พระเจ้าอุทัยภัทร
พระเจ้าอุทัยภัทร | |
---|---|
รูปสลักประติมากรรมของพระเจ้าอุทัยภัทร | |
กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ มหาราชาหรยังกะองค์ที่ 3 | |
ครองราชย์ | ป. 460 – 444 ปีก่อน ค.ศ. |
ก่อนหน้า | พระเจ้าอชาตศัตรู |
ถัดไป | พระเจ้าอนุรุทธะ [1] |
สวรรคต | 444 ปีก่อน ค.ศ. |
ราชวงศ์ | หรยังกะ |
พระราชบิดา | พระเจ้าอชาตศัตรู |
พระราชมารดา | วชิระ |
ศาสนา | เชน, พุทธ |
พระเจ้าอุทัยภัทร (ป. 460-444 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นกษัตริย์แห่งแคว้นมคธในอินเดียโบราณ ตามเรื่องราวของศาสนาพุทธและเชน พระองค์คือพระราชโอรสและผู้สืบทอดราชบังลังก์ต่อจากพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งหรยังกะ พระเจ้าอุทัยภัทรได้วางรากฐานของเมืองปาฏลีบุตรที่บรรจบกันของแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำซันกับแม่น้ำคงคา พระองค์ย้ายเมืองหลวงจากกรุงราชคฤห์ไปยังปาฏลีบุตร เนื่องจากเวลาต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวรรดิ
บรรพบุรุษ
[แก้]รายงานจากข้อมูลพุทธ ผู้สืบทอดของพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธได้แก่ พระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอุทัยภัทร พระเจ้าอนุรุทธะ พระเจ้ามุณฑะ และพระเจ้านาคทาสกะ[2] ธรรมเนียมเชนกล่าวถึงพระเจ้าอุทัยภัทรเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดของพระเจ้าอชาตศัตรู[3] พระเจ้าพิมพิสาร (ป. 558 – 491 ปีก่อน ค.ศ.) อชาตศัตรู (ป. 492–460 ปีก่อน ค.ศ.) และอุทัยภัทร (ป. 460–440 ปีก่อน ค.ศ.) แห่งราชวงศ์หรยังกะเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาเชน[4] อย่างไรก็ตาม ปุราณะระบุพระนามผู้สืบทอดของพระเจ้าพิมพิสารเป็นอชาตศัตรู, Darshaka, อุทัยภัทร, Nandivardhana และ Mahanandin[2][5] มัสยาปุราณะระบุ Vamsaka เป็นผู้สืบทอดของพระเจ้าอชาตศัตรู[6] เนื่องจากปุราณะรวบรวมขึ้นทีหลัง ทำให้ธรรมเนียมพุทธดูน่าเชื่อถือกว่า[2] พระเจ้านาคทาสกะในพงศาวดารพุทธถูกระบุในปุราณะเป็น "Darshaka"[7]
ศาสตราจารย์ H. C. Seth (1941) ระบุพระเจ้าอุทัยภัทรเข้ากับพระเจ้า Udayana ที่ปรากฏในบทละครสันสกฤต Svapnavasavadatta[6] เสวียนจั้ง นักเดินทางชาวจีน ระบุว่า ลูกหลานรุ่นสุดท้ายของพระเจ้าพิมพิสารสร้างสังฆารามที่ Tiladaka โดย Seth ตั้งทฤษฎีว่าลูกหลานรุ่นสุดท้ายคือ Darshaka และพระเจ้าอุทัยภัทรสถาปนาราชวงศ์ใหม่ ตามข้อบ่งชี้ถึงการย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์ไปยังปาฏลีบุตร[8] Liladhar B. Keny (1943) วิจารณ์ทฤษฎีของ Seth ว่าไม่ถูกต้อง โดยเขารายงานว่า Udayana ใน Svapnavasavadatta เป็นกษัตริย์คนละพระองค์ที่ปกครองอาณาจักรวัตสะ โดยมีโกสัมพีเป็นเมืองหลวง[6]
R. G. Bhandarkar สังเกตว่าพระนาม Darshaka (ทาสกะ) มีคำนำหน้าในพงศาวดารพุทธว่า "นาค" ซึ่งอาจสื่อถึงการสละความเกี่ยวข้องกับผู้สืบทอด และความผูกพันต่อนาคแห่งปัทมวดี สิ่งนี้กล่าวโดยนัยว่าพระองค์อาจมาจากคนละตระกูลและกลายเป็นกษัตริย์ประมาณสามรุ่นหลังจากพระเจ้าอชาตศัตรู ไม่ได้สืบทอดอำนาจจากพระองค์[9]
พระชนม์ชีพและรัชสมัย
[แก้]ธรรมเนียมพุทธระบุว่าพระเจ้าอุทัยภัทรเป็นพระราชโอรสองค์โปรดของพระเจ้าอชาตศัตรู และมีชีวิตในรัชสมัยพระเจ้าพิมพิสาร พระอัยกา เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูพบกับพระโคตมพุทธเจ้า อุทัยภัทรยังคงเป็นเจ้าชายหนุ่ม[7] พระเจ้าอุทัยภัทรครองราชย์ในช่วง ป. 460-444 ปีก่อน ค.ศ.[10] สถาปนาเมืองหลวงที่ปาฏลีบุตรตรงบริเวณที่แม่น้ำซันกับแม่คงคาบรรจบกัน[11] พระราชบิดาของพระองค์สร้างป้มที่นั่นเพื่อผลักการรุกรานที่เป็นไปได้ของปรัทโยตจากอวันตี พระเจ้าอุทัยภัทรย้ายเมืองหลวงไปที่ปาฏลีบุตร อาจเป็นเพราะเมืองนั้นเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรที่กำลังเติบโต[3]
พระองค์เอาชนะ Palaka แห่งอวันตีหลายครั้ง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกสังหารโดย Palaka ใน 444 ปีก่อน ค.ศ.[12] ปุราณะกล่าวถึง Nandivardhana เป็นผู้สืบมอดของพระเจ้าอุทัยภัทร อย่างไรก็ตาม พงศาวดารพุทธศรีลังการะบุว่าพระเจ้าอนุรุทธะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พงศาวดารเหล่านี้ยังระบุด้วยว่า กษัตริย์ทั้งหมดนับตั้งแต่พระเจ้าอชาตศัตรูถึงพระเจ้านาคทาสกะทำการปิตุฆาต[3] ตำราเชนระบุว่าพระเจ้าอุทัยภัทรถูกสังหารโดยมือสังหารของอาณาจักรศัตรู[11] เนื่องพระองค์ไม่มีพระราชโอรสธิดา เหล่าอำมาตย์จึงเลือกนันทะเป็นผู้สืบทอดต่อ[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Anuruddha".
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Keny 1943, p. 61.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 V. K. Agnihotri, บ.ก. (2010). Indian History. Allied Publishers. p. A-168. ISBN 978-81-8424-568-4.
- ↑ Glasenapp, Helmuth von (1999). Jainism: An Indian Religion of Salvation (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publ. ISBN 978-81-208-1376-2.
- ↑ Upinder Singh 2016, p. 273.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Keny 1943, p. 63.
- ↑ 7.0 7.1 Keny 1943, p. 62.
- ↑ Keny 1943, pp. 61–64.
- ↑ Bhandarkar, Devadatta Ramkrishna (1918). "Lectures on the ancient history of India, on the period from 650 to 325 B. C." University of Calcutta. pp. 71–72.
- ↑ R.S. Sharma (2006). India's Ancient Past. Oxford University Press India. p. 158. ISBN 978-0-19-908786-0.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Natubhai Shah 2004, p. 42.
- ↑ Kailash Chand Jain 1972, p. 102.
ข้อมูล
[แก้]- Jain, Kailash Chand (1972), Malwa Through the Ages (First ed.), Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0805-8
- Keny, Liladhar B. (1943). "The supposed identification of Udayana of Kauśāmbi with Udayin of Magadha". Annals of the Bhandarkar Oriental Research Institute. Bhandarkar Oriental Research Institute. 24 (1/2): 60–66. JSTOR 41784405.
- Singh, Upinder (2016), A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century, Pearson PLC, ISBN 978-81-317-1677-9
- Shah, Natubhai (2004) [First published in 1998], Jainism: The World of Conquerors, vol. I, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1938-2