พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเมธีวชิโรดม

(วุฒิชัย วชิรเมธี)
ชื่ออื่นว.วชิรเมธี ป.ธ.9
ส่วนบุคคล
เกิด29 มกราคม พ.ศ. 2516 (51 ปี 59 วัน ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาFaculty of Education, Sukhothai Thammatirat. Master in Buddhism, Maha Chulalongkorn Rajawittayalai น.ธ.เอก,ป.ธ. 9,
ศศ.บ., พธ.ม.
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย
อุปสมบท10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
พรรษา29 ปี 323 วัน
ตำแหน่งประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ พระอารามหลวง,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 ฝ่ายมหานิกาย (5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดลำปาง, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดแพร่, จังหวัดน่าน)

พระเมธีวชิโรดม หรือชื่อเมื่อแรกเกิดว่า วุฒิชัย นามสกุล บุญถึง[1] หรือรู้จักกันดีในนามปากกา ว.วชิรเมธี (29 มกราคม พ.ศ. 2516 —) เป็นภิกษุชาวไทย มีชื่อเสียงว่าเป็นพระนักวิชาการ นักคิด นักเขียน และนักบรรยายธรรม และเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ผู้อุปถัมภ์ UNHCR ด้านสันติภาพ และเมตตาธรรม[2] โดยผู้มอบรางวัลได้แก่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 6 ฝ่ายมหานิกาย (5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดลำปาง, จังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดแพร่, จังหวัดน่าน)

ประวัติ[แก้]

ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระเมธีวชิโรดม ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ ทุกรูปแบบ เมื่อยังเด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตามมารดาไปทำบุญบ่อย ๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลักธรรมคำสอนและทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ ถูกจำกัดอยู่เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็นหนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขอ อนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกันที่มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้าย มาพำนักอยู่ ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จนสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค(รุ่นเดียวกับ พันโทสุธี สุขสากล) ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ “พุทธศาสตร มหาบัณฑิต” จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันท่านได้ รับเชิญให้เป็น อาจารย์ สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากร บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ อีกมากมายในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระ นักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปีผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ, ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้ว เกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลายฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจต่อไป

การบรรพชา และอุปสมบท[แก้]

พระเมธีวชิโรดม (วุฒิชัย วชิรเมธี) ป.ธ.9 บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2530 ณ วัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูโสภณจริยกิจ เจ้าคณะอำเภอเชียงของ วัดศรีดอนไชย เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมา ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537พัทธสีมาอุโบสถวัดครึ่งใต้ ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมี พระสุนทรปริยัติวิธาน มีสมณศักดิ์สุดท้ายที่พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย วัดพระสิงห์ เป็นพระอุปัชฌาย์[3] มี พระครูสมุห์บุญช่วย ฉายา ธมฺมสโร วัดสบสม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระครูภัทรวรคุณ วัดสถาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า"วชิรเมธี" ปัจจุบันพระมหาวุฒิชัยสังกัดวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงราย และจำพรรษาอยู่ที่ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย[4] , [5]

การศึกษา/วิทยฐานะ[แก้]

ตำแหน่งปกครองทางคณะสงฆ์[แก้]

สมณศักดิ์,พัดยศ[แก้]

ตำแหน่งในสถาบันการศึกษา[แก้]

  • ประธานมูลนิธิวิมุตตยาลัย
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
  • ผู้ก่อตั้งและอธิการบดีมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ (สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์)

หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในอดีต[แก้]

การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา[แก้]

หลังสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษของบัณฑิตวิทยาลัย มจร. (๒๕๔๖-๒๕๕๓) สอนวิชาสัมมนาพระพุทธศาสนากับวิทยาการโลกยุคใหม่ (Seminar on Buddhism and New World Perspectives) แก่นิสิตระดับปริญญาโททั้งภาคปกติ (พระภิกษุ) ภาคพิเศษ (คฤหัสถ์) นอกจากนั้นยังได้รับอาราธนาให้เป็นอาจารย์พิเศษระดับปริญญาตรี โท เอก ของมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งของภาครัฐและเอกชนอีกหลายแห่ง รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษให้กับสถาบันพระปกเกล้า วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน เป็นต้น พร้อมๆ กับการทำหน้าที่อาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ท่านยังอุทิศตนทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในรูปแบบ “ธรรมประยุกต์” (Applied Buddhism) จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางด้วยผลงานธรรมนิพนธ์ในชุด “ธรรมะติดปีก” (ประกอบด้วยธรรมะติดปีก ธรรมะบันดาล ธรรมะดับร้อน ธรรมะหลับสบาย) การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกในแบบ “ธรรมประยุกต์” หรือ Applied Buddhism ของท่านทำให้เกิดกระแสความตื่นตัวและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการศึกษาธรรมะในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง ทั้งวงการเทศน์ที่ลดความเข้มขลัง ทางธรรมเนียมนิยมลงมาสู่การเทศน์เชิงปฏิภาณหรือเทศน์ปนทอล์คที่ทำให้การแสดงธรรมกลายเป็นเรื่องทันสมัยมีชีวิตชีวาเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม วงการเขียนหนังสือธรรมะที่หนังสือธรรมะกลายเป็นหนังสือยอดนิยมของคนทุกวัย และวงการวิทยุและโทรทัศน์ที่รายการธรรมะกลายเป็นรายการในช่วงไพรไทม์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ถูกนักสื่อสารมวลชนนิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ “ธรรมะอินเทรนด์” ปัจจุบันท่านมีผลงานธรรมนิพนธ์ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เล่ม (สถิติ ณ พ.ศ. ๒๕๕๗) หลายเล่มได้รับการแปลสู่ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาสเปน ภาษาฝรั่งเศส บางเล่มได้รับการดัดแปลงเป็นบทละครโทรทัศน์ ละครเวที ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ หรือแม้แต่บทโฆษณาเพื่อการปลูกฝังค่านิยมอันดีงามของสังคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย อันเป็นสถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาสันติภาพโลก พ.ศ. ๒๕๕๒ ก่อตั้งศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน เพื่อเป็นธรรมสถานในการ บูรณาการพุทธธรรมเข้ากับทุกกิจกรรมของชีวิตผ่านการจัดคอร์สภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ และในปีเดียวกันนี้ท่านยังได้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.dhammatoday.com เพื่อขับเคลื่อนงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่ประชาคมโลกตามแนวคิด “ธรรมะออนไลน์ เพื่อไทย เพื่อโลก” พ.ศ. ๒๕๕๕ ก่อตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ สถาบันการศึกษาทางเลือกเพื่อการพัฒนาตามปรัชญาพุทธเศรษฐศาสตร์ ในโอกาสธรรมสมโภช ๒๖ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนายุกาล และก่อตั้งมูลนิธิวิมุตตยาลัย เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาสันติภาพโลก ปัจจุบันท่านสังกัด วัดพระสิงห์ (พระอารามหลวง) ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และพำนักจำพรรษา ณ ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน บ้านสันป่าเหียง ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกด้วยการเขียนหนังสือและการประยุกต์พุทธธรรมเข้ากับทุกกิจกรรมของชีวิตผ่านการจัดคอร์สภาวนาทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศตามแนวทางแห่งอานาปานสติของพระพุทธองค์

ปริญญากิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ[แก้]

รางวัลเชิดชูเกียรติคุณ[แก้]

ก. พ.ศ. 2547   ผลงาน “ธรรมะติดปีก” ได้รับการนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ได้รับรางวัลจากสถาบันต่างๆกว่าสิบรางวัล

พ.ศ. 2548   รางวัล “ผู้มีผลงานด้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนาดีเด่น”(จากผลงานนิพนธ์ 4เรื่อง คือ ธรรมะติดปีก ธรรมะหลับสบาย ธรรมะดับร้อน ธรรมะบันดาล) จากมูลนิธิศาสตราจารย์พิเศษจำนง ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต

พ.ศ. 2548   สภาศาสนาเพื่อสันติภาพโลก ยกย่องเป็น “ทูตสันติภาพโลก”

พ.ศ. 2549   นิตยสาร Positioning ยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 50 ผู้ทรงอิทธิพลของสังคมไทย

พ.ศ. 2549   รางวัล “The Great Dharma Putta Award” (พระธรรมทูตผู้มีผลงานดีเด่นระดับโลก) จากรัฐบาลและคณะสงฆ์แห่งประเทศศรีลังกา และองค์กร WBSY (Word Buddhist Sangha Youth) ในฐานะเจ้าภาพจัดงาน “สมโภช 2550 ปี แห่งพระพุทธศาสนายุกาล” (The Celebration of 2550th Buddha Jayanit)

พ.ศ. 2550   รางวัล BUCA HONORARY AWARDS ในฐานะผู้มีผลงานโดดเด่นในการนำเสนอธรรมะแบบอินเทรนด์ และมีคุณูปการต่อวงการวิชาชีพนิเทศศาสตร์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พ.ศ. 2550   รางวัล “รตนปัญญา” (Gem of Wisdom Award) ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสำหรับพระสงฆ์ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นเอก จากคณะสงฆ์และประชาชนจากจังหวัดเชียงราย

พ.ศ. 2550   รับพระราชทานรางวัล “เสาเสมาธรรมจักรทองคำ” ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์วิสาขบูชาโลก ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

พ.ศ. 2550   รับพระราชทานรางวัล “บุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน” สาขาการศึกษาและวิชาการ จากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ ณ อาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร  (ไทย-ญี่ปุ่น)

พ.ศ. 2550   รางวัล “Young & Smart VOTE 2007 สาขา คนรุ่นใหม่ที่มีบทบาทต่อสังคม”จากนิตยสารสุดสัปดาห์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พลับลิชชิ่ง

พ.ศ. 2550   รางวัล “ผู้มีอุปการคุณต่อวงการห้องสมุด และการศึกษาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์” จากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี

พ.ศ. 2551   รางวัล “นักเขียนบทความดีเด่นประจำปี 2551” จากมูลนิธิ ม.ร.ว. อายุมงคล โสณกุล

พ.ศ. 2551   รางวัลกิตติคุณสัมพันธ์ “สังข์เงิน” ในฐานะผู้ที่มีผลงานการประชาสัมพันธ์ดีเด่น จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

พ.ศ. 2551   รางวัล “ผู้มีอุปการคุณต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา” ของมูลนิธิรวมใจเผยแผ่ธรรมะ จากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

พ.ศ. 2551   รางวัล “ผู้บำเพ็ญประโยชน์ในการพัฒนาจิต ประจำปี 2551” จากสภาชาวพุทธ ร่วมกับมูลนิธิโลกทิพย์

พ.ศ. 2551   รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์และสร้างชื่อเสียงให้แก่บัณฑิตวิทยาลัย” จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พ.ศ. 2551   รางวัล “ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2551” จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

พ.ศ. 2551   ได้รับคัดเลือกเป็น “1 ใน 100 บุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจ” (100 idols) จากนิตยสาร a day

พ.ศ. 2551   ได้รับยกย่องจากกรุงเทพธุรกิจและกรุงเทพธุรกิจออนไลน์เป็น นักคิดนักเขียนแห่งปี

พ.ศ. 2551   ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ให้เป็น “คนรุ่นใหม่ผู้เป็นความหวัง”

พ.ศ. 2552   ได้รับโหวตให้เป็นสุดยอดนักคิด ปี 2551 จากสถานีวิทยุ อสมท. F.M.96.5 MHz คลื่นความคิด

พ.ศ. 2552   รางวัล “บุคคลคุณภาพผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม” จากโรงเรียนสุวรรณสุทธารามวิทยา

พ.ศ. 2552   รางวัล “บุคคลต้นแบบคนดีศรีแผ่นดิน ปี 2551” จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

พ.ศ. 2552   รางวัล “พุทธคุณูปการ รัชตเกียรติคุณ” ผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2552   ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 20 คนกรุงที่น่าจับตามอง (The Bangkok Hot List : 20 People to Watch)จาก ซีเอ็นเอ็นจีโอเอเชีย

พ.ศ. 2553   รางวัล “ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ประจำปี 2553” จากกระทรวงวัฒนธรรม

พ.ศ. 2553   รางวัล “ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านนันทนาการ สาขาการอ่าน การพูด การเขียน”จากกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา

พ.ศ. 2553   รางวัล “พุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณ” ผู้มีพุทธคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร

พ.ศ. 2553   ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคล “ที่สุดแห่งปี 53 ประเภทนักการศึกษาที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด” จากสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต

พ.ศ. 2553   ได้รับการยกย่องให้เป็น “บุคคลที่น่ายกย่องที่สุดแห่งปี 2553” ด้านการให้ข้อคิดเตือนสติแก่คนในสังคม จากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพล)

พ.ศ. 2554   รางวัล “บัวทิพย์ ประจำปี 2553 จากกองทุน 100 ปี พระพุทธวรญาณ (กิตติ กิตติทินนมหาเถระ)

พ.ศ. 2554   รางวัลเกียรติยศบัลลังก์คนดี “บัลลังก์คนดีแห่งปี 2553” จัดโดย ททบ.5 ร่วมกับบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

พ.ศ. 2554   ได้รับโล่เกียรติคุณ “ทูตคิดใส ใจสะอาด เพื่อชาติ  เพื่อในหลวง” จากโครงการ“คิดใส ใจสะอาด เพื่อชาติ เพื่อในหลวง”

ผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา[แก้]

เป็นคอลัมนิสต์เขียนบทความธรรมะประยุกต์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร รายเดือน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายวัน ดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์ - เนชั่นสุดสัปดาห์ - มติชนสุดสัปดาห์ - ประชาชาติธุรกิจ - กรุงเทพธุรกิจ - โพสต์ทูเดย์ - คมชัดลึก - เดลินิวส์ - THE NATION - ฯลฯ

นิตยสาร - SECRET - REAL PARENTING - WHO - แพรว - WE - HEALTH & CIUSINE - แม่และเด็ก - WISDOM - กุลสตรี - ALL MAGAZINE - ชีวิตต้องสู้ - แก้จน - HUNT MAGAZINE - ชีวจิต - ฯลฯ

วิทยากรประจำและวิทยากรพิเศษรายการโทรทัศน์ - รายการตีท้ายครัว ช่อง ๓ - รายการทูไนท์ โชว์ ช่อง ๓ - รายการหมุนตามโลก ช่อง ๕ - รายการกล้าคิดกล้าทำ ช่อง ๕ - รายการเรื่องของเรื่อง ช่อง ๕ - รายการกรรมลิขิต ช่อง ๕ - รายการเจาะใจ ช่อง ๕ - รายการเมืองไทยวาไรตี้ ช่อง ๕ - รายการเจาะใจ ช่อง ๕ - รายการสยามทูเดย์ ช่อง ๕ - รายการที่นี่หมอชิต ช่อง ๗ - รายการเช้านี้ที่หมอชิต ช่อง ๗ - รายการ Club 7 ช่อง ๗ - รายการธรรมะวันอาทิตย์ ช่อง ๗ - รายการมอง CEO โลก ช่อง ๙ - รายการสุริวิภา ช่อง ๙ - รายการ VIP ช่อง ๙ - รายการเช้าดูวู้ดดี้ ช่อง ๙ - รายการตาสว่าง ๙ - รายการธรรมส่องทาง สทท. ๑๑ - รายการมหัศจรรย์แห่งปัญญา สทท. ๑๑ - รายการหลงกรุง ช่อง Thai PBS - รายการนิทานแผ่นดิน ช่อง Thai PBS - รายการเปิดโลกการอ่าน ช่อง Thai PBS - รายการพุทธประทีป สถานีโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ (WBTV) - รายการรอยธรรม ASTV - รายการธรรมาภิวัฒน์ ASTV - รายการนาทีธรรม นาทีทอง ช่อง TGN - ฯลฯ

วิทยากรพิเศษทางรายการวิทยุ - รายการ “การเดินทางของความคิด” FM ๙๖.๕ - รายการครอบครัวข่าว FM ๑๐๖.๐ - รายการเพื่อนเยาวชน สถานีวิทยุกองทัพบก FM ๘๙.๐ และ FM ๙๑.๕ - รายการใต้ร่มธงไทย สถานีวิทยุกองทัพบก FM ๘๙.๐ และ FM ๙๑.๕ - รายการคืนพิเศษ คนพิเศษ FM ๑๐๖.๕

ผลงานธรรมะนิพนธ์ที่นำไปประยุกต์เป็นผลงานโทรทัศน์ - รายการชุมชนนิมนต์ยิ้ม ช่อง ๓ - รายการธรรมะติดปีก (วันนักขัตฤกษ์) ช่อง Thai PBS - ละครโทรทัศน์ เรื่อง “ธรรมะติดปีก” ช่อง ๓ - รายการดนตรีกวีศิลป์ ตอน พบกวีพบธรรม ช่อง Thai PBS - รายการดนตรีกวีศิลป์ ตอน กวีนิพนธ์ดลธรรม ช่อง Thai PBS

ผลงานการประพันธ์[แก้]

ธรรมนิพนธ์ภาษาไทย[แก้]

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ[แก้]

แปลโดยนพมาศ แววหงส์

  • Anger Management (ธรรมะหลับสบาย)
  • Looking Death in the Eye (สบตากับความตาย)
  • Love Management (ธรรมะทอรัก)
  • Mind Management (ธรรมะสบายใจ)
  • Happiness is Here and Now (โมงยามแห่งความสุข)
  • Nibbana in Daily Life (นิพพานระหว่างวัน)
  • Dharma at Dawn (ธรรมะรับอรุณ)
  • Dharma at Night (ธรรมะราตรี)
  • Miracle of Sufferings (ความทุกข์มาโปรด ความสุขโปรยปราย)

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาเกาหลี[แก้]

ผลงานธรรมะนิพนธ์ภาคภาษาเกาหลี โดยเรียบเรียงเนื้อหาใหม่จากธรรมะนิพนธ์ ๔ เรื่อง ได้แก่ ธรรมะหลับสบาย ธรรมะทอรัก ธรรมะสบายใจ และสบตากับความตาย

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาญี่ปุ่น[แก้]

ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาสเปน[แก้]

ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย สบตากับความตาย และธรรมะทอรัก

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาจีน[แก้]

ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะหลับสบาย

ผลงานที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอินโดนีเซีย[แก้]

ผลงานธรรมะนิพนธ์ เรื่อง ธรรมะสบายใจ และนิพพานระหว่างวัน

ผลงานกวีนิพนธ์[แก้]

คำสอนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์[แก้]

  • ฆ่าเวลาบาปไม่น้อยกว่าการฆ่าคน[7]
  • คนสมัยก่อนเหาะได้ อย่างมงายในวิทยาศาสตร์[8]
  • เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย[9]
  • อร่อยจนลืมกลับวัด[10]

จุดเริ่มต้นของ"ธรรมะอินเทรนด์"[แก้]

ในปี พ.ศ. 2547ท่าน ว.วชิรเมธีได้ออกหนังสือธรรมะติดปีกมาสู่สายตาประชาชนแล้วปรากฏว่า ได้รับความนิยมมาก จึงได้มีผลงานทางธรรมะออกมาอีก 2 เล่มคือ ธรรมะหลับสบายและธรรมะดับร้อน'ซึ่งทั้งหมด ล้วนได้รับความนิยมเป็ยอย่างสูง จากกระแสความนิยมของหนังสือทั้ง 3 เล่ม จึงทำให้ช่อง 3นำเนื้อหาจากธรรมะติดปีกมาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ จากจุดนี้เองทำให้เกิดกระแสที่ธรรมะกลับมานิยมกันอีกครั้งโดยส่วนมากเรียกว่าธรรมะอินเทรนด์ หรือ ธรรมะติดปีก[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. คู่มือการคัดเลือกผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี 2551[ลิงก์เสีย]
  2. คนไทยคนแรก! "ยูเอ็น" เตรียมถวายตำแหน่ง 'ผู้อุปถัมภ์สันติภาพ' แด่ ว.วชิระเมธี
  3. "จาก คมชัดลึกออนไลน์ วันที่ 3 ธันวาคม 2556". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.
  4. โครงการธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 3
  5. ชีวประวัติ จากเว็บไซต์ ไร่เชิญตะวัน
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ (พระราชาคณะ จำนวน ๖๕ รูป)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-28.
  7. ฆ่าเวลาบาปยิ่งกว่าการฆ่าคน
  8. ว.วชิรเมธี "อย่างมงายในวิทยาศาสตร์"
  9. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี "เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย"
  10. "วิจารณ์ว่อนเนต ว.วชิรเมธี "อร่อยจนลืมกลับวัด"". MThai. 2555-12-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-30. สืบค้นเมื่อ 2556-01-06. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ธรรมะติดปีก ว.วชิรเมธี หนังสือธรรมะอ่านง่ายเข้าใจง่าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-08-31.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]