พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
articleนี้ อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป (เรียนรู้ว่าจะนำสารแม่แบบนี้ออกได้อย่างไรและเมื่อไร) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
ผู้บัญชาการรถไฟหลวง | |
ระหว่าง | 5 มิถุนายน 2460 – 8 กันยายน 2471 |
ก่อนหน้า | เฮนรี กิตทินส์ |
ถัดไป | พระยาสารศาสตร์ศิริลักษณ์[1] |
เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม | |
ระหว่าง | 15 พฤษภาคม 2469 – 29 มิถุนายน 2475 |
ก่อนหน้า | กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (พาณิชย์) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (คมนาคม) |
ถัดไป | พระยาวงษานุประพัทธ์ |
ภรรยา | พระชายา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล หม่อม เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่ หม่อมเพี้ยน ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมเผือด ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมบัวผัด ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมจำลอง ฉัตรไชย ณ อยุธยา หม่อมเอื้อม ฉัตรไชย ณ อยุธยา |
พระบุตร | 8 พระองค์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5 |
ประสูติ | 23 มกราคม พ.ศ. 2425 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 14 กันยายน พ.ศ. 2479 (54 ปี) สิงคโปร์ บริติชราช |
นายพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2425 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479) อดีตองคมนตรี อดีตจเรทหารช่าง อดีตผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง อดีตเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และผู้ริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในสยามเป็นครั้งแรก ต้นราชสกุลฉัตรชัย[2]
พระประวัติ[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยโยธิน ประสูติเมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2425 พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 38 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาวาด ขณะทรงพระเยาว์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ
ปี พ.ศ. 2437 เสด็จไปทรงศึกษาต่อด้านโยธาธิการที่โรงเรียนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ และทรงศึกษาต่อวิชาวิศวกรรมที่ทรินิทีคอลเลจ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และวิชาทหารช่างที่ แชทแฮม จากนั้นเสด็จศึกษาเพิ่มเติมในประเทศฝรั่งเศส ทรงศึกษาการทำทำนบและขุดคลอง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ และเสด็จกลับมาทรงงานและศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนได้เป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of Civil Engineer) (เทียบเท่า วิศวกรรมสถาน)
พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรเสด็จกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงรับราชการทหาร เหล่าทหารช่าง กรมยุทธนาธิการทหารบก จนได้รับพระราชทานสัญญาบัตรองคมนตรีเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2449[3] ทรงดำรงตำแหน่งจเรทหารช่างพระองค์แรกในปี พ.ศ. 2451 และทรงดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 17 ปี ทรงนำความรู้ในวิชาการทหารแผนใหม่ตามแบบอย่างประเทศตะวันตกมาปรับปรุงกิจการทหารช่าง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่ และกองทัพ
ปี พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี[4]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทรงถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[5] ต่อมาวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 โปรดให้เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน[6] และวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โปรดให้เลื่อนเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน[7]
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ยุบรวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคม จึงโปรดให้กรมหลวงกำแพงเพ็ชรฯ รับตำแหน่งผู้รั้งสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2468[8] จนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 จึงทรงตั้งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และทำการในตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวงแห่งกรุงสยามด้วย[9] ต่อมาวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 โปรดให้เลื่อนเป็นพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ประชาธิบดินทรเจษฎภาดา ปิยมหาราชวงศ์วิศิษฎ์ อเนกยนตรวิจิตรกฤตยโกศล วิมลรัตนมหาโยธาธิบดี ราชธุรันธรีมโหฬาร พาณิชยการคมนาคม อุดมรัตนตรัยสรณธาดา มัททวเมตตาชวาศรัย ฉัตรชัยดิลกบพิตร ทรงศักดินา 15000[10] และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นอภิรัฐมนตรีในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2474[11]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงลาออกจากราชการและเสด็จไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ พร้อมกับครอบครัวเมื่อ พ.ศ. 2476 ต่อมาประชวรจนกระทั่งวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2479 จึงสิ้นพระชนม์ที่โรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ สิริพระชันษาได้ 55 ปี พระชายาได้เชิญพระศพกลับกรุงเทพฯ คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดให้ประดิษฐานพระศพ ณ พระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร แล้วประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุปทานในวันที่ 8-9 ตุลาคม[12]มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2480 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[13]
พระกรณียกิจ[แก้]
ด้านการรถไฟไทย[แก้]
การดำเนินกิจการรถไฟในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงให้ชาวต่างประเทศเป็นผู้ควบคุมการบริหารกิจการทั้งหมด กระทั่งปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร รักษาการตำแหน่งเจ้ากรมรถไฟสายเหนือ ในปี พ.ศ. 2460 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมรถไฟสายเหนือกับสายใต้เข้าเป็นกรมเดียวกัน เรียกว่า "กรมรถไฟหลวง" และให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง และทรงบุกเบิกพัฒนากิจการต่างๆ ของกรมรถไฟหลวง ขยายเส้นทางเดินรถไฟสายเหนือและสายใต้เข้าด้วยกัน สายตะวันออกเฉียงเหนือทรงสร้างทางรถไฟจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี สายตะวันออกจากฉะเชิงเทราถึงอรัญประเทศ และในปี พ.ศ. 2471 พระองค์ยังได้ทรงสั่งซื้อรถจักรดีเซล จำนวน 2 คัน (หมายเลข 21 และ 22) จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมีกำลัง 180 แรงม้า เนื่องจากพระองค์ทรงเห็นว่า รถจักรไอน้ำลากจูงขบวนรถไม่สะดวก และไม่ประหยัด อีกทั้งลูกไฟที่กระจายออกมาเป็นอันตรายต่อผู้โดยสาร และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ไม้หมอนอีกด้วย ซึ่งรถจักรดีเซลทั้งสองคันดังกล่าว เป็นรถจักรดีเซลคันแรกในทวีปเอเชีย และถือว่าประเทศไทยนำรถจักรดีเซลเข้ามาใช้งานเป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียด้วย [14]
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบรวมกรมทางไปขึ้นกับกรมรถไฟหลวง โดยให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ทรงรับผิดชอบงานสร้างถนนและสะพานทั่วประเทศ เช่น สะพานกษัตริย์ศึก เป็นสะพานลอยข้ามทางรถไฟแห่งแรก และสะพานรัษฎาภิเศก จังหวัดลำปาง สะพานพุทธ สะพานพระราม 6
ในปี พ.ศ. 2464 ขณะทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ได้ทรงริเริ่มนำเอาเครื่องเจาะมาทำการเจาะสำรวจหาน้ำมันดิบ ในบริเวณที่มีผู้พบน้ำมันดิบไหลขึ้นมาบนผิวดินที่บ่อหลวง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ทรงว่าจ้างนักธรณีวิทยาชาวอเมริกันเข้ามาสำรวจทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาน้ำมันดิบและถ่านหินในประเทศไทย
ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร[แก้]
พระองค์ทรงริเริ่มนำวิทยาการด้านการสื่อสารเข้ามาใช้การพัฒนาประเทศ ทรงตั้งเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงทดลองขนาดเล็ก และสั่งเครื่องวิทยุกระจายเสียงคลื่นสั้นเข้ามาทดลอง ทรงเปิดการกิจการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2473 ใช้ชื่อสถานีว่า "สถานีวิทยุกรุงเทพฯ ที่พญาไท" และถือว่าเป็นบุคคลแรกของสยาม ที่ต้องการให้ประเทศสยาม มีการส่ง เทเลวิชั่น หรือ วิทยุโทรทัศน์ขึ้นครั้งแรกในประเทศสยาม แต่ความคิดที่จะต้องการส่งแพร่ภาพโทรทัศน์ เมื่อขณะดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมในขณะนั้น ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากสยามได้เปลื่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ทำให้การกำเนิดโทรทัศน์จึงล้มเลิกไปในระยะหนึ่ง (หากประสบความสำเร็จ ประเทศสยาม อาจเป็นประเทศแรกของเอเชีย ที่มีการส่งโทรทัศน์)
ด้านการสื่อสาร ทรงให้ความสำคัญการสื่อสาร โดยจัดตั้งที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทั่วประเทศ ให้บริการรับส่งจดหมาย พัสดุ ไปรษณีย์ ธนาณัติ และโทรเลข รวมทั้งการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์และวิทยุโทรเลขภายในและภายนอกประเทศ
ด้านการคมนาคม ทรงสนพระทัยกิจการบิน โดยทรงทดลองขับเครื่องบินสาธิต จนได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นคนไทยคนแรกที่มีโอกาสขึ้นเครื่องบิน และทรงวางรากฐานกิจการการบินขึ้นในประเทศไทย และการจัดการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศ จัดตั้งบริษัทเดินอากาศและเปิดเส้นทางพาณิชย์
ด้านอื่น ๆ[แก้]
1 เมษายน พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงคมนาคมเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน และให้ นายพลเอก กรมหลวงกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน (พระอิสริยยศในขณะนั้น) รั้งตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และเป็นนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์
21 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ทรงดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาราชการในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงปฏิบัติราชการแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานพระราชพิธีเป็นครั้งคราว
17 กันยายน พ.ศ. 2473 ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบในอุดมการณ์ของโรตารี จึงได้รับการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งแรกในประเทศไทยขึ้น เรียกชื่อว่า "สโมสรโรตารีกรุงเทพ" มีสมาชิกก่อตั้งรวม 69 ท่าน ซึ่งมีสัญชาติต่างๆ อยู่ถึง 15 ชาติด้วยกัน โดยมีพระยามโนปกรณ์นิติธาดานายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งท่านหนึ่ง การประชุมก่อตั้งได้จัดทำขึ้น ณ พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ ถนนราชวิถี กรุงเทพมหานคร) โดยเสด็จในกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงรับเป็นนายกก่อตั้งสโมสร
ทรงริเริ่มการค้นหาปิโตรเลียมในประเทศสยามเป็นครั้งแรก
พระชายาและหม่อม[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นต้นราชสกุล "ฉัตรชัย" มีพระโอรส พระธิดารวม 11 องค์ ประสูติจากพระชายาและหม่อม ดังนี้ [15][16][17]
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประภาวสิทธิ์นฤมล
- (11 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ กับหม่อมราชวงศ์สว่าง จักรพันธุ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์) อภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามยุรฉัตร (7 มีนาคม พ.ศ. 2449 - 11 สิงหาคม พ.ศ. 2513) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าโสภณภราไดย สวัสดิวัตน์
- หม่อมราชวงศ์พรรธนภณ สวัสดิวัตน์ (ชื่อเดิม หม่อมราชวงศ์ฉัตรโสภณ) สมรสกับเจริญศรี สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชัยมงคล), อรอนงค์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ษีติสาร), เบญจมาศ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม เหลืองไพบูลย์) และทิพวัลย์ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม มั่งคั่ง)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงไม่มีพระนาม (สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ประสูติ)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร (12 สิงหาคม พ.ศ. 2458 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2524) เสกสมรสกับหม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร (สกุลเดิม สารสาส)
- พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (28 พฤษภาคม พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย
- หม่อมราชวงศ์เฉลิมฉัตร วุฒิชัย สมรสกับเอมอร วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุษบงก์)
- หม่อมราชวงศ์พร้อมฉัตร สวัสดิวัตน์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
- เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่
- (7 ธันวาคม พ.ศ. 2439 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527) เจ้านัดดาในเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์
- ฉัตรสุดา วงศ์ทองศรี (27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2539) เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมเจ้ารวิพรรณไพโรจน์ รพีพัฒน์ และทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อสมรสกับณรงค์ วงศ์ทองศรี
- หม่อมราชวงศ์พัฒนฉัตร รพีพัฒน์
- ฉัตรชัย วงศ์ทองศรี
- ดนัยฉัตร วงศ์ทองศรี
- ร้อยเอกธนฉัตร วงศ์ทองศรี
- หม่อมเจ้าภัทรลดา ดิศกุล (21 มีนาคม พ.ศ. 2467 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2551) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิริยดิศ ดิศกุล
- หม่อมราชวงศ์รมณียฉัตร แก้วกิริยา สมรสกับนริศ แก้วกิริยา
- หม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล สมรสกับพันโทหญิงชญาณิษฐ์ ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิริถาพร)
- หม่อมเพี้ยน ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม สุรคุปต์)
- (1 กันยายน พ.ศ. 2442 - 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2481)
- หม่อมเจ้ากาญจนฉัตร ศุขสวัสดิ์ (ต.จ.) (21 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าประสมสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์อดิศรฉัตร ศุขสวัสดิ์ สมรสกับสุชาดา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม จารุเสถียร)
- หม่อมราชวงศ์อรฉัตร ซองทอง สมรสกับประยอม ซองทอง
- หม่อมราชวงศ์ประกายฉัตร ศุขสวัสดิ์
- หม่อมราชวงศ์ไชยฉัตร ศุขสวัสดิ์
- หม่อมเผือด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม พึ่งรักวงศ์)
- (พ.ศ. 2449 - มีนาคม พ.ศ. 2527)
- หม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย (15 มิถุนายน พ.ศ. 2472 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2536) เสกสมรสกับหม่อมรัชดา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม อิศรเสนา ณ อยุธยา) และหม่อมราชวงศ์เรืองรำไพ ฉัตรชัย (ราชสกุลเดิม ชุมพล)
- หม่อมราชวงศ์รพิฉัตร ฉัตรชัย สมรสกับมนวิภา ฉัตรชัย ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย
- หม่อมบัวผัด ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรสูต)
- (5 เมษายน พ.ศ. 2454 - ?)
- เฟื่องฉัตร ดิศกุล (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2547) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล
- หม่อมหลวงธีรฉัตร บุรฉัตร (พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ทรงรับเป็นพระโอรสบุญธรรม) สมรสกับยุวดี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม โกมารกุล ณ นคร) และปราณี บุรฉัตร ณ อยุธยา (สกุลเดิม จันทร์เวียง)
- หม่อมหลวงพิพัฒนฉัตร ดิศกุล สมรสกับเสาวนีย์ ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ธีราสถาพร)
- หม่อมหลวงพิชยฉัตร ดิศกุล
- หม่อมหลวงฉัตรฏิปปีญา ดิศกุล
- หม่อมเจ้าพิบูลฉัตร ฉัตรชัย (12 กันยายน พ.ศ. 2478 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2499)
- หม่อมจำลอง ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชลานุเคราะห์)
- (8 กันยายน พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2511)
- หิรัญฉัตร เอ็ดเวิร์ด (20 ตุลาคม พ.ศ. 2476 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2541) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งราชวงศ์เพื่อสมรสกับแอลเฟรด ฟิททิ่ง และเบเวน เอ็ดเวิร์ดส
- ฉัตราภรณ์ คอร่า ฟิททิ่ง
- ฉัตราภา ออรอร่า ฟิททิ่ง (ฉัตราภา ออรอร่า เอ็ดเวิร์ดส)
- ปิติฉัตร เบเวอร์ลี เอ็ดเวิร์ดส
- ภัทรฉัตร เบแวน เอ็ดเวิร์ดส
- หม่อมเอื้อม ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม อรุณทัต)
- (พ.ศ. 2452 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491)
- หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย (6 ตุลาคม พ.ศ. 2477 - 13 มกราคม พ.ศ. 2553) เสกสมรสกับหม่อมจารุศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม รัตนวราหะ) ,หม่อมมัณฑนา ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุนนาค) และหม่อมอรศรี ฉัตรชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ลีนะวัต)
- หม่อมราชวงศ์ลักษมีฉัตร วรวรรณ สมรสกับหม่อมหลวงปริญญากร วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์กมลฉัตร บุญพราหมณ์ สมรสกับพร้อมพงศ์ บุญพราหมณ์
- หม่อมราชวงศ์ธิดาฉัตร จันทร์ตรี สมรสกับกุลิต จันทร์ตรี
- หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร ฉัตรชัย
- หม่อมราชวงศ์มณฑิรฉัตร ฉัตรชัย สมรสกับปิยะพร ฉัตรชัย ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์เอื้อมทิพย์ เศวตศิลา สมรสกับนัทธิน เศวตศิลา
- หม่อมราชวงศ์ฉัตรทิพย์ ฉัตรชัย
- หม่อมราชวงศ์เอิบทิพย์ ฉัตรชัย
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชรอรรคโยธิน (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนกำแพงเพชรอรรคโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงกำแพงเพชรอัครโยธิน (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472)
- พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2448 -
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[18]
- พ.ศ. 2465 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[19][20]
- พ.ศ. 2448 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[21]
- พ.ศ. 2456 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[22]
- พ.ศ. 2471 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[23]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2455 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2449 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[25]
- พ.ศ. 2436 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[26]
- พ.ศ. 2461 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 2 มหาโยธิน (ม.ร.)[27]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์
- พ.ศ. 2451 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[28]
- พ.ศ. 2459 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[29]
- พ.ศ. 2469 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[30]
- พ.ศ. 2448 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[31]
พระสมัญญา[แก้]
- พระบิดาแห่งกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย[32][33]
- พระบิดาแห่งการรถไฟไทย[34][35]
- พระบิดาแห่งโรตารีไทย[36]
- ผู้วางรากฐานกิจการทหารช่างแผนใหม่และกองทัพ[37]
พระยศ[แก้]
นายพลเอก นายกองตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | ![]() ![]() |
พระยศทหาร[แก้]
- นายพลเอก
พระยศเสือป่า[แก้]
- นายหมู่ใหญ่
- นายกองตรี
พงศาวลี[แก้]
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2470/A/309.PDF ประกาศตั้งผู้รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟหลวง
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/200.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/001/22_3.PDF
- ↑ "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2275. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 33 (0 ก): 228–230. 11 พฤศจิกายน 2459. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศเลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39 (0 ก): 305–309. 19 พฤศจิกายน 2465. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศ เรื่อง ตั้งผู้รั้งเสนาบดีกระทรวงคมนาคมและพาณิชยการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 418. 28 มีนาคม 2468. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยกับเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมและนายกสภาเผยแผ่พาณิชย์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0 ก): 188. 16 พฤษภาคม 2469. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม ตั้งพระองค์เจ้าและเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 181–183. 10 พฤศจิกายน 2471. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งอภิรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 48 (0 ก): 366. 25 ตุลาคม 2474. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ "หมายกำหนดการ ที่ ๑๑/๒๔๗๙ พระราชกุศลทักษิณานุปทานพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1767–1769. 11 ตุลาคม 2479. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ ที่ ๑๕/๒๔๗๙ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๔๗๙ เล่ม 53, ตอน ๐ ง, 17 มกราคม พ.ศ. 2479, หน้า 2640
- ↑ รถจักรดีเซล จาก สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 4
- ↑ http://freepages.genealogy.rootsweb.com/~royalty/thailand/i162.html
- ↑ http://www.railway.co.th/about/burachut.asp
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรกรีบรมราชวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 21 (ตอน 44): หน้า 803. 29 มกราคม ร.ศ. 123. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "รายพระนามและนาม สมาชิก สมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน 0 ง): หน้า 2283. 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 39 (ตอน 0 ง). 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 22 (ตอน 35): หน้า 762. 26 พฤศจิกายน ร.ศ. 124. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานตรารัตนวราภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 30 (ตอน 0 ง): หน้า 1858. 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "ข่าวพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 45 (ตอน 0 ง): หน้า 2364. 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/1856.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2449/027/679_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/038/414_1.PDF
- ↑ "ประกาศพระราชทานฐานันดรเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (ตอน 0 ง): หน้า 2181. 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): หน้า 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 33 (ตอน 0 ง): หน้า 3099. 28 มกราคม พ.ศ. 2459. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3120. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 22 (ตอน 27): หน้า 599. 1 ตุลาคม ร.ศ. 124. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ https://hilight.kapook.com/view/98414
- ↑ http://www.tnews.co.th/contents/405424
- ↑ http://www.railway.co.th/main/profile/burachut.html
- ↑ https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_14764
- ↑ http://www.tnews.co.th/contents/357958
- ↑ http://www.tnews.co.th/contents/357958
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 258-259. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน |
- บทความที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บทความทั้งหมดที่ใช้แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิเป็นหลัก
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2424
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2479
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- อภิรัฐมนตรี
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลฉัตรชัย
- ทหารบกชาวไทย
- วิศวกรชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- การรถไฟแห่งประเทศไทย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
- สมาชิกกองเสือป่า
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศสิงคโปร์
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไทย