พระเจ้าฟอร์ตูน การ์เซสแห่งปัมโปลนา
พระเจ้าฟอร์ตูน การ์เซส | |
---|---|
กษัตริย์แห่งปัมโปลนา | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 870–905 |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซแห่งปัมโปลนา |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งปัมโปลนา |
สิ้นพระชนม์ | ค.ศ. 922 |
ฝังพระศพ | อารามเลย์เร |
พระมเหสี | ออเรีย |
ราชวงศ์ | อิญญิเกวซ |
พระบิดา | พระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซแห่งปัมโปลนา |
พระมารดา | อูร์รากา |
ฟอร์ตูน การ์เซส (สเปน: Fortún Garcés, บาสก์: Orti Gartzez) หรือ ผู้มีตาเดียว (สเปน: el Tuerto) หรือ ผู้เป็นพระ (สเปน: el Monje) เป็นกษัตริย์แห่งปัมโปลนาตั้งแต่ ค.ศ. 882 ถึง ค.ศ. 902 ทรงปรากฏในบันทึกภาษาอาหรับในชื่อ ฟอร์ตูน อิบน์ การ์ซิยา (อาหรับ: فرتون بن غرسية) ทรงเป็นพระโอรสคนโตของพระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซ และเป็นพระนัดดาของพระเจ้าอิญญิโก อาริสตา ปฐมกษัตริย์แห่งปัมโปลนา ทรงครองราชย์เป็นเวลา 30 ปี พระเจ้าฟอร์ตูน การ์เซสเป็นกษัตริย์คนสุดท้ายของราชวงศ์อิญญิเกวซ
พระราชประวัติ
[แก้]วันเสด็จพระราชสมภพของพระเจ้าฟอร์ตูนไม่เป็นที่รู้ ทรงเป็นพระโอรสคนโตของพระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซ[1] กษัตริย์แห่งปัมโปลนากับหญิงนามว่าอูร์รากา ซึ่งอาจจะเป็นหลานสาวของมูซา อิบน์ มูซา อิบน์ กาซี ผู้นำตระกูลกาซี[2] ข้อมูลช่วงต้นชีวิตของพระองค์มีไม่มาก
พระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชอาณาจักรอัสตูเรียส ทรงตีตัวออกห่างจากราชวงศ์บานูกาซีที่ปกครองดินแดนใกล้กับแม่น้ำเอโบร พระองค์เข้าไปพัวพันในความขัดแย้งกับกองทัพมุสลิมของบานูกาซี[3] และมูฮัมหมัดที่ 1 เอมีร์แห่งกอร์โดบาที่บุกปัมโปลนาในปี ค.ศ. 860 และจับกุมตัวฟอร์ตูนได้ในมิลาโกร พร้อมกับออนเนกา ฟอร์ตูเนซ พระธิดาของพระองค์ ทั้งคู่ถูกจับไปเป็นตัวประกันในกอร์โดบา[1] มูฮัมหมัด อิบน์ ลูบบ์ วาลีแห่งซาราโกซาปิดล้อมทำลายปราสาทไอบาร์ ส่งผลให้พระเจ้าการ์ซิอา อิญญิเกวซสิ้นพระชนม์ หลังพระบิดาสิ้นพระชนม์ ฟอร์ตูน การ์เซสได้รับอนุญาตให้กลับไปปัมโปลเพื่อรับตำแหน่งเป็นกษัตริย์[4] พระเจ้าฟอร์ตูน การ์เซสครองราชย์ด้วยนโยบายทางการเมืองที่ปรับให้เป็นไปตามความต้องการของตระกูลบานูกาซี สร้างความขุ่นเคืองให้แก่ขุนนางปัมโปลนา พระองค์เกษียณตัวเข้าอารามเลย์เรอยู่บ่อยครั้ง
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 905 เมื่อซันโช การ์เซสได้รับเลือกจากขุนนางปัมโปลนาให้มาเป็นกษัตริย์แทนที่พระเจ้าฟอร์ตูน การ์เซส[5] เหตุผลที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังการตัดสินใจครั้งนี้คือความเกรียงไกรด้านการทหารของซันโช การ์เซสและการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญ อาทิ ไรมุนโดที่ 1 เคานต์แห่งปายาร์สและริบาโกร์ซา, กาลินโด อัซนาเรซที่ 2 เคานต์แห่งอารากอน และพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 3 แห่งอัสตูเรียส[5]
พระเจ้าฟอร์ตูนเกษียณตัวเข้าอารามเลย์เรอย่างถาวรในปี ค.ศ. 905[5] ทรงสิ้นพระชนม์ในอารามดังกล่าวในปี ค.ศ. 922[6]
การแต่งงานและผู้สืบสายเลือด
[แก้]ฟอร์ตูนแต่งงานกับออเรียซึ่งอาจจะเป็นหลานสาวของมูซา อิบน์ มูซา อิบน์ กาซี[7] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน ดังนี้
- อิญญิโก ฟอร์ตูเนซ[8]
- อัซนาร์ ฟอร์ตูเนซ[8]
- เบลัสโก ฟอร์ตูเนซ[8]
- โลเป ฟอร์ตูเนซ[8]
- ออนเนกา ฟอร์ตูเนซ[8] มีบุตรหลายคน หนึ่งในนั้นคือพระราชินีตอดาแห่งปัมโปลนา พระมเหสีของพระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งปัมโปลนา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Martínez Díez, Gonzalo (2007). Sancho III el Mayor Rey de Pamplona, Rex Ibericus (in Spanish). Madrid: Marcial Pons Historia. ISBN 978-84-96467-47-7, p. 25.
- ↑ Salazar y Acha, Jaime de (2006). "Urraca. Un nombre egregio en la onomástica altomedieval". En la España medieval (in Spanish) (1): 29–48. ISSN 0214-3038, pp. 33-34.
- ↑ Martínez Díez, Gonzalo (2007). Sancho III el Mayor Rey de Pamplona, Rex Ibericus (in Spanish). Madrid: Marcial Pons Historia. ISBN 978-84-96467-47-7, p. 23.
- ↑ Menéndez Pidal 1999, p. 104.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Martínez Díez, Gonzalo (2007). Sancho III el Mayor Rey de Pamplona, Rex Ibericus (in Spanish). Madrid: Marcial Pons Historia. ISBN 978-84-96467-47-7, p. 26.
- ↑ Salazar y Acha, Jaime de (2006). "Urraca. Un nombre egregio en la onomástica altomedieval". En la España medieval (in Spanish) (1): 29–48. ISSN 0214-3038, p. 33.
- ↑ Rei & 2011/2012, pp. 44-45.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Cañada Juste, Alberto (2013). "Doña Onneca, una princesa vascona en la corte de los emires cordobeses" (PDF). Príncipe de Viana (in Spanish). Gobierno de Navarra (258 (Separata)): 481–501. ISSN 0032-8472, p. 482.