วสิษฐ เดชกุญชร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วสิษฐ เดชกุญชร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
26 สิงหาคม – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้า
ถัดไป
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472
จังหวัดอุดรธานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2561 (88 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสคุณหญิงทัศนา เดชกุญชร
บุพการี
  • คเชนทร์ เดชกุญชร (บิดา)
  • เกษร เดชกุญชร (มารดา)
อาชีพตำรวจ นักเขียน
นามปากกาโก้ บางกอก
วสิษฐ เดชกุญชร
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกรมตำรวจ
กรมราชองครักษ์ (จนถึงปี 2524)
ประจำการพ.ศ. 2499 - 2533
ชั้นยศ พลตำรวจเอก
การยุทธ์การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย

พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 20 มิถุนายน พ.ศ. 2561) อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ และเป็นผู้ที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไว้วางพระราชหฤทัย จนได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ ก่อนที่จะออกมาดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมตำรวจ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ที่เป็นนักเขียนนวนิยายเกี่ยวกับวงการตำรวจ และอาชญากรรม โดยนำมาจากประสบการณ์จริง จนได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2541

ประวัติ[แก้]

พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เกิดที่ตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี บิดามารดามีอาชีพเป็นครู ปี พ.ศ. 2483 ศึกษาที่โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา[1] ก่อนที่จะจบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนประจำจังหวัดขอนแก่น "โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน" เมื่อ พ.ศ. 2487 สำเร็จการศึกษาชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร รุ่นลมหวล ศึกษาต่อรัฐศาสตรบัณฑิต ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้เข้าศึกษารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการตำรวจ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสืบสวนจากสหรัฐอเมริกา จบหลักสูตรวิชาการป้องกันประเทศ จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.รุ่นที่ 23) สมรสกับ คุณหญิงทัศนา (บุนนาค) เดชกุญชร เมื่อ พ.ศ. 2500 มีบุตร 2 คน คือ ว่าที่ร้อยตรี ดร. สุทรรศน์ เดชกุญชร และ ร้อยตำรวจตรีหญิงปรีณาภา เดชกุญชร พลตำรวจเอก วสิษฐ มีหลาน 3 คน ได้แก่ น.ส.ปัญจรัตน์ เดชกุญชร, จ่าเอก ชิษณุวัฒน์ เดชกุญชร และ น.ส.ณัฐพร เดชกุญชร

การทำงาน[แก้]

พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 ต่อมาได้ลาออกไปสมัครเข้ารับราชการในกรมประมวลราชการแผ่นดิน (ต่อมาคือกรมประมวลข่าวกลาง) แล้วโอนไปรับราชการที่กองตำรวจสันติบาล กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และย้ายไปเป็นนายตำรวจราชสำนักประจำในปี พ.ศ. 2513 เคยได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[2] เป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2532 และในปี พ.ศ. 2539[3] - 2543 และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[4] เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ถึง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 ตำแหน่งสุดท้ายในกรมตำรวจก่อนลาออกไปเป็นรัฐมนตรี เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ ฝ่ายกิจการพิเศษ

ผลงาน[แก้]

ผลงานเขียนของ วสิษฐ เดชกุญชร ที่มีชื่อเสียง เป็นนิยายที่เขียนจากประสบการณ์ในราชการตำรวจ มีตัวเอกเป็นตำรวจที่มีอุดมการณ์ เขียนโดยใช้ชื่อจริง และเคยใช้นามปากกา "โก้ บางกอก" นิยายหลายเรื่องมีผู้นำไปสร้างภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ โดยเฉพาะนวนิยายชุดองค์กรลับต่อต้านผู้ก่อการร้าย ที่มีตัวเอกชื่อ "ธนุส นิราลัย" กับ "ลำเพา สายสัทกุล" (สารวัตรเถื่อน, แม่ลาวเลือด, หักลิ้นช้าง, อวสานสายลับ, บ่วงบาศ, ประกาศิตอสูร) ดงเย็น, จันทน์หอม, ลว.สุดท้าย, สารวัตรเถื่อน, แม่ลาวเลือด, หักลิ้นช้าง, อวสานสายลับ, บ่วงบาศ, ประกาศิตอสูร, สารวัตรใหญ่, สันติบาล, เลือดเข้าตา, เบี้ยล่าง, พรมแดน ผลงานตีพิมพ์ล่าสุด หนังสือรวมเรื่องสั้น " สัพเพเหระคดี เล่ม ๑ และ ๒ โดย Cruditas Publishing

ผลงานที่ถูกนำไปสร้างละครโทรทัศน์[แก้]

ผลงานแสดงมิวสิกวีดีโอ[แก้]

  • ตลอดเวลา ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • สุดใจ ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • เสมอ ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • แค่นั้น ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ไถ่เธอคืนมา ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • เหงา ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ทุกยาม ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • แม้เราจะไม่พบกัน ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ยังคอย ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • บาปบริสุทธิ์ ของ คาราบาว
  • สุดใจฝัน ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • จะไปหา ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • หวีดหวิว ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • อยู่คนเดียว ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • วันต่อวัน ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ดอกไม้ให้คุณ ของ คาราวาน
  • ตำรวจ ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ดอกไม้พฤษภา ของ ซูซู
  • ใจบงการ ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • เพลงของลูก ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • รักเดียว ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • นํ้าใสนํ้าใจ ของ คาราบาว
  • เพื่อนเอย ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • เรียนและงาน ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • กว่าจะรู้ ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ถึงเพื่อน ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • เราจะกลับมา ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ความเข็มแข็งสุดท้าย ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์
  • ฝากจดหมาย ของ เบอนัวต์ แดนเซอร์

บทบาทในเหตุการณ์ 14 ตุลา[แก้]

ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 พล.ต.อ.วสิษฐ ซึ่งในขณะนั้นมียศ พันตำรวจเอก (พ.ต.อ.) ดำรงตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักประจำ มีบทบาทในการดูแลความสงบบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน อันเป็นสถานที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงหลายพระองค์ รวมถึงบริเวณพระราชวังดุสิตด้วย โดยเป็นผู้ติดต่อและเจรจากับทางฝ่ายผู้ชุมนุมและเป็นผู้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาอ่านให้แก่ผู้ชุมนุมฟัง 05.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะสลายตัวไป แต่จากอุปสรรคทางการสื่อสารประกอบกับมีมวลชนเป็นจำนวนมาก ผู้นำชุมนุมจึงไม่อาจควบคุมได้ทั้งหมด จึงเกิดเหตุนองเลือดในเวลาต่อมาหลังจากนี้[5]

การเสียชีวิต[แก้]

พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร ได้ป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โดยเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลตำรวจ และ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบเมื่อเวลา 22.35 น. ของวันที่ 20 มิถุนายน 2561 รวมอายุได้ 88 ปี[6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ศิษย์เก่าโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงยะลา
  2. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ๑๗ ราย และตั้งรัฐมนตรี จำนวน ๒๐ ราย)
  5. 14 ตุลา เบิกฟ้าประชาธิปไตย
  6. มะเร็งคร่า 'วสิษฐ เดชกุญชร' อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๗ มกราคม ๒๕๒๙
  9. ร่ชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๐๑๔, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๒๐, ๕ ธันวาคม ๒๕๒๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๖๗ ง หน้า ๒๔๗๗, ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๑๑
  15. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๗๓๑, ๒๑ มีนาคม ๒๕๑๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • ประทีป เหมือนนิล. 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพ : สุวีริยาสาส์น, 2542. หน้า 479. ISBN 974-8267-78-4