู่กับที่ และทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พายุดังกล่าวมีลมกำลังแรง (gale-force wind) และได้ชื่อว่า พายุไซโคลนมหาเสน ซึ่งเป็นพายุลูกแรกที่มีการตั้งชื่อในฤดูกาลนี้ เนื่องจากสภาพบรรยากาศในทิศทางตรงข้าม ระบบจึงพยายามรักษาการไหลขึ้นของกระแสอากาศที่เป็นระบบขณะเคลื่อนสู่ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย วันที่ 14 พฤษภาคม การไหลเวียนที่ไม่มั่นคงของพายุหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ วันรุ่งขึ้น สภาพดังกล่าวอีกครั้งทำให้พายุทวีกำลังแรงขึ้น เช้าวันที่ 16 พฤษภาคม พายุไซโคลนทวีความรุนแรงถึงขีดสุดด้วยความเร็วลม 85 กิโลเมตร/ชั่วโมง และความดันบารอมิเตอร์ 988 มิลลิบาร์ ไม่นานหลังจากนั้น พายุมหาเสนขึ้นฝั่งใกล้กับจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ ระบบได้รับการสังเกตล่าสุดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่เคลื่อนเหนือรัฐนาคาแลนด์ ทางตะวันออกของประเทศอินเดีย

ในช่วงแรกที่เกิดพายุ เกิดฝนที่ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ส่วนมากทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก่อความเสียหายใหญ่หลวง มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสี่คน และมีรายงานผู้หายสาบสูญอีกหกคน ในการเตรียมรับมือพายุ บางส่วนของประเทศพม่ามีการแนะนำให้อพยพใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ประชาชนแย่งขึ้นเรือเพื่อหนี และมีเรืออย่างน้อยหนึ่งลำพลิกคว่ำ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยแปดคน มีผู้ได้รับการกู้ชีวิต 42 คน ขณะที่อีก 50 คนยังไม่ทราบชะตากรรม และเกรงว่าจะเสียชีวิตแล้ว กลุ่มเมฆอันกว้างขวางของพายุยังทำให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายในประเทศศรีลังกา ประเทศไทย และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย พายุรุนแรงในประเทศอินเดียและประเทศศรีลังกาเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 คน และความเสียหายมหาศาล มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนในประเทศไทย พายุดังกล่าวส่งผลในประเทศบังกลาเทศอ่อนกว่าที่คาดไว้เดิม และก่อความเสียหายปานกลาง มีกระท่อมที่สร้างอย่างเลวกว่า 49,000 หลังได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย และมีผู้เสียชีวิต 17 คน ประเทศพม่า