พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
องคมนตรี
ดำรงตำแหน่ง19 กันยายน พ.ศ. 2435
รัฐมนตรีสภา[1]
ดำรงตำแหน่ง24 มกราคม พ.ศ. 2437
ประสูติ5 สิงหาคม พ.ศ. 2399
สิ้นพระชนม์4 มกราคม พ.ศ. 2468 (68 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าแฉ่ง
หม่อม
14 คน
พระบุตร64 องค์
ราชสกุลเกษมสันต์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4

มหาอำมาตย์โท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (5 สิงหาคม พ.ศ. 2399 – 4 มกราคม พ.ศ. 2468) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อดีตองคมนตรี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระโสทรเชษฐภาดาใน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

พระประวัติ[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาแพ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2399

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ เป็นพระเจ้าน้องยาเธอที่มีบทบาทในงานวรรณกรรมในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดรุโณวาท ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกที่เผยแพร่แก่ประชาชน และดำเนินการโดยคนไทย เริ่มออกฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2417 ชื่อหนังสือมีความหมายว่า "โอวาทหรือคำสอนของคนหนุ่ม" มีทั้งสารคดีและบันเทิงคดี มีสาระทันสมัย แสดงความสามารถและสติปัญญาของคนหนุ่มรุ่นใหม่ในยุคนั้น

ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์โท ต่อมาในปี พ.ศ. 2456 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมหลวง มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ มุสิกนาม ทรงศักดินา 15,000 ตามพระราชกำหนดอย่างพระองค์เจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวัง[2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงรับราชการในโรงพิมพ์และการเสื้อหมวก เป็นพนักงานจารึกอักษรในแผ่นศิลาประดับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงยุติธรรม อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คดีหลวง[3] อธิบดีศาลอุทธรณ์ และกรรมการผู้พิพากษาศาลฎีกา[4]

นอกจากนี้ยังทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีในรัชกาลที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2435[5] และทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรีต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 6[6] จนสิ้นพระชนม์

สิ้นพระชนม์[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2468[7] (นับปัจจุบัน พ.ศ. 2468) สิริพระชันษาได้ 68 ปี 152 วัน มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[8]

พระโอรสและธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลเกษมสันต์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง นิลรัตน์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา โดยนอกจากนี้ยังทรงมีหม่อมอีก 14 ท่าน ได้แก่

  1. หม่อมหลวงแย้ม (ราชสกุลเดิม: อสุนี)
  2. หม่อมสุทธิ
  3. หม่อมนิล
  4. หม่อมเจียม (สกุลเดิม: คชเสนี) ธิดา สมิงอังวะมังสี (ทองคำ) คชเสนี
  5. หม่อมมาลัย
  6. หม่อมราชวงศ์หญิงเป้า (ราชกุลเดิม: อสุนี)
  7. หม่อมราชวงศ์หญิงละม้าย (ราชสกุลเดิม: สุริยกุล) ธิดาหม่อมเจ้าอินทนิล สุริยกุล
  8. หม่อมนวล
  9. หม่อมทองสุก
  10. หม่อมอั๋น
  11. หม่อมห่วง (ราชสกุลเดิม: ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)
  12. หม่อมปลื้ม
  13. หม่อมราชวงศ์หญิงนวลจันทร์ (ราชสกุลเดิม: อิศรเสนา) ธิดาหม่อมเจ้ากระจ่าง อิศรเสนา และหม่อมเจ้าหญิงเลื่อน เกสรา
  14. หม่อมเพียร (สกุลเดิม: ดิษฐชัย)

โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 64 พระองค์ เป็นชาย 39 พระองค์ หญิง 22 พระองค์ และไม่ทราบว่าเป็นชายหรือหญิง 3 พระองค์

พระรูป พระนาม หม่อมมารดา ประสูติ สิ้นชีพิตักษัย คู่สมรส
1. หม่อมเจ้าหญิงประโลมสมร ที่ 1 ในหม่อมหลวงแย้ม พ.ศ. 2418 5 เมษายน พ.ศ. 2438
2. หม่อมเจ้าสุภสวัสดิ์เกษมสันต์ เมษายน พ.ศ. 2419 17 สิงหาคม พ.ศ. 2420
3. หม่อมเจ้าหญิงจรัสโฉม ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง 8 กันยายน พ.ศ. 2419 19 ธันวาคม พ.ศ. 2516
4. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2420 20 ธันวาคม พ.ศ. 2420
5. หม่อมเจ้าหญิงละม้าย 8 กันยายน พ.ศ. 2421 13 กันยายน พ.ศ. 2484
6. หม่อมเจ้าทัศโนภาส ที่ 1 ในหม่อมสุทธิ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 7 สิงหาคม พ.ศ. 2508 หม่อมผาด
หม่อมคำใบ (จินดาวรรณ)
7. หม่อมเจ้าหญิงพโยมมาลย์ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง 2 ตุลาคม พ.ศ. 2422 15 กันยายน พ.ศ. 2514
8. หม่อมเจ้าหญิงกุสุมา

(ท่านหญิงจุ่น)

ที่ 1 ในหม่อมเจียม 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 พ.ศ. 2477
9. หม่อมเจ้าหญิงอังสุมาลย์ (ท่านหญิงแอ๊ด) ที่ 2 ในหม่อมหลวงแย้ม 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2423 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2509
10. หม่อมเจ้าโชติรส ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง และสมุหพระราชพิธี ที่ 1 ในหม่อมมาลัย 12 เมษายน พ.ศ. 2424 29 ธันวาคม พ.ศ. 2484 หม่อมเจ้าหญิงพวงสนธิสุวรรณ (ทองแถม)
หม่อมทรัพย์ (แรงสืบสิน)
หม่อมแช่ม
หม่อมใบ
11. หม่อมเจ้าทินทัต พ.ศ. 2426 7 กันยายน พ.ศ. 2430
12. หม่อมเจ้าหญิงประภาพรรณ ที่ 2 ในหม่อมเจียม 17 เมษายน พ.ศ. 2427 11 ธันวาคม พ.ศ. 2468
13. หม่อมเจ้าอนุกูลประพัทธ์ หม่อมราชวงศ์หญิงเป้า 26 ตุลาคม พ.ศ. 2427 พ.ศ. 2485 หม่อมหลวงเอี่ยม (สุทัศน์)
หม่อมเปลื้อง
14. หม่อมเจ้าสมบูรณศักดิ์ ที่ 1 ในหม่อมนวล 11 กันยายน พ.ศ. 2428 23 ธันวาคม พ.ศ. 2473 หม่อมระรวย (วัชราภัย)
15. หม่อมเจ้าหญิงเล็ก พ.ศ. 2428 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2431
16. หม่อมเจ้าเจริญสุขโสภาคย์ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2429 25 มกราคม พ.ศ. 2517 หม่อมศรีเฉลิม (วิริยศิริ)
17. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2430 3 มิถุนายน พ.ศ. 2432
18. หม่อมเจ้าพันธุประวัติ ที่ 1 ในหม่อมราชวงศ์หญิงละม้าย 14 เมษายน พ.ศ. 2430 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 หม่อมหลวงเชื้อ (ดารากร)
19. หม่อมเจ้าพชรมาลย์ ที่ 2 ในหม่อมมาลัย 9 มิถุนายน พ.ศ. 2430 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 หม่อมฉันทนา (รัตนทัศนีย์)
20. หม่อมเจ้าหญิงสลักษณา ที่ 2 ในหม่อมนวล 11 มีนาคม พ.ศ. 2430 21 มีนาคม พ.ศ. 2525
21. หม่อมเจ้าหญิงสุภาภรณ์ ที่ 3 ในหม่อมนวล พ.ศ. 2431 พ.ศ. 2435
22. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434
23. หม่อมเจ้าประยูรสนิท พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 22 มิถุนายน พ.ศ. 2434
24. หม่อมเจ้าวิเชียรศิริ กันยายน พ.ศ. 2433 25 มิถุนายน พ.ศ. 2434
25. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) พ.ศ. 2433 25 เมษายน พ.ศ. 2437
26. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี พ.ศ. 2437
27. หม่อมเจ้าหญิงจันทรจำรัส ที่ 1 ในหม่อมทองสุก 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2434 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2525
28. หม่อมเจ้ามนูญศิริ ที่ 2 ในหม่อมสุทธิ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2434 15 มีนาคม พ.ศ. 2512 หม่อมเจริญ
29. หม่อมเจ้าหญิงประไพพิมพ์ ที่ 4 ในหม่อมนวล 7 กันยายน พ.ศ. 2435 22 มีนาคม พ.ศ. 2530
30. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) สิงหาคม พ.ศ. 2436 22 มิถุนายน พ.ศ. 2438
31. หม่อมเจ้าชัชวลิต ที่ 2 ในหม่อมทองสุก 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2437 6 มิถุนายน พ.ศ. 2517 หม่อมคล้อง (ณ ระนอง)
32. หม่อมเจ้าหญิงวิมลมาศ ที่ 1 ในหม่อมอั๋น 22 มกราคม พ.ศ. 2438 10 มิถุนายน พ.ศ. 2539
33. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี 28 สิงหาคม พ.ศ. 2437
34. หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ ที่ 2 ในหม่อมราชวงศ์หญิงละม้าย 5 ตุลาคม พ.ศ. 2438 22 มิถุนายน พ.ศ. 2507 หม่อมเจ้าหญิงวงศ์แข (เกษมศรี)
35. หม่อมเจ้าเกียรติประวัติ ที่ 3 ในหม่อมเจียม 25 ธันวาคม พ.ศ. 2438 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 หม่อมเจ้าหญิงพงศ์พิศมัย เกษมสันต์
หม่อมหลวงอุบล (อิศรางกูร)
หม่อมลำเจียก (เจ้าลำเจียก ณ ลำพูน)
หม่อมสารภี
36. หม่อมเจ้าวุฒิภาคย์ ที่ 1 ในหม่อมห่วง 30 มกราคม พ.ศ. 2439 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 หม่อมเล็ก
37. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี 26 ตุลาคม พ.ศ. 2439
38. หม่อมเจ้าอุจพงษ์ ที่ 5 ในหม่อมนวล 18 เมษายน พ.ศ. 2440 23 ธันวาคม พ.ศ. 2480 หม่อมสนาน (มนวิเศษ)
39. หม่อมเจ้าบุญฤทธิ์ ที่ 3 ในหม่อมทองสุก 5 มกราคม พ.ศ. 2440 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2514 หม่อมสมหมาย
หม่อมมณฑนา (สุนทรเสวี)
40. หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ ที่ 1 ในหม่อมปลื้ม 17 มีนาคม พ.ศ. 2441 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 หม่อมกมลนิล (จารุจินดา)

มีบุตร หม่อมราชวงศ์ประณีต สมรสกับ สมใจ จุลนิมิ

41. หม่อมเจ้าดำ ที่ 4 ในหม่อมทองสุก พ.ศ. 2441 ไม่ทราบปี
42. หม่อมเจ้าหญิงวรรณวิจิตร ที่ 2 ในหม่อมอั๋น 19 ตุลาคม พ.ศ. 2441 28 ธันวาคม พ.ศ. 2535
43. หม่อมเจ้าหญิงพงษ์พิศมัย ที่ 3 ในหม่อมราชวงศ์หญิงละม้าย 13 มีนาคม พ.ศ. 2442 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 หม่อมเจ้าเกียรติประวัติ เกษมสันต์
44. หม่อมเจ้านรนาค ที่ 2 ในหม่อมห่วง 10 มีนาคม พ.ศ. 2443 2 สิงหาคม พ.ศ. 2454 หม่อมทองอยู่ (ไวตี)
45. หม่อมเจ้าลักษณากร ที่ 3 ในหม่อมอั๋น 9 เมษายน พ.ศ. 2445 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 หม่อมเจ้าหญิงศรีสอางค์นฤมล (วรวรรณ)
46. หม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ ที่ 4 ในหม่อมอั๋น 2 มิถุนายน พ.ศ. 2447 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 หม่อมอุบล (บุนนาค)
47. หม่อมเจ้าภัคยพันธ์ ที่ 2 ในหม่อมปลื้ม 15 มีนาคม พ.ศ. 2448 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 หม่อมสังวาลย์ (สินนาง)
หม่อมละม่อม
48. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2448
49. หม่อมเจ้ากิตติเกริกไกร ที่ 5 ในหม่อมทองสุก พ.ศ. 2449 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465
50. หม่อมเจ้าวัยโสภาคย์ หม่อมราชวงศ์หญิงนวลจันทร์ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 หม่อมสอางค์ (อินทรรัสมี)
51. หม่อมเจ้าสันตวงศ์ ที่ 3 ในหม่อมปลื้ม 13 ธันวาคม พ.ศ. 2450 29 ธันวาคม พ.ศ. 2511 หม่อมอนันท์
หม่อมเขียน (เสริมสุข)
หม่อมอัมพร
52. หม่อมเจ้ามนัศเกษม ไม่ทราบปี 1 มีนาคม พ.ศ. 2452
53. หม่อมเจ้าหญิงไตรทิพย์สุดา
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงไอซ์)
ที่ 5 ในหม่อมอั๋น 30 มกราคม พ.ศ. 2453 21 มกราคม พ.ศ. 2557 สุรินทร์ วิเศษกุล
54. หม่อมเจ้าหญิงอรอำไพ
(ลาออกจากฐานันดรศักดิ์) (ท่านหญิงจิ๋ว)
ที่ 6 ในหม่อมทองสุก 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 โฉลก โกมารกุล ณ นคร
55. หม่อมเจ้าหญิง (ไม่ปรากฏพระนาม) ไม่ทราบปี พ.ศ. 2453
56. หม่อมเจ้าคงเกษม (ท่านชายน้อย) ที่ 4 ในหม่อมปลื้ม 29 กันยายน พ.ศ. 2454 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 หม่อมเจือ
หม่อมพรพิมล (รักสัตย์)
57. หม่อมเจ้าเกษมพันธ์พิสุทธ์ ที่ 6 ในหม่อมอั๋น 24 สิงหาคม พ.ศ. 2457 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474
58. หม่อมเจ้าวิสุทธิเกษม หม่อมเพียร 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 หม่อมเบญจางค์
หม่อมสุดา (นวรัตน์ ณ อยุธยา)
59. หม่อมเจ้าอนุพัทธ์พงศ์ ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
60. หม่อมเจ้าเปรมประสิทธิ์ (ท่านชายเป้ง) ที่ 5 ในหม่อมปลื้ม 24 มีนาคม พ.ศ. 2463 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 หม่อมลเมียด
หม่อมบัวลา
61. หม่อมเจ้าหญิงอินทรา
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
62. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นหญิงหรือชาย)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
63. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชายหรือหญิง)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี
64. หม่อมเจ้า (ไม่ปรากฏพระนาม)
(ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นชายหรือหญิง)
ไม่ทราบปี ไม่ทราบปี

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
มหาอำมาตย์โท
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ (5 สิงหาคม พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาคย์ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2426)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ (พ.ศ. 2426 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพรหมวรานุรักษ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 - 4 มกราคม พ.ศ. 2467)[9]

พระยศ[แก้]

มหาอำมาตย์โท นายหมวดเอก
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์
รับใช้กระทรวงยุติธรรม
กองเสือป่า
ชั้นยศมหาอำมาตย์โท
นายหมวดเอก

พระยศพลเรือน[แก้]

  • มหาอำมาตย์โท[10][11]
  • 17 เมษายน 2457 – มหาเสวกโทพิเศษ[12]

พระยศเสือป่า[แก้]

  • 13 กรกฎาคม 2455 – นายหมู่โท[13]
  • นายหมวดเอก[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2437/044/367.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/044/391_2.PDF
  4. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2459/A/33.PDF
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/026/199_1.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/3575.PDF
  8. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. ๒๔๖๘เล่ม 42, ตอน 0 ง, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468, หน้า 1324
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/A/329.PDF
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ ข้าราชการ กระทรวงยุติธรรม (ประกาศ ณ วันที่ 7 สิงหาคม 130)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28: 919. 13 สิงหาคม 2454. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "แจ้งความกระทรวงยุติธรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 39: 365. 14 พฤษภาคม 2465. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. ประกาศกระทรวงวัง
  13. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/902.PDF
  14. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34: 1276. 29 กรกฎาคม 2460. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-07. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  16. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-02.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2020-05-01.
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/027/467_1.PDF
  19. พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 564
  21. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2441/034/355_2.PDF