เอเธล์บาลด์ กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเธลบาลด์
เอเธลบาลด์ในม้วนวงศ์วานของกษัตริย์อังกฤษในช่วงต้นศตวรรษที่ 14
กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์
ดำรงพระยศ13 มกราคม ค.ศ.858 – 20 ธันวาคม ค.ศ.860
ก่อนหน้าเอเธลวูล์ฟ
ถัดไปเอเธลเบิร์ต
ประสูติเวสเซ็กซ์ อังกฤษ
สวรรคต20 ธันวาคม ค.ศ.860
เวสเซ็กซ์
ฝังพระศพเชอร์บอร์นแอบบีย์
คู่อภิเษกจูดิธแห่งฟลานเดอส์
ราชวงศ์เวสเซ็กซ์
พระราชบิดาเอเธลวูล์ฟ
พระราชมารดาออสเบอร์

เอเธลบาลด์ [ภาษาอังกฤษ Aethelbald หรือ Ethelbald] กษัตริย์ของชาวเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่เป็นลูกสาวของข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระองค์และตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ เอเธลวูล์ฟ เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปีค.ศ.855 เอเธลบาล์ดวางแผนกับบิชอปแห่งเชอร์บอร์นและผู้นำท้องถิ่นของซัมเมอร์เซ็ตต่อต้านพระองค์ รายละเอียดของแผนการไม่เป็นที่รู้ แต่เมื่อกลับมาจากโรม เอเธลวูล์ฟพบว่าพระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดเหลือแค่กษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ขณะที่เอเธลบาลด์ควบคุมเวสเซ็กซ์

เอเธลวูล์ฟสวรรคตในปีค.ศ.858 และอำนาจควบคุมเต็มรูปแบบถูกส่งต่อให้เอเธลบาลด์ที่อภิเษกสมรสกับพระมเหสีของพระราชบิดา จูดิธ ทว่าภายใต้แรงกดดันจากศาสนจักรการอภิเษกสมรสถูกประกาศเป็นโมฆะในปีต่อมา พระองค์สวรรคตในปีค.ศ.860 ส่งต่อบัลลังก์ให้พระอนุชา เอเธลเบิร์ท

การกบฏของเอเธลบาลด์[แก้]

เอเธลบาลด์เป็นโอรสที่ยังมีชีวิตอยู่องค์โตของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับพระมเหสีคนแรก ออสเบอร์ ประสูติราวปีค.ศ.831-834 พระราชมารดาของพระองค์ ออสเบอร์ เป็นบุตรสาวของออสแล็ค พ่อบ้านของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟที่ถูกบรรยายได้ว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายของพระราชนัดดาชาวจุ๊ทของพระเจ้าเซอร์ดิค สตัฟและไวท์ก้าร์ ผู้พิชิตเกาะไวท์

ในยุค 840 เอเธลบาลด์รับรองกฎบัตรของพระราชบิดาในฐานะโอรสของกษัตริย์ และในปีค.ศ. 850 พระองค์ได้รับพระราชทานตำแหน่งผู้นำท้องถิ่น ในปีค.ศ.855 เมื่อพระเจ้าเอเธลวูล์ฟเสด็จไปโรม เอเธลบาลด์ได้รับมอบหมายให้ดูแลชาวเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระอนุชา เอเธลเบิร์ทได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งเคนต์และดินแดนตะวันออกเฉียงใต้

ในการเสด็จไปจาริกแสวงบุญเป็นระยะเวลา 12 เดือนที่โรมที่พระราชบิดาของพระองค์ พระเจ้าเอเธลวูล์ฟ ได้พาโอรสองค์เล็กองค์โปรด อัลเฟรด ที่พระองค์ประสงค์จะประกาศชื่อเป็นรัชทายาทไปด้วย ในช่วงที่กษัตริย์ไม่อยู่ เวสเซ็กซ์ถูกบริหารราชการโดยสภารัฐมนตรีภายใต้การเป็นผู้นำร่วมกันของเอเธลบาลด์, นักบุญสวิธิน บิชอปแห่งวินเชสเตอร์ และบิชอบเอลสตานแห่งเชอร์บอร์น การขึ้นครองตำแหน่งก่อนกำหนดทำให้เอเธลบาลด์ได้รับการสวมมงกุฎเป็นกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ที่คิงสตันเหนือเธมส์ก่อนที่พระราชบิดาของพระองค์จะกลับมา

พระเจ้าเอเธลวูล์ฟกลับมาในปีค.ศ.856 พร้อมกับเจ้าสาวคนใหม่ จูดิธ ธิดาของกษัตริย์ของแฟรงก์ ชาร์ลผู้หัวล้าน แอสเซอร์รายงานว่าช่วงที่เอเธลวูล์ฟไม่อยู่ มีการวางแผนขัดขวางการกลับมาของพระองค์ซึ่งแอบวางแผนการกันที่ฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ทั้งโดยเอเธลบาลด์ หรือโดยเอลสตาน บิชอปแห่งเชอร์บอร์น และเอียนวูล์ฟ ผู้นำทองถิ่นแห่งซัมเมอร์เซ็ต หรืออาจจะทั้งสามคน ขณะที่กษัตริย์ของชาวแฟรงก์เดินหน้าสร้างความปลอดภัยให้กับธิดาของพระองค์ ดูไม่น่าเป็นไปได้ที่พระองค์จะยอมส่งตัวธิดาให้กับประเทศที่มีสงครามกลางเมือง เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลบาลด์คงก่อการปฏิวัติหลังจากทราบข่าวการอภิเษกสมรสของพระราชบิดากับจูดิธ เนื่องจากเจ้าหญิงชาวแฟรงก์มีเชื้อสายราชวงศ์เป็นของตัวเองและอาจประสูติรัชทายาทที่คู่ควรกับบัลลังก์มากกว่าพระองค์ แอสเซอร์บันทึกไว้ว่าเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง เอเธลวูล์ฟแบ่งอาณาจักรที่เคยเป็นเอกภาพ มอบหมายส่วนฝั่งตะวันตกให้เอเธลบาลด์และเก็บฝั่งตะวันออกไว้กับตัวอง มันถูกเข้าใจว่าหมายความว่าเอเธลบาลด์ได้เวสเซ็กซ์ ขณะที่เอเธลวูลวูล์ฟปลดเอเธลเบิร์ทออกจากตำแหน่งกษัตริย์แห่งเคนต์ แต่เวสเซ็กซ์และฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ที่เพิ่งพิชิตได้ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นอาณาจักร "ที่เคยเป็นเอกภาพ" ได้ และผู้สมรู้ร่วมคิดของเอเธลบาลด์มาจากฝั่งตะวันตกของเวสเซ็กซ์ ดังนั้นแอสเซอร์และแหล่งข้อมูลอื่นๆอาจหมายความว่าเอเธลวูล์ฟกลับมาปกครองอาณาจักรของพระองค์ เป็นไปได้มากกว่าว่าเอเธลวูล์ฟคงเก็บเวสเซ็กซ์ตอนกลางและฝั่งตะวันออกไว้ ยอมให้เอเธลบาลด์ปกครองเวสเซ็กซ์ฝั่งตะวันตก การไม่เหรียญในพระนามของเอเธลบาลด์อาจหมายความว่าเหรียญของเวสเซ็กซ์อยู่ในพระนามของเอเธลวูล์ฟไปจนพระองค์สวรรคต

การขึ้นครองราชย์[แก้]

ไม่ว่าสถานการณ์ในช่วงระหว่างที่เอเธลวูล์ฟกลับมาในปีค.ศ.856 จนถึงการสวรรคตของพระองค์ในปีค.ศ.858 จะเป็นเช่นไร หลังการสวรรคตของเอเธลวูล์ฟ เอเธลบาลด์ขึ้นเป็นกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของชาวเวสเซ็กซ์ และพระอนุชาของพระองค์ยังคงเป็นกษัตริย์แห่งเคนท์

เอเธลบาลด์ทำให้ตัวพระองค์เองไม่เป็นที่โปรดปรานของศาสนาเป็นอย่างมากอย่างโง่เขลาด้วยการอภิเษกสมรสที่ฉาวโฉ่กับพระมารดาเลี้ยงวัยสิบหก จูดิธแห่งฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ถูกมองว่าเป็นการร่วมประเวณีของญาติที่มีสายโลหิตใกล้ชิดกันและฝ่าฝืนกฎหมายของศาสนา และถูกประณามอย่างรุนแรงโดยแอสเซอร์ในพระราชประวัติของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ของเขา

อนุสรณ์สถานในเชอร์บอร์นแอบบีย์

'ครั้นเมื่อพระเจ้าเอเธลวูล์ฟสวรรคต เอเธลบาลด์ โอรสของพระองค์ ฝ่าฝืนข้อห้ามของพระเจ้าและเกียรติของชาวคริสต์ และยังขัดแย้งกับธรรมเนียมของเหล่าคนนอกรีตทั้งหลาย รับช่วงต่อเตียงอภิเษกสมรสของพระราชบิดาและอภิเษกสมรสกับจูดิธ ธิดาของชาร์ล กษัตริย์ของชาวแฟรงก์ ก่อเกิดความไม่เห็นด้วยครั้งใหญ่จากทุกคนที่ได้ยินเรื่องนี้'

แม้จะมีเรื่องฉาวโฉ่กับพระมารดาเลี้ยง แต่เอเธลบาลด์ก็เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยม พระองค์สวรรคตที่เชอร์บอร์นในดอร์เซ็ตในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.860 พระชนมพรรษาราว 35 พรรษา หลังครองราชย์ได้สี่ปี พระองค์ถูกฝังที่เชอร์บอร์นแอบบีย์ หลุมฝังพระศพของพระองค์และของพระอนุชา เอเธลเบิร์ทแห่งเวสเซ็กซ์ อยู่ในนอร์ธไคร์ไอส์เอลของแอบบีย์

พระองค์ดูเหมือนจะเป็นที่อาลัยอย่างมากของประชาชน แม้บิชอปแอสเซอร์จะบรรยายถึงพระองค์ไว้ว่า "หัวแข็งและเผด็จการ" การถูกจดจำว่านำมาซึ่งการติเตียนของศาสนาจักรจากการอภิเษกสมรสที่ขัดต่อหลักศาสนาทำให้แอสเซอร์มีความคิดเห็นที่เป็นอคติกับกษัตริย์พระองค์นี้

จูดิธแห่งฝรั่งเศส[แก้]

หลังเอเธลบาลด์สวรรคต จูดิธแห่งฝรั่งเศสขายทรัพย์สมบัติในเวสเซ็กซ์และกลับไปฝรั่งเศสบ้านเกิด ที่ซึ่งพระบิดาผู้เจ็บแค้นของพระนาง ชาร์ลผู้หัวล้าน ส่งพระนางเข้าอารามที่ซ็องลิส ช่วงราวคริสต์มาสของปีค.ศ.861 จูดิธหนีไปกับบาลด์วินที่ต่อมาได้เป็นเคานท์แห่งฟลานเดอส์ พระบิดาของจูดิธโกรธมากและสั่งให้เหล่าบิชอปตัดทั้งคู่ออกจากศาสนา ต่อมาพวกพระนางหนีไปอยู่ที่ราชสำนักของพระญาติของจูดิธ โลแธร์ที่ 2 แห่งโลแธริงเกียเพื่อขอการคุ้มกัน ก่อนจะไปหาโป๊ปนิโคลัสที่ 1 เพื่อขอความเมตตา โป๊ปขอให้พระบิดาของจูดิธยอมรับการเสกสมรสว่าเป็นการผูกพันที่ถูกต้องตามกฎหมายและต้อนรับทั้งคู่เข้าสู่ศาสนจักรของพระองค์ ซึ่งสุดท้ายพระองค์ก็ยอมทำตาม หลังจากนั้นทั้งคู่กลับสู่ฝรั่งเศส และจูดิธได้เสกสมรสอย่างเป็นทางการเป็นครั้งที่สามที่โอแซร์ในปีค.ศ.863

จากการเสกสมรสครั้งสาม จูดิธกลายเป็นบรรพบุรุษของราชินีแห่งอังกฤษอีกพระองค์ มาทิลด้าแห่งฟลานเดอส์ (ค.ศ.1031-2 พฤศจิกายน ค.ศ.1083) ธิดาของบาลด์วินที่ 5 เคานท์แห่งฟลานเดอส์ และคู่อภิเษกสมรสของกษัตริย์นอร์มันพระองค์แรก วิลเลี่ยมผู้พิชิต บาลด์วินที่ 2 เคานท์แห่งฟลานเดอส์ (สิ้นพระชนม์ปีค.ศ.918) หนึ่งในโอรสของจูดิธกับบาลด์วินเสกสมรสกับเอลฟ์ธริธ ธิดาของพระอนุชาของเอเธลบาลด์ อัลเฟรดมหาราช

 แหล่งข้อมูล[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์