พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2438 - พ.ศ. 2446
ถัดไปพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์)
ประสูติ27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406
สิ้นพระชนม์5 เมษายน พ.ศ. 2466 (59 ปี)
หม่อมหม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมนุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมชุ่ม วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา
พระบุตร7 พระองค์
ราชสกุลวัฒนวงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาบัว ในรัชกาลที่ 4

มหาอำมาตย์โท นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้บังคับการกรมทหารรักษาพระองค์ อัครราชทูตพิเศษประจำกรุงปารีส และข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์[1]

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 63 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาบัว (ธิดาเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)) ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 7 ขึ้น 10 ค่ำ ปีกุนเบญจศก จ.ศ. 1225 ตรงกับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 พระองค์มีศักดิ์เป็นพระราชปนัดดาในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทางฝั่งพระมารดา มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมเจ้าจอมมารดา 5 พระองค์ ได้แก่

  1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมลักษณเลิศ (ประสูติ พ.ศ. 2398 พระชันษา 2 ปี)
  2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนศิริธัชสังกาศ (พ.ศ. 2400-2453)
  3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา (พ.ศ. 2402-2449)
  4. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (พ.ศ. 2406-2466)
  5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดำรงฤทธิ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระชันษา 3 ปี)

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[2] เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114)

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงศักดินา 15000[3]

พระตำหนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ตั้งอยู่ท้ายเกาะลอย เรียกว่าตำหนักตะพานเกลือ เนื่องมีวัดตะพานเกลือ หรือ สะพานเกลือเป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ในละแวกนั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยต่อเรือพระนครศรีอยุธยา)

วังของพระองค์ ปัจจุบันคือ โรงเรียนเบญจมราชาลัย[4] โดยพระองค์ได้ทรงอุทิศให้รัฐบาลเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ ประชวรพระวักกะพิการมานาน อาการทรงและทรุดเรื่อยมาจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2466 เวลา 01:45 น. สิริพระชันษา 59 ปี 313 วัน เวลา 18:00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานตั้งพระลองบนแว่นฟ้า 2 ชั้น แล้วประกอบพระโกศกุดั่นน้อย ตั้งเครื่องยศ[5]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[6]

การทรงงาน[แก้]

พระองค์ทรงรับราชการดังนี้

  • พ.ศ. 2430 รับพระราชทานพระยศนายพันโท[7]
  • 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2430 ดำรงตำแหน่งองคมนตรีในรัชกาลที่ 5[8][9]
  • วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2432 รับพระราชทานพระยศนายพันเอก[10]
  • วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2434 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นราชองครักษ์[11] ทรงรับราชการในกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภราชองครักษ์
  • พ.ศ. 2434 ทรงรับตำแหน่งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส กรุงโรม กรุงมาดริด และกรุงลิสบอน[12]
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2434 ทรงเข้ากราบถวายบังคมลา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ได้รับพระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์และทรงเจิม[13]
  • 27 กันยายน พ.ศ. 2434 เสด็จประทับเรือกลไฟใหญ่ออกจากกรุงเทพมหานคร[14] และเสด็จกลับถึงพระนคร[15] เมื่อ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2438
  • 28 มกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับตำแหน่งรัฐมนตรี[16] (คือกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน) ทรงดำรงตำแหน่งจนถึง 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122)
  • พ.ศ. 2440 ได้รับพระราชทานพระยศนายพลตรี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดระเบียบการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ภายใต้ดูแลของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้รวมเอา 8 หัวเมือง คือ กรุงเก่า (พระนครศรีอยุธยา) อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี อินทบุรี (ปัจจุบันคืออำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พรหมบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) พระพุทธบาท (ปัจจุบันคืออำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี) และสิงห์บุรีเข้าเป็นมณฑลกรุงเก่า และตั้งที่ว่าการมณฑลที่มณฑลกรุงเก่า เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2438 (ร.ศ. 114) พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลของมณฑลกรุงเก่าพระองค์แรก[17]

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีณบุรีแทนพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ที่ลาออกจากตำแหน่ง[18]

นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ เป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และมณฑลปราจีณบุรีในคราวเดียวกัน จนเมือ พ.ศ. 2449 (ร.ศ. 125) พระองค์ได้ทรงขอพระราชทานพ้นจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า[19] เพื่อปกครองมณฑลปราจีณบุรีแต่เพียงมณฑลเดียว[20][21] โดยทรงดำรงตำแหน่งถึงปี พ.ศ. 2458

พระโอรสและธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ทรงเป็นต้นราชสกุลวัฒนวงศ์ มีหม่อม 3 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมเชื้อสาย (สกุลเดิม: บุนนาค) ธิดาพระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค)
  2. หม่อมนุ่ม (สกุลเดิม: บุนนาค)
  3. หม่อมชุ่ม

โดยมีพระโอรสพระธิดารวมทั้งหมด 7 พระองค์ ดังนี้

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าสุวัฒนวิสัย ที่ 1 ในหม่อมเชื้อสาย พ.ศ. 2439 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447
2. หม่อมเจ้าเกรียงไกรมรุพล ที่ 2 ในหม่อมเชื้อสาย กันยายน พ.ศ. 2441 5 มกราคม พ.ศ. 2464
3. หม่อมเจ้าหญิงสุวคนธ์ประทุม ที่ 3 ในหม่อมเชื้อสาย พ.ศ. 2444 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2448
4. หม่อมเจ้าหญิงจงกลนี ที่ 4 ในหม่อมเชื้อสาย 10 เมษายน พ.ศ. 2452 1 มิถุนายน พ.ศ. 2508
5. หม่อมเจ้าตรีอนุวัตน์ ที่ 1 ในหม่อมนุ่ม 23 มกราคม พ.ศ. 2457 12 กันยายน พ.ศ. 2491 หม่อมนิดาภา (ปุณฑริก)
6. หม่อมเจ้าหญิงรัตนกมล หม่อมชุ่ม 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2461 1 กันยายน พ.ศ. 2550
7. หม่อมเจ้าวัตนานุวัฒน์ (ท่านชายนิด) ที่ 2 ในหม่อมนุ่ม 7 มีนาคม พ.ศ. 2464 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 หม่อมประทุม (ศิริทรัพย์)
ไฟล์:พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์.jpg
หม่อมเชื้อสาย วัฒนวงศ์ ณ อยุธยา

พระเกียรติยศ[แก้]

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2406 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2438)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (29 มีนาคม พ.ศ. 2438 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระยศ[แก้]

นายพลตรี นายกองตรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์
รับใช้กองทัพบกสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ พลตรี
นายกองตรี

พระยศทหาร[แก้]

  • 27 เมษายน พ.ศ. 2432: นายพันเอก[10]
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2450: นายพลตรี[23]

พระยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์โท[24]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • นายหมู่ใหญ่
  • นายกองตรี[25]
  • นายกองโท[26]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 138. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศการสถาปนา พระเจ้าน้องยาเธอ พระวรวงษ์เธอ เปนต่างกรม แลสถาปนา หม่อมเจ้าเปนพระองคเจ้า แลเลื่อนตำแหน่งยศข้าราชการผู้ใหญ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 13 (1): 18. 5 เมษายน ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 245–246. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. https://www.br.ac.th/home2017/index.php/2016-12-26-02-05-11/2016-12-28-06-22-01
  5. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 40 (ง): 78. 8 เมษายน 2466. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ราชกิจจานุเบกษา,การพระเมรุท้องสนามหลวง เล่ม 40, ตอน ง, 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466, หน้า 4101
  7. พระราชทานสัญญาบัตร
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  9. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  10. 10.0 10.1 พระราชทานสัญญาบัตรพลเรือนและทหาร (หน้า 36)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม 8, ตอน 24, 13 กันยายน พ.ศ. 2434, หน้า 220
  12. ราชทูตสยาม
  13. ราชทูตวิเศษ ผู้ช่วยทูต นักเรียนถวายบังคมลา
  14. ราชทูตวิเศษ ผู้ช่วยทูต นักเรียนถวายบังคมลา (หน้า 237)
  15. ข่าวพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวัฒนานุวงษ์ เสด็จกลับจากประเทศยุโรป
  16. "การรับตำแหน่งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (44): 431. 2 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 114. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/030/394_1.PDF
  18. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอลังการ ขอลาออกจากตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาล มณฑลปราจีนบุรี ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์ รั้งตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 20 (36): 629. 6 ธันวาคม ร.ศ. 122. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  19. https://www.br.ac.th/home2017/index.php/2016-12-26-02-05-11/2016-12-29-03-52-19
  20. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย [เรื่อง พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมรุพงษ์ขอพระราชทานพ้นจากข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาโบราณบุรานุรักษ์เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า]" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (9): 183. 3 มิถุนายน ร.ศ. 125. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  21. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/2218.PDF
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
  23. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  24. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย
  25. พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
  26. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/2216.PDF
  27. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 8, ตอน 52, 27 มีนาคม พ.ศ. 2434, หน้า 469
  28. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วันที่ 5 ธันวาคม รัตนโกสินทร์ ศก 131, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 29 ธันวาคม พ.ศ. 2455, หน้า 2207
  29. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455, หน้า 1829
  30. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/1900.PDF
  31. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/044/1194.PDF
  32. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/037/403.PDF
  33. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 17, ตอน 30, 21 ตุลาคม พ.ศ. 2443, หน้า 396
  35. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/035/1012.PDF
  36. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/026/283.PDF
  37. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/029/829_1.PDF
  38. "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 7 (ตอน 36): หน้า 315. 7 ธันวาคม2432. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  39. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันสวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 74. ISBN 978-974-417-594-6

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง