พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
![]() | |
ราชเลขานุการ | |
ดำรงตำแหน่ง | 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2455 |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี |
ภรรยา | ชายา หม่อมเจ้าจำรัส สวัสดิกุล นักสุดาดวง หม่อม หม่อมเพิ่ม สวัสดิกุล ณ อยุธยา หม่อมตลับ สวัสดิกุล ณ อยุธยา[1] |
พระบุตร | หม่อมเจ้าใหญ่ สวัสดิกุล หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ สวัสดิกุล หม่อมเจ้ามงคลประวัติ สวัสดิกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | ท้าวทรงกันดาล (หุ่น) ท.จ.ว. |
ประสูติ | 7 กันยายน พ.ศ. 2403 |
สิ้นพระชนม์ | 21 เมษายน พ.ศ. 2458 (54 ปี) |
มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ เป็นพระราชโอรสในในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหุ่น (ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวทรงกันดาล)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2423 ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าไปรเวตสิเกรตารี (ราชเลขานุการ) กำกับดูแลกรมพระอาลักษณ์ จนกระทั่ง พ.ศ. 2435 กรมพระอาลักษณ์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง เรียกว่า กระทรวงมุรธาธร และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งเดิมอยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมาขึ้นกับกระทรวงมุรธาธร
ช่วงปลาย พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และกรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่อีกตำแหน่งหนึ่ง[2]
ต่อมาใน พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสด็จไปตรวจราชการที่หัวเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ไปทรงบังคับบัญชาราชการในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และให้กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงบังคับบัญชาราชการแทนในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรเป็นการชั่วคราว
ในช่วงปลายรัชกาล ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2450 พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ บรมธรรมิกราชวงษ์วิสุทธิ วชิราวุธราชปฤจฉานุวัตน์ รัตนบัณฑิตยชาติย์ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร ทรงศักดินา 15,000[3] ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก[4] ได้ดำรงตำแหน่งสมุหมนตรี และเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2458 เวลา 15:02 น.[5] สิริพระชันษาได้ 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล
พระกรณียกิจที่สำคัญ[แก้]
- 2423 - 2433 - ไปรเวตสิเกรตารีในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- 2430 - 2458 - องคมนตรี[6][7][8]
- 2433 - 2455 - ราชเลขาธิการ/อธิบดีกรมราชเลขานุการ[9]
- 2435 - 2455 - อธิบดีกรมพระคลังข้างที่
- 2455 - 2458 - สมุหมนตรี และเสนาบดีที่ปรึกษา
พระโอรสและพระธิดา[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล มีพระชายา, ชายา และหม่อม 4 ท่าน ได้แก่
- หม่อมเจ้าหญิงจำรัส (ราชสกุลเดิม: นิลรัตน์) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
- หม่อมตลับ
- หม่อมเพิ่ม
- นักสุดาดวง ท.จ.[10] พระธิดาในพระองค์เจ้าแก้วมโนหอแห่งกัมพูชา พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดสระเกษ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127) ได้รับพระราชทานผ้าไตร 3 ไตร เงิน 200 เฟื้อง ผ้าขาวพับ 4 พับ เครื่องประโคมศพ กลองชนะ 10 จ่าปี 1 ฉัตรเบญจา 10 คัน[11]
พระรูป | พระนาม | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
![]() |
1. หม่อมเจ้าหญิงใหญ่ | 7 สิงหาคม 2428 | ในวันประสูติ | ||
2. หม่อมเจ้าวิบูลย์สวัสดิ์วงศ์ | หม่อมเพิ่ม | 28 พฤศจิกายน 2428 | 23 พฤศจิกายน 2483 | หม่อมเกื้อ (ณ ระนอง) | |
3. หม่อมเจ้ามงคลประวัติ | หม่อมเจ้าหญิงจำรัส | 21 กุมภาพันธ์ 2429 | 29 สิงหาคม 2491 | หม่อมราชวงศ์หญิงบัว (สนิทวงศ์) |
พระเกียรติยศ[แก้]
พระอิสริยยศ[แก้]
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (7 กันยายน พ.ศ. 2403 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2429)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2429 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)[12]
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[13]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ | |
---|---|
![]() ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[แก้]
- พ.ศ. 2429 -
เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2454 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า))[15]
- พ.ศ. 2454 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[15]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.)
- พ.ศ. 2436 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2436 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2429 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[18]
- พ.ศ. 2433 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[19]
- พ.ศ. 2428 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้น 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[20]
- พ.ศ. 2454 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[21]
- พ.ศ. 2436 -
เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[22]
- พ.ศ. 2456 -
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[23]
- พ.ศ. 2447 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[24]
- พ.ศ. 2445 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[25]
- พ.ศ. 2454 -
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[26]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ[แก้]
- พ.ศ. 2438 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1 ประเทศญี่ปุ่น[27]
เข็มพระราชทาน[แก้]
พ.ศ. 2455 - เข็มข้าหลวงเดิม[28]
อ้างอิง[แก้]
- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๔๙๘
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกรมพระคลังข้างที่ รัตนโกสินทร ศก 117
- ↑ "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1733–1735. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/195.PDF
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/2273_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2435/039/331_2.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๔๙๘
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 เมษายน ร.ศ.127http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2451/003/75.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/034/284.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/035/481.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งกรม, เล่ม ๓, ตอน ๓๔, ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๒๙, หน้า ๒๘๓
- ↑ 15.0 15.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘, ตอน ๐ ง, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๗๘๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ถวายบังคมพระบรมรูปและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๙๓, หน้า ๓๖๗
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/038/414_1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2429/034/284.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2433/044/399.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/061/536.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1556.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2436/037/403.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/2678.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๖๔
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗, ตอน ๐ ง, ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓, หน้า ๒๔๐๙
- ↑ "พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 11 (ตอน 35): หน้า 272. 25 พฤศจิกายน 2438. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. Check date values in:
|accessdate=, |date=
(help) - ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/2250_1.PDF
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 67-68. ISBN 978-974-417-594-6
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 32, 25 เมษายน พ.ศ. 2458, หน้า 172
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
- | ![]() |
ราชเลขานุการ (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2433 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2455) |
![]() |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2403
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2458
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมพระ
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- ราชสกุลสวัสดิกุล
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- สมาชิกกองเสือป่า
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1