พายุเฮอริเคนไอโอตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุเฮอริเคนไอโอตา
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
พายุเฮอริเคนไอโอตาขณะมีความรุนแรงสูงสุดและกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้นิการากัวในวันที่ 16 พฤศจิกายน
พายุเฮอริเคนไอโอตาขณะมีความรุนแรงสูงสุดและกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้นิการากัวในวันที่ 16 พฤศจิกายน
พายุเฮอริเคนไอโอตาขณะมีความรุนแรงสูงสุดและกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้นิการากัวในวันที่ 16 พฤศจิกายน
ก่อตัว 13 พฤศจิกายน 2563
สลายตัว 18 พฤศจิกายน 2563
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 917 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.08 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต ทั้งหมด ≥ 54 คน; สูญหาย 41 คน
ความเสียหาย ไม่ทราบ
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563

พายุเฮอริเคนไอโอตา (อังกฤษ: Hurricane Iota) เป็นเฮอริเคนในมหาสมุทรแอตแลนติกลูกล่าสุดที่มีความเร็วลมอยู่ในระดับ 5 และเป็นเฮอริเคนแอตแลนติกระดับ 5 ลูกที่สองที่ก่อตัวในเดือนพฤศจิกายนเท่าที่มีการบันทึกไว้ (อีกลูกคือเฮอริเคนคิวบา พ.ศ. 2475) ไอโอตาสร้างความเสียหายอย่างหนักแก่ภูมิภาคอเมริกากลางซึ่งเพิ่งถูกเฮอริเคนอีตาพัดถล่มเมื่อสองสัปดาห์ก่อน

ไอโอตาเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกที่สามสิบเอ็ด พายุที่ได้รับการตั้งชื่อลูกที่สามสิบ และเฮอริเคนลูกที่สิบสาม และเฮอริเคนใหญ่ลูกที่หกของฤดูเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563 ซึ่งมีพายุเกิดขึ้นชุกเป็นประวัติการณ์ ไอโอตามีต้นกำเนิดจากคลื่นเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ทะเลแคริบเบียนด้านตะวันออกในวันที่ 10 พฤศจิกายน[1][2] คลื่นดังกล่าวเริ่มก่อตัวเป็นระบบในอีกไม่กี่วันถัดมาและพัฒนาเป็นดีเปรสชันเขตร้อนทางทิศเหนือของโคลอมเบียเมื่อถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน[2][3][4] ดีเปรสชันลูกนี้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็น พายุโซนร้อนไอโอตา ในอีกหกชั่วโมงถัดมา[5] ในช่วงแรกพายุได้รับผลกระทบจากลมเฉือน แต่การย้ายศูนย์กลางและลมเฉือนที่ผ่อนกำลังลงทำให้ไอโอตาสามารถทวีกำลังขึ้นเป็นเฮอริเคนในวันที่ 15 พฤศจิกายน หลังจากนั้นก็เพิ่มกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ในวันรุ่งขึ้น[6] สถานการณ์นี้ทำให้ พ.ศ. 2563 เป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันนับตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ที่มีเฮอริเคนระดับ 5 อย่างน้อยหนึ่งลูก หลังจากที่อ่อนกำลังลงเล็กน้อยเป็นเฮอริเคนระดับ 4 ไอโอตาได้ขึ้นฝั่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของนิการากัว กลายเป็นเฮอริเคนที่มีกำลังแรงที่สุดที่เคยขึ้นฝั่งที่นิการากัวในเดือนพฤศจิกายนเท่าที่มีการบันทึกไว้[7] จากนั้นไอโอตาก็อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วในขณะที่เคลื่อนตัวลึกเข้าไปในแผ่นดิน ก่อนที่จะสลายตัวไปในวันที่ 18 พฤศจิกายน[8]

คลื่นเขตร้อนที่เป็นต้นกำเนิดของไอโอตาได้ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในเกาะต่าง ๆ ในทะเลแคริบเบียน มีการออกประกาศเฝ้าระวังและคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนในบางพื้นที่ของโคลอมเบีย[9] นิการากัว และฮอนดูรัส[10] โดยสองประเทศหลังยังอยู่ระหว่างการฟื้นตัวจากความเสียหายที่อีตาเพิ่งก่อไว้เมื่อสองสัปดาห์ก่อน คลื่นเขตร้อนและไอโอตาได้นำพาฝนปริมาณมากไปยังพื้นที่บางส่วนของโคลอมเบีย ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินโคลนถล่ม น้ำขึ้นจากพายุรวมทั้งฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในพื้นที่ส่วนใหญ่ของนิการากัวทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันที่ขยายเป็นวงกว้าง เหตุโคลนถล่มตามสถานที่ต่าง ๆ สร้างความเสียหายอย่างกว้างขวางและส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายราย มีผู้เสียชีวิตจากไอโอตาอย่างน้อย 54 คน ซึ่งรวมถึง 21 คนในนิการากัว และ 16 คนในฮอนดูรัสในบรรดาประเทศต่าง ๆ[11][12][13][14] มีผู้สูญหายมากถึง 41 คน

การวางแผนเพื่อการบรรเทาทุกข์ตามมาในไม่ช้า ได้แก่ การตั้งเต็นท์ การเปิดโรงพยาบาลชั่วคราว และการส่งอาหารและน้ำให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ไฟฟ้าที่ดับหลายแห่งเริ่มกลับมาใช้ได้ภายในเวลาไม่กี่วันหลังการพัดถล่มของไอโอตา[15] ต้นไม้ที่ล้มขวางทางและเส้นทางที่ถูกตัดขาดเป็นอุปสรรคต่องานกู้ภัยบางส่วน[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. "NHC Graphical Outlook Archive". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  2. 2.0 2.1 "NHC Graphical Outlook Archive". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  3. Pedersen, Joe Mario (November 13, 2020). "31st tropical depression of record season to form, Eta chills out as an extratropical low". orlandosentinel.com.
  4. Brown, Daniel. "Tropical Depression Thirty-One Advisory Number 1". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  5. Brown, Daniel. "Tropical Storm Iota Discussion Number 2". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ November 13, 2020.
  6. "Hurricane Iota Advisory Number 13". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Emily Shapiro, Max Golembo (November 17, 2020). "Record-breaking Hurricane Iota to bring dangerous flooding to Central America". abcnews.go.com. ABC News. สืบค้นเมื่อ November 17, 2020.
  8. Richard Pasch (November 18, 2020). "Remnants of Iota Discussion Number 21". www.nhc.noaa.gov. Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  9. "Tropical Storm Iota Advisory Number 5". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.
  10. "Tropical Storm Iota Intermediate Advisory Number 5A". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 16 November 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Digital, Por Edición (2020-11-18). "EN VIVO | Iota deja al menos 16 muertos en Nicaragua, según fuentes oficiales". La Prensa (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-18.
  12. Ariel Trigueros (November 18, 2020). "A la fecha se registran 16 hondureños muertos tras paso de Iota". La Prensa (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ November 18, 2020.
  13. Gustavo Palencia & Ismael Lopez (November 19, 2020). "Central America faces havoc, more than 30 killed, from latest storm". reuters.com. สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.
  14. Carlos Mario Marquez (2020-11-18). "La tempête tropicale Iota s'affaiblit après avoir fait 38 morts". La Presse (ภาษาฝรั่งเศส). Agence France-Presse. สืบค้นเมื่อ 2020-11-18.
  15. "Sin agua, sin energía eléctrica, ni redes de comunicación. Costa Caribe Norte queda aislada por Iota". La Prensa (ภาษาสเปน). November 17, 2020. สืบค้นเมื่อ November 17, 2020.
  16. Herrera, Carlos. "Iota's devastation comes into focus in storm-weary Nicaragua". สืบค้นเมื่อ November 19, 2020.