พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าสวาซอเก)
พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา
พระเจ้าอังวะ
ครองราชย์5 กันยายน ค.ศ. 1367 – เมษายน ค.ศ. 1400
ราชาภิเษก29 มีนาคม ค.ศ. 1368 หรือ
(16 มีนาคม ค.ศ. 1368)
ก่อนหน้าพระเจ้าตะโดมินพญา
ต่อไปพระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ
มุขยมนตรีMin Yaza
ผู้ว่าแห่ง Amyint
ครองราชย์ค.ศ. 1351 – 5 กันยายน ค.ศ. 1367
ถัดไปTuyin Theinzi
ผู้ว่าแห่งยะแมสิน
ครองราชย์ค.ศ. 1351
ก่อนหน้าThihapate
ถัดไปThilawa
ผู้ว่าแห่ง Talok
ครองราชย์ป. ค.ศ. 1344 – 1351
ถัดไปYazathu
ประสูติ16 กรกฎาคม ค.ศ. 1330
วันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน Wagaung 692 ME
ตะแยะ, อาณาจักรปี้นยะ
สวรรคตเมษายน ค.ศ. 1400 (69 พรรษา)
ป. เดือน Kason 762 ME
อังวะ, อาณาจักรอังวะ
ชายาKhame Mi
Shin Saw Gyi
Saw Omma
Saw Taw Oo
พระราชบุตร
และพระองค์อื่น...
พระเจ้าตราพระยา
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
Theiddat
Thupaba Dewi
ราชวงศ์ปี้นยะ
พระราชบิดาMin Shin Saw
พระราชมารดาShin Myat Hla
ศาสนาพุทธเถรวาท

พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวา (พม่า: ဘုရင်မင်းကြီးစွာ) หรือ มีนจีชวาซอเก (พม่า: မင်းကြီးစွာစော်ကဲ, ออกเสียง: [mɪ́ɰ̃.d͡ʑí swà sɔ̀ kɛ́]; รู้จักกันในนาม စွာစောကဲ[1]; 1330–1400) พระเจ้าอังวะองค์ที่ 2 ครองสิริราชสมบัติระหว่าง ค.ศ. 1367 ถึง 1400 หลังจากพระเจ้าตะโดมินพญา ปฐมกษัตริย์สวรรคตอย่างกระทันหันด้วยโรคฝีดาษ ระหว่างทำสงครามบุกลงใต้เพื่อขยายดินแดน โดยพระปณิธานที่สำคัญของพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาคือการรวบรวมแผ่นดินและสถาปนาอาณาจักรพุกาม ที่ล่มสลายไปเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1280 ขึ้นมาอีกครั้งตามที่พระเจ้าตะโดมินพญาได้ตั้งพระทัยเอาไว้[2]

นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นผู้ก่อให้เกิดสงครามครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของชาวพม่าและชาวมอญคือ สงครามสี่สิบปี เมื่อ ค.ศ. 1384 โดยเป็นการปะทะกันระหว่างกรุงอังวะของชาวพม่าและกรุงหงสาวดี ของชาวมอญที่นำโดยกษัตริย์หนุ่มอย่างพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งกรุหงสาวดี หลังจากความพ่ายแพ้ถึง 3 ครั้งของกองทัพอังวะพระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาจึงตัดสินพระทัยพักรบกับหงสาวดีเมื่อ ค.ศ. 1391[3][4]

พระเจ้าฝรั่งมังศรีชวาสวรรคตเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1400 ขณะพระชนมายุได้ 70 พรรษา โดยองค์รัชทายาทได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็นพระเจ้าตราพระยาแห่งอังวะ[1]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Than Tun 1959: 128
  2. Htin Aung 1967: 87−88
  3. Hmannan Vol. 1 2003: 431
  4. Hmannan Vol. 1 2003: 432