ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้ามูยอลแห่งซิลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้ามูยอลแห่งซิลลา
พระราชาแห่งชิลลา องค์ที่ 29
ครองราชย์ค.ศ. 654 - ค.ศ. 661
ราชาภิเษกค.ศ. 654
ก่อนหน้าจินด๊อก
ถัดไปมุนมู
ประสูติค.ศ. 602
เจ้าชายคิมชุนชู
สวรรคตค.ศ. 661
มเหสีพระมเหสีมุนมยอง
พระราชบุตรเจ้าชายคิมบ๊อพมิน , พระเจ้ามุนมู
พระนามเต็ม
พระเจ้ามูยอลแห่งชิลลา
ราชวงศ์ราชวงศ์ชิลลา
พระราชบิดาคิมยองซู
พระราชมารดาเจ้าหญิงชอนมยอง
ช่วงเวลา
เหตุการณ์สำคัญผนวก อาณาจักรแพ็กเจ เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของชิลลา


พระเจ้ามูยอลแห่งซิลลา
ชื่อเกิด
ฮันกึล
김춘추
ฮันจา
金春秋
อาร์อาร์Gim Chun-chu
เอ็มอาร์Kim Ch'unch'u

พระเจ้ามูยอล (เกาหลี: 태종 무열왕, ค. ค.ศ. 654 – ค.ศ. 661) กษัตริย์ลำดับที่ 29 แห่งอาณาจักรซิลลา หนึ่งในสามก๊กแห่งเกาหลี

พระเจ้ามูยอล มีพระนามเดิมว่า คิม ชุน ชู เป็นพระโอรสของ องค์หญิงชอนมยอง พระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าจินพยองพระราชาลำดับที่ 26 กับ คิม ยอง ซู พระโอรสในพระเจ้าจินจีพระราชาลำดับที่ 25 ทำให้เจ้าชายคิมชุนชูเป็นเจ้าชายที่เป็นกระดูกบริสุทธิ์หรือ ซองโกล (Seonggol) พระเจ้ามูยอลขึ้นครองราชย์ต่อจาก พระนางชินด็อกแห่งชิลลา และได้อภิเษกกับมุนมยอง น้องสาวของคิม ยูชิน ที่ต่อมาได้เป็นแม่ทัพแห่งอาณาจักรซิลลาเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยโอรสของพระองค์คือเจ้าชายคิม บย็อพมินรวบรวมทั้งสามก๊กก่อตั้งเป็นอาณาจักรและสถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้ามุนมู

พระเจ้ามูยอลมีความต้องการที่จะรวม 3 แคว้นให้เป็นหนึ่งเดียวก่อนพระองค์จะครองราชย์ได้กราบทูลองค์ราชินีชินด็อกเพื่อไปยัง ราชวงศ์ถัง เพื่อผูกความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศซึ่งขณะนั้นชิลลาต้องเผชิญกับการสู้รบกับแพคเจพระองค์ได้เข้าพบกับฮ่องเต้ถังไท่จงและได้ทำสัญญาเมื่อไรที่ชิลลาจะยกทัพไปยังแพคเจพระองค์จะส่งทหารจากถังไปช่วยชิลลาแต่ในขณะนั้นพระองค์ต้องเจอกับแรงกดดันจากเหล่าขุนนางแห่งชิลลาเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องพึ่งราชวงศ์ถังในการทำสงครามทั้งนี้รวมถึงแม่ทัพคิมยูชินซึ่งทั้งคู่จึงมีความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดีในเวลานั้นอันผลจากในขณะนั้นพระองค์ยังเป็นเพียงแค่ขุนนางเท่านั้นทั้งยังเอาใจถังโดยการให้ราชสำนักชิลลาแต่งชุดขุนนางถังและที่สำคัญยังใช้ศักราชเป็นของถังทำให้เหล่าขุนนางคิดว่าคิมชุนชู (หรือพระเจ้ามูยอล) มีการทำสัญญาลับ ๆ เพื่อที่จะยกชิลลาให้ถังแต่ด้วยความที่องค์ราชินีชินด็อกเชื่อใจพระองค์ จึงร่วมกันผลักดันนโยบายของคิมชุนชู

จนในปี ค.ศ.654 คิมอัลชอน ขุนนางผู้ใหญ่ที่เป็นเชื้อพระวงศ์ได้จัดการประชุมผู้นำเหล่าจินกอตอนแรกนั้นข้าราชบริพารได้แนะนำให้คิมอัลชอนขึ้นครองราชย์ต่อแต่เนื่องด้วยอัลชอลได้ร่วมมือกับทาง โคกูรยอ เพื่อร่วมกันกำจัดถังและคิมชุนชูทำให้แม่ทัพใหญ่อย่างคิมยูชินได้โต้แย้งไม่ยอมรับการเป็นผู้สำเร็จราชการแต่ด้วยอัลชอนสำนึกผิดต่อเหตุการณ์จึงปฏิเสธไปทำให้คิมชุนชูได้ขึ้นครองราชย์ต่อและได้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้ามูยอล เมื่อคิมชุนชูขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ามูยอลได้ยกพระธิดาองค์ที่ 3 ของตนเองให้แต่งงานกับคิมยูชินที่อยู่ในวัย 59 ปีทั้งนี้เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีเนื่องจากขณะนั้นอำนาจทางการทหารส่วนมากอยู่ภายใต้อำนาจของคิมยูชิน

ซึ่งพระองค์ได้สัญญากับคิมยูชินไว้ว่าหากเมื่อทำสงครามกับแพคเจสิ้นสุดลงแล้วและรวมถึงการรวม 3 อาณาจักรแล้วหากถังเข้าแทรกแซงทางการเมืองหรือเป็นปรปักษ์ต่อ 3 อาณาจักรคิมยูชินจะสามารถยกกองทัพโจมตีถังได้ทันทีด้วยเหตุนี้ทำให้คิมยูชิน เข้าใจในพระองค์

ค.ศ. 660 ภายใต้การปกครองของพระเจ้ามูยอลที่ครอบครองอำนาจทางการเมืองของอาณาจักรชิลลาได้อย่างเด็ดขาดและการนำทัพของนักการทหารผู้มากความสามารถอย่างคิมยูชินซึ่งได้วางแผนผนึกกำลังกับราชวงศ์ถังเข้าโจมตีอาณาจักรแพคเจ ภายใต้การนำทัพโดยคิมยูชินกองทัพพันธมิตร ถัง – ซิลลา ซึ่งมีรี้พลร่วมสองแสนนายเข้าโจมตีแพคเจและยึดเมืองซาบีเมืองหลวงของแพคเจรวมทั้งจับตัวพระเจ้าอึยจากษัตริย์องค์สุดท้ายของแพคเจรวมทั้งพระราชวงศ์เกือบทั้งหมดได้อย่างไรก็ตามไม่นานจากนั้นประชาชนทางภาคเหนือของแพคเจก็ได้ก่อกบฏต่อต้านการปกครองของต้าถังกับซิลลาโดยแม่ทัพชาวแพคเจชื่อบ็อคซินได้พยายามนำกองทหารเข้ายึดเมืองทั้งสี่สิบเมืองที่เสียไปกลับคืนทั้งยังได้อัญเชิญเจ้าชายบูโยปังที่ประทับอยู่ที่ญี่ปุ่นมาเป็นประมุขของกองกำลังกู้ชาติและสถาปนาเจ้าชายขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของแพคเจ

ค.ศ. 661 พระเจ้ามูยอลเสด็จสวรรคตพระเจ้ามุนมูพระราชโอรสของพระเจ้ามูยอลก็ขึ้นครองราชย์สืบต่อมาและในปีเดียวกันในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.661 แม่ทัพอาเบะโนะฮิราฟุพร้อมเรือรบ170ลำและทหาร 5,000 นายได้มาถึงเขตควบคุมของกองกำลังกู้ชาติแพคเจก่อนที่กำลังทหารญี่ปุ่น 27000 นายที่นำโดยคามิสึเคโนะโนะคิมิวะคะโคะและกองทหารอีกหนึ่งหมื่นนายที่นำโดยโอะฮาระโนะคิมิจะมาถึงในต้นปี ค.ศ.662

ค.ศ.662 แม้ว่ากองกำลังกู้ชาติจะประสบความสำเร็จในการต่อต้านกองทัพถังและซิลลาทว่าในปีพวกเขาก็เกิดปัญหาขัดแย้งภายในอีกทั้งเมืองหลวงใหม่ที่ป้อมชูริวก็ถูกข้าศึกปิดล้อมและในระหว่างนั้นเองแม่ทัพบ็อคซินก็ถูกสังหาร

แม้สถานการณ์กำลังสิ้นหวัง ทว่าแพคเจก็ยังเหลือพันธมิตรสำคัญอยู่ นั่นคือ อาณาจักรยามาโตะแห่งญี่ปุ่น ซึ่งนับแต่อดีต แพคเจและราชวงศ์ยามาโตะได้มีความสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรที่ยาวนานนับร้อยปี นอกจากนี้พระราชวงศ์ทั้งสองฝ่ายยังมีความผูกพันทางสายเลือดกันด้วยโดยชาวญี่ปุ่นเรียกแคว้นแพคเจ ว่า คุดาระ ซึ่งการล่มสลายของซาบีเมืองหลวงของแพคเจใน ค.ศ.660 ทำให้บรรดาพระราชวงศ์ของยามาโตะตระหนกตกใจเป็นอันมาก

พระจักรพรรดินีไซเมอิและยุพราชนากาโนะโอเอะ (ซึ่งต่อมาคือ จักรพรรดิเทนจิ)ตัดสินพระทัยส่งกองทัพไปช่วยเหลือแพคเจฟื้นฟูอาณาจักร โดยทรงให้ อาเบะโนะฮิราฟุเป็นแม่ทัพนำกองทัพจำนวนพล 42000นายข้ามไปยังคาบสมุทรเกาหลี

ในการส่งกองทัพเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ครั้งนี้ จักรพรรดินีไซเมอิทรงย้ายเมืองหลวงเป็นการชั่วคราวไปที่อาซาคุระซึ่งอยู่ใกล้กับท่าเรือในภาคเหนือของเกาะคิวชู เพื่อทรงควบคุมการเคลื่อนพล ทว่าหลังจากกองทหารยามาโตะชุดสุดท้ายเคลื่อนพลไปแล้ว พระนางก็สวรรคต องค์ยุพราชนากาโนะได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเทนจิ

ค.ศ.663 กองทัพเรือพันธมิตรแพคเจและยามาโตะได้เคลื่อนพลเข้าสู่ภาคใต้ของแพคเจเพื่อทำลายการปิดล้อมป้อมชูริวของกองทัพซิลลา กองเรือยามาโตะส่งทหารราบขึ้นบกเข้าสู่ป้อมชูริวใกล้แม่น้ำเกอุม(Geum) และสลายการปิดล้อมของข้าศึกได้ ทว่ากองทัพถังได้ส่งทหาร 7,000 นายพร้อมเรือรบ 170 ลำเข้าสกัดกองหนุนของฝ่ายยามาโตะ

แม้กองทัพยามาโตะจะมีกำลังพลมากกว่า แต่การที่แม่น้ำช่วงนั้นแคบทำให้กองเรือต้าถังสามารถรักษาที่มั่นของตนไว้ได้ ขณะที่ฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ยกพลเข้าตีถีงสามครั้งแต่ก็ต้องล่าถอยออกมาทุกครั้งจนกำลังพลเริ่มอ่อนแอลง

ฝ่ายกองทัพราชวงศ์ถังได้ฉวยโอกาสที่กองทัพข้าศึกอ่อนแรง เคลื่อนพลรุกกลับอย่างฉับพลันและทำลายเรือรบญี่ปุ่นลงไปเป็นอันมาก ทหารยามาโตะจำนวนมากจมน้ำตายและถูกสังหารด้วยอาวุธ นายทัพยามาโตะ นามว่า อิชิโนะตาคุสึ ถูกทหารจีนรุมสังหารสิ้นชีพในสนามรบ

การรบครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเรือรบ 400 ลำ และกำลังทหารกว่าหนึ่งหมื่นนาย ในเวลาเดียวกัน ซิลลาก็ส่งกองทหารม้าเข้าตีกองทหารราบแพคเจที่กำลังรอกองหนุนจากทัพเรือยามาโตะจนแตกพ่ายและกองทัพซิลลาก็เข้ายึดป้อมชูริวได้สำเร็จในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.663 กษัตริย์บูโยปังทรงลงเรือพร้อมผู้ติดตามจำนวนหนึ่งหลบหนีไปโกคูรยอ

ยุทธการแบคกังเป็นความพ่ายแพ้ในการรบนอกประเทศ ครั้งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในยุคโบราณ(ไม่นับการรุกรานเกาหลีของฮิเดโยชิในศตวรรษที่ 16) โดยนอกจากจะสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมากแล้ว ยังเสียที่มั่นและพันธมิตรสำคัญบนแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกไปด้วย ส่วนอาณาจักรแพคเจนั้น ความพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้ได้ดับความหวังทั้งมวลที่จะฟื้นฟูอาณาจักรอีกครั้ง ชาวแพคเจจำนวนมากได้ลี้ภัยไปอยู่ในโกคูรยอและบางส่วนก็ข้ามไปญี่ปุ่น

สำหรับราชวงศ์ถัง ชัยชนะเหนืออาณาจักรแพคเจทำให้พวกเขาได้ควบคุมพื้นที่เดิมของแพคเจและสร้างฐานทัพทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลีเพื่อประสานกับซิลลาในการเข้ารุกรานโกคูรยอ โดยกองทัพพันธมิตรซิลลา – ราชวงศ์ถังได้เข้ายึดกรุงเปียงยาง เมืองหลวงของโกคูรยอได้ในปี ค.ศ.668

หลังจากพิชิตโกคูรยอลงได้ ราชวงศ์ถังกับซิลลาก็ขัดแย้งกันจนกลายเป็นสงคราม และแม้ว่ากองทัพซิลลาจะขับไล่ทหารจีนออกจากคาบสมุทรได้ ทว่าดินแดนเดิมของโกคูรยอส่วนที่อยู่เหนือคาบสมุทรเกาหลีก็ถูกผนวกเข้ากับจีน ส่วนซิลลาได้ครอบครองส่วนที่เป็นคาบสมุทรเกาหลีทั้งหมดและถือเป็นการปิดฉากยุคสามก๊กแห่งเกาหลี

เรียกได้ว่าพระองค์เป็นผู้วางรากฐานในการปกครองสามอาณาจักรซึ่งถือได้ว่าพระองค์มีความสามารถมากในการปกครอง

อ้างอิง

[แก้]