พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ)
พระเจ้าปุษยมิตรศุงคะ
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ศุงคะ
ครองราชย์ป. 185 –  149 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าพระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ
ถัดไปพระเจ้าอัคนิมิตร
คู่อภิเษกราชินีเทวามาลา ชุงกา
พระราชบุตรพระเจ้าอัคนิมิตร
ราชวงศ์จักรวรรดิศุงคะ
ศาสนาศาสนาฮินดู

พระเจ้าปุศยมิตรศุงคะ (อักษรโรมัน: Pushyamitra Shunga Puṣyamitra Śuṅga) (ขึ้นครองราชย์เมื่อ ป. 185 –  149 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นปฐมกษัตริย์ของ จักรวรรดิศุงคะ ซึ่งเขาก่อตั้งขึ้นโดยการทำรัฐประหารกับราชวงศ์เมารยะ[1] เขาเป็นสาวกของ ศาสนาฮินดู และเป็นที่รู้จักในเรื่องการสถาปนาการปกครองของชาวฮินดูดั้งเดิมในอินเดียเหนือ

เดิมทีพระองค์เป็น เสนาบดี ของ ราชวงศ์เมารยะ ในปี 185 ก่อนคริสตกาลเขาได้ลอบสังหาร พระเจ้าพฤหทรถะเมารยะ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์เมารยะ ระหว่างการตรวจพลและปราบดาภิเษกพระองค์เองเป็นกษัตริย์

พระองค์ได้ประกอบพิธีอัศวเมธ หรือพิธีปล่อยม้าอุปการตามประเพณีของกษัตริย์อินเดียโบราณ ซึ่งมีการค้นพบจารึกของราชวงศ์ศุงกะอย่างมากมายจนถึง อโยธยา (Dhanadeva-Ayodhya inscription) และ ทิพยวทานะ กล่าวว่าอาณาจักรของพระองค์ได้ขยายออกไปไกลถึงสาคละหรือเสียลโกต ใน แคว้นปัญจาบ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ

ตำราทางพระพุทธศาสนาระบุว่าพระองค์เป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนา[2] แม้ว่านักวิชาการสมัยใหม่บางคนจะแสดงความสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเหล่านี้ก็ตาม

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Jain, Kailash Chand (1991). Lord Mahāvīra and His Times. Motilal Banarsidass. ISBN 978-81-208-0805-8.
  • Simmons, Caleb; Sarao, K. T. S. (2010). Danver, Steven L. (บ.ก.). Popular Controversies in World History. ABC-CLIO. ISBN 978-1-59884-078-0.
  • Lahiri, Bela (1974). Indigenous states of northern India, circa 200 B.C. to 320 A.D. University of Calcutta. p. 31.
  • Strong, John S. (1989). The Legend of King Aśoka : a study and translation of the Aśokāvadāna. Princeton: Princeton University Press. ISBN 0-691-01459-0.
  • Thapar, Romila (2013), The Past Before Us, Harvard University Press, ISBN 978-0-674-72651-2