พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ไทยซึ่งทรงทำงานในกรม ดูได้ที่ เจ้าต่างกรม
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของขุนนางไทย ดูได้ที่ บรรดาศักดิ์ไทย
- สำหรับบรรดาศักดิ์ของพระบรมวงศานุวงศ์ไทย ดูได้ที่ ฐานันดรศักดิ์ไทย
พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหาร หัวเมือง พ.ศ. 1998 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ กษัตริย์ผู้ครองกรุงศรีอยุธยา เป็นกฎหมายที่กำหนดตำแหน่งศักดินา บรรดาศักดิ์ ลำดับชั้น โครงสร้างส่วนราชการในระบบราชการ สมัยโบราณ เทียบได้กับ กฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ในปัจจุบัน แต่ในกฎหมายนี้ได้กำหนด ฐานันดรศักดิ์ประชาชนตั้งแต่ พระมหาอุปราชลงมาจนถึงพลเมืองขั้นต่ำสุดคือทาส พระไอยการนี้ กำหนดให้ประชาชนทุกคนมีศักดินาสูงต่ำ ตามคำสำคัญในโครงสร้างสังคม โดยศักดินานี้ กำหนดเป็นไร่ (หน่วยวัดพื้นที่ของไทยสมัยโบราณเท่ากับ 1,600 ตารางเมตร)
ตัวพระไอยการประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ศักดินาของพลเรือน ศักดินาทหาร และศักดินาของขุนนางในห้วเมืองนอกราชธานี
โครงสร้างศักดินา
[แก้]ศักดินา | จำนวนผู้ถือศักดินา | ฐานะของผู้ถือศักดินา |
100,000 | 1 | พระมหาอุปราช , พระยุพราช |
50,000 | ไม่ทราบจำนวน | สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
40,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ / ลูกยาเธอเจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
20,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าน้องยา / น้องนางเธอ เจ้าฟ้าซึ่งมิได้ทรงกรม |
15,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ/ลูกยาเธอซึ่งมิได้ทรงกรม , พระเจ้าน้องยาเธอ/น้องนางเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม , พระเจ้าลูกเธอ/ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าซึ่งทรงกรม |
11,000 | "-----" | พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าซึ่งทรงกรม |
10,000 | 20 | เจ้าพระยาอัครมหาสนาบดี , เจ้าพระยาสมุหพระกลาโหม , เจ้าพระยา(ชั้นสุพรรณบัฎ) |
7,000 | "-----" | พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าซึ่งมิได้ทรงกรม |
6,000 | "-----" | พระเจ้าลูกเธอ ลูกยาเธอ พระองค์เจ้าซึ่งไม่ทรงกรม |
5,000 | 2 | |
4,000 | "-----" | สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า ซึ่งได้ทรงกรม |
3,000 | ขุนนางระดับกลาง | |
2,400 | ขุนนางระดับกลาง | |
2,000 | ขุนนางระดับกลาง | |
1,600 | ||
1,500 | หม่อมเจ้า | |
1,400 | ||
1,200 | ||
1,000 | พระสนมเอก , ขุนนางชั้นพระ - พระยา , หม่อมราชนิกุล | |
800 | ขุนนางชั้น พระ | |
600 | ขุนนางชั้น หลวง | |
500 | หม่อมราชวงศ์ | |
400 | หม่อมหลวง / ขุนนางชั้น ขุน | |
รวม |
ภริยาของขุนนางที่เป็นภรรยาพระราชทาน หรือภรรยาหลวงถือศักดินาครึ่งหนึ่งของสามี อนุภรรยามีศักดินาครึ่งหนึ่งของภรรยาหลวง ภรรยาทาสที่มีบุตรแล้วศักดินาเท่ากับอนุภรรยา
สามเณรรู้ธรรม(คือสอบได้เปรียญ)ศักดินา 300 สามเณรไม่รู้ธรรม 200 พระภิกษุรู้ธรรมศักดินา 600 พระภิกษุไม่รู้ธรรมศักดินา 400 พระครูรู้ธรรมศักดินา 2,400 พระครูไม่รู้ธรรม ศักดินา 1,000 พราหม์มีความรู้ด้านศิลปศาสตร์ศักดินา 400 พราหม์ทั่วไปศักดินา 200 ตาปะขาวรู้ธรรมศักดินา 200 ตาปะขาวไม่รู้ธรรมศักดินา 100
นอกจากนี้ยังกำหนดไว้ว่า ไพร่ (ประชาชนทั่วไป) มีศักดินา 10-25 ไร่ ทาส,ขอทาน มีศักดินา 5 ไร่
ศักดินานี้ ไม่ใช่จำนวนที่นาที่ถือครองจริงๆ เป็นเพียงแต่ตัวเลขจัดลำดับชั้น (Ranking)ของประชาชนในราชอาณาจักร เนื่องจากสังคมไทยสมัยโบราณเป็นสังคมเกษตรกรรม การถือครองที่นาเป็นเครื่องชี้ฐานะของคนในสังคม ดังนั้น ระบบการจัดลำดับชั้นของสังคม จึงใช้การนับจำนวนนาเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าใจง่ายในบริบทและโครงสร้างสังคมสมัยนั้น ส่วนจำนวนการถือครองที่นาจริงๆ นั้นเป็นทรัพย์สิน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบศักดินา ดังจะเห็นได้ว่า ทาสและขอทาน หรือพระภิกษุก็มีการกำหนดศักดินาไว้ ศักดินาจึงไม่ใช่สิทธิในการถือครองที่ดิน
ศักดินานี้มีความสำคัญทางกฎหมายเนื่องจากใช้ในการปรับไหม ในทางศาลในคดีละเมิด เช่นหากผู้มีศักดินาสูงละเมิดผู้มีศักดินาต่ำกว่า จะต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยเป็นสัดส่วนตามศักดินาของตน และหากผู้มีศักดินาต่ำไปละเมิดผู้มีศักดินาสูง ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยสินไหมตามศักดินาของผู้มีศักดินาสูงกว่า ดังนั้นศักดินาจึงใช้วัด "ค่า" ของคนในสังคมในยุคนั้นในระบบกฎหมายของรัฐ
กฎหมายที่กำหนดศักดินาในสังคมไทยได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมในรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระไอยการตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ.๑๑๗๓(กฎหมายตราสามดวง ฉบับจัดพิมพ์โดยมหาวิทยลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๘ หน้า ๔๒๔) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาทูต (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๓ หน้า ๓๑๘) พระราชบัญญัติตำแหน่งศักดินาพระบรมวงศานุวงศ์ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔ หน้า ๒๖๕) พระราชบัญญัติศักดินาทหาร(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕ แผ่นที่ ๒๑) พระบรมราชโองการประกาศศักดินาผู้พิพากษาและข้าหลวง(ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๙ แผ่นที่ ๒๔) พระราชบัญญัติศักดินาขุน หมื่น นายเวร เสมียน (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙ แผ่นที่ ๓๐) รายละเอียดเพิ่มเติมค้นได้จากราชกิจจานุเบกษา