ณรงค์ กิตติขจร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พันเอกณรงค์ กิตติขจร)
ณรงค์ กิตติขจร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ดำรงตำแหน่ง
24 เมษายน พ.ศ. 2526 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2535
หัวหน้าพรรคเสรีนิยม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2529 – พ.ศ. 2535
ก่อนหน้าปรีดา พัฒนถาบุตร
ถัดไปตราชู บริสุทธิ์ (รักษาการ)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (90 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (พ.ศ. 2526–2529)
เสรีนิยม (พ.ศ. 2529–2535)
คู่สมรสสุภาพร กิตติขจร (พ.ศ. 2501–2548)
บุตร4 คน
บุพการี
ญาติประภาส จารุเสถียร (พ่อตา)
ศิษย์เก่าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพบกไทย
ยศ พันเอก
ผ่านศึก

พันเอก ณรงค์ กิตติขจร (21 ตุลาคม พ.ศ. 2476 —) เป็นอดีตนายทหาร, อดีตนักการเมือง และเป็นบุตรชายของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 10 อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของ จอมพล ประภาส จารุเสถียร

ประวัติ[แก้]

เป็นหนึ่งใน 3 บุคคลของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในเหตุการณ์ 14 ตุลา ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย ส่งผลให้ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร, จอมพล ถนอม กิตติขจร และจอมพล ประภาส จารุเสถียร ต้องออกจากประเทศภายหลังเหตุการณ์สงบลง พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย และได้ลงเล่นการเมือง โดยเข้าร่วมงานกับพรรคเสรีนิยม และเขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. ด้วยกัน 2 สมัย นอกจากนี้แล้ว พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ยังถูกสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการบงการสั่งฆาตกรรมนักธุรกิจและศัตรูทางการเมืองอีกมากมาย โดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ในสมัยที่รุ่งเรือง ปิดคดีความต่างๆ และไม่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกเลย

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

พ.อ. ณรงค์ เป็นบุตรชายของจอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี และเป็นบุตรเขยของ จอมพล ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมตำรวจ เพราะได้สมรสกับนางสุภาพร กิตติขจร บุตรสาวคนที่ 3 ของจอมพล ประภาส ซึ่งรู้จักคุ้นเคยกับมาตั้งแต่อายุได้ 5-6 ขวบ และได้ขอแต่งงานเมื่อคุณสุภาพรอายุได้เพียง 18 ปีเท่านั้น (ในขณะนั้น พ.อ. ณรงค์ ติดยศ"ร้อยตรี") โดยมีบุตร-ธิดารวม 4 คน ได้แก่

  • พล.อ. เกริกเกียรติ กิตติขจร สมรสกับ นัฎฐา กิตติขจร มีบุตรทั้ง 2 คน คือ
    • กนกรส กิตติขจร
    • กฎเกณฑ์ กิตติขจร
  • นายกรกาจ กิตติขจร (เสียชีวิตแล้ว) ใน เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2557[1] สมรสกับ ประพจนีย์ กิตติขจร มีบุตรทั้งหมด 1 คน คือ
    • กิตติพจน์ กิตติขจร
  • พล.ต. กิจก้อง กิตติขจร
  • นางกรองกาญจน์ ดิศกุล ณ อยุธยา

การศึกษา[แก้]

พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร [2]จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย แล้วศึกษาต่อที่ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จปร.รุ่นที่5 และโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ สหราชอาณาจักร[2] (Royal Military Academy Sandhurst) ซึ่งเป็นโรงเรียนนายร้อยที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในอังกฤษ

การรับราชการ[แก้]

พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐประหาร (รัฐประหารในประเทศไทย 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เมื่อการรัฐประหารเสร็จสิ้นลง ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการตรวจและติดตามผลการปฏิวัติราชการ (ก.ต.ป.) และเป็นผู้บังคับบัญชากองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร.11 พัน.2 รอ.)

หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้แล้ว พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร เป็นที่คาดหมายว่าจะเป็นผู้สืบทอดอำนาจต่อจากจอมพล ถนอม กิตติขจร ผู้เป็นพ่อ เพราะด้วยสถานการณ์ในเวลานั้น ปรากฏข่าวการคอร์รัปชั่นกันอย่างกว้างขวางรวมทั้งการใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบด้วย เช่น กรณีเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกตกที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เป็นต้น ทางรัฐบาลได้แก้ปัญหาด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามผลการปฏิบัติราชการ หรือ ก.ต.ป. ขึ้นมาเพื่อจัดการปัญหาการคอร์รัปชั่น แต่กลับมี พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ซึ่งเป็นลูกชายนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแล จึงไม่มีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถจัดการปัญหาได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ขึ้น ประชาชนส่วนหนึ่งที่โกรธแค้นจึงได้เผาทำลายอาคารของสำนักงานแห่งนี้ ที่ตั้งอยู่ ณ สี่แยกคอกวัว

ส่วนบทบาทของ พ.อ. ณรงค์ กิตติขจร ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์และเป็นผู้กราดยิงกระสุนจริงจากเฮลิคอปเตอร์ลงมายังผู้ชุมนุมที่อยู่เบื้องล่าง แต่ พ.อ. ณรงค์ ได้ปฏิเสธในเรื่องนี้มาโดยตลอด

การเมือง[แก้]

หลังสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง พ.อ. ณรงค์ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และลงสมัคร ส.ส. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2526 และเข้าร่วมกับพรรคการเมืองชื่อพรรค "เสรีนิยม" ซึ่งมี ปรีดา พัฒนถาบุตร เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารโดย พ.อ.ณรงค์ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน เขาได้ลงสมัคร ส.ส. ในจังหวัดเดิม ได้รับเลือกตั้งมาอีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 และ ยังได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2534

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ "ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย" และ "พันเอก ณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด" โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ. ณรงค์ และจอมพล ถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา[3] [4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. หนังสือที่ระลึกพระราชทานเพลิงศพ
  2. 2.0 2.1 ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  3. ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1
  4. "ณรงค์โยนพล.อ.กฤษณ์ ต้นเหตุความรุนแรง14ต.ค." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-24. สืบค้นเมื่อ 2007-06-05.
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย) เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 2021-05-06.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 79, ตอน 46, 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2505, หน้า 1249
  8. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ
  9. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 12 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2504
  10. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ เล่ม 86 ตอนที่ 2 ราชกิจจานุเบกษา 6 มกราาคม 2512
  11. แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗ หน้า ๒๔๖๐