พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ12 สิงหาคม พ.ศ. 2354
สิ้นพระชนม์9 ตุลาคม พ.ศ. 2410 (56 ปี)
ราชสกุลนิลรัตน
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระมารดาเจ้าจอมมารดาพิม ในรัชกาลที่ 2

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา (12 สิงหาคม พ.ศ. 2354 - 9 ตุลาคม พ.ศ. 2410) เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาพิม เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 8 ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จ.ศ. 1173 ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2354 เมื่อประสูติมีพระนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านิลรัตน

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ทรงรับราชการในรัชกาลที่ 3 และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เมื่อปี พ.ศ. 2394 ในสมัยรัชกาลที่ 4 [1] ทรงว่าราชการกรมแสงปืนต้น กรมแสงหอกดาบและกำกับช่างเงินโรงกษาปณ์ [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อวันพุธ เดือน 11 ขึ้น 11 ค่ำ ปีเถาะนพศก จ.ศ. 1229 ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2410 สิริพระชันษา 57 ปี พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2411[1]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เป็นนักถ่ายภาพชาวไทยรุ่นแรก ๆ เมื่อครั้งที่การถ่ายภาพเริ่มเข้ามาแพร่หลายในสยาม รุ่นเดียวกับพระปรีชากลการ และหลวงอัคนีนฤมิตร [3]

พระโอรส ธิดา[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา ทรงเป็นต้นราชสกุล นิลรัตน ณ อยุธยา [1] ราชสกุลนี้ นับเป็นสกุลพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำดับที่ ๒๑๖๙ ในประเทศไทย เขียนได้เป็นตัวอักษรโรมันว่า "Nilaratna na Krungdeb" ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน คือ หม่อมราชวงศ์อวบ ตำแหน่งประจำหน้าที่การสมุหบาญชีกรมเสนาธิการทหารบก สำหรับบรรดาผู้ที่สืบสกุลโดยตรงลงมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา (พระองค์เจ้านิลรัตน)

พระโอรส-พระธิดา มีรายพระนามเท่าที่รวบรวมได้ ดังนี้

  • หม่อมเจ้าชายชุ่ม นิลรัตน มีโอรส คือ
  • หม่อมเจ้าชายโมรา นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2385 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2430) ทรงเสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์เสาวคนธ์ นิลรัตน มีโอรส คือ
    • หม่อมราชวงศ์อวบ นิลรัตน
    • หม่อมราชวงศ์เล็ก นิลรัตน สมรสกับ หม่อมหลวงวงศ์ นิลรัตน (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์) มีบุตร-ธิดา คือ
      • หม่อมหลวงนุ่ม นิลรัตน สมรสกับ นายดัด สุทธพิบูลย์
      • พันตำรวจตรี หม่อมหลวงสวัสดิ์ นิลรัตน สมรสกับ นางบุญชุบ นิลรัตน ณ อยุธยา
      • หม่อมหลวงนิ่ม นิลรัตน
  • หม่อมเจ้าชายหยอย นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2385 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2419)
  • หม่อมเจ้าหญิงทับทิม นิลรัตน มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงแดง ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าอินทนิล สุริยกุล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระรามอิศเรศร
  • หม่อมเจ้าหญิงมรกฎ นิลรัตน ประสูติร่วมหม่อมมารดาเดียวกันกับหม่อมเจ้าหญิงทับทิม มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงเขียว (ประสูติ พ.ศ. 2394 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2452 พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2455) ทรงเสกสมรสกับหม่อมเจ้าชายอลงกรณ์ สุทัศน์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต องค์ต้นราชสกุลสุทัศน์ มีโอรส คือ
  • หม่อมเจ้าชายพุฒ นิลรัตน[5] หรือ หม่อมเจ้าพุก บางแห่งก็ว่าชื่อหม่อมเจ้าชุ่ม ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ (ประสูติ พ.ศ. 2398 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2438)
  • หม่อมเจ้าชายวิเชียร นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2399 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2419)
  • หม่อมเจ้าหญิงแฉ่ง นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2455 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2467) มีหม่อมหลวงดาว นิลรัตน (ราชสกุลเดิม ปาลกะวงศ์) เป็นมารดา หม่อมเจ้าหญิงแฉ่งทรงเป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ องค์ต้นราชสกุลเกษมสันต์
  • หม่อมเจ้าหญิงสวัสดิ์ นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2475)
  • หม่อมเจ้าหญิงสังวาล นิลรัตน
  • หม่อมเจ้าหญิงจำเริญ นิลรัตน (สิ้นชีพิตักษัยวันที่ 12 มีนาคม 2456 พระราชทานเพลิงเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2457)
  • หม่อมเจ้าหญิงสะบาย นิลรัตน ทรงเป็นหัวหน้าห้องเครื่องของพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา
  • หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณ นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2407) ทรงมีพระนามลำลองว่า "ท่านหญิงแดง" ทรงเป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ องค์ต้นราชสกุลทองแถม
  • หม่อมเจ้าหญิงจำรัส นิลรัตน (ประสูติ พ.ศ. 2410 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476) ทรงเป็นชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ องค์ต้นราชสกุลสวัสดิกุล
  • หม่อมเจ้าหญิงอึ่ง นิลรัตน (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2440)
  • หม่อมเจ้าชายบงกฎ นิลรัตน
  • หม่อมเจ้าชายปรีชา นิลรัตน
  • หม่อมเจ้าหญิงประทุม นิลรัตน

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้านิลรัตน (12 สิงหาคม พ.ศ. 2354 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้านิลรัตน (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา (พ.ศ. 2394 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา (1 ตุลาคม พ.ศ. 2394 - ปัจจุบัน)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
  2. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. ย้อนรอยราชสกุลวงศ์ "วังหลวง". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า, พิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2549. 304 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-941-205-2
  3. กิตติพงษ์ วิโรจน์ธรรมากูร. 100 ปีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในงานพระพุทธชินราชประจำปี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัตนโกสินทรศก 123. กรุงเทพฯ : ดำรงวิทยา, 2548. 132 หน้า. ISBN 974-93740-5-3
  4. ราชินิกูลรัชกาลที่3
  5. "พระราชทานเพลิง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 12 (9): 73–74. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2438. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

6. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 32 หน้า 229-242 วันที่ 2 พฤษภาคม 2458 ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 29 ราชสกุล “นิลรัตน” (ลำดับที่ 2169)“http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/229.PDF