พระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งเลออน
พระเจ้าซันโชที่ 1 แห่งเลออน | |
---|---|
![]() จุลจิตรกรรมของพระเจ้าซันโชที่ 1 จากตุมโบ อา ในอาสนวิหารซานเตียโกเดกอมโปสเตลา | |
กษัตริย์แห่งเลออน | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 956–958 (ครั้งที่ 1) ค.ศ. 960–966 (ครั้งที่ 2) |
รัชกาลก่อนหน้า | พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 3 แห่งเลออน (ครั้งที่ 1) พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 4 แห่งเลออน (ครั้งที่ 2) |
รัชกาลถัดไป | พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 4 แห่งเลออน (ครั้งที่ 1) พระเจ้ารามิโรที่ 3 แห่งเลออน (ครั้งที่ 2) |
พระมเหสี | เตเรซา อันซูเรซ |
พระบุตร | พระเจ้ารามิโรที่ 3 แห่งเลออน อูร์รากา |
ราชวงศ์ | อัสตูเรียส-เลออน |
พระบิดา | พระเจ้ารามิโรที่ 2 แห่งเลออน |
พระมารดา | อูร์รากา ซันเชซแห่งปัมโปลนา |
ประสูติ | ค.ศ. 932 |
สิ้นพระชนม์ | ค.ศ. 966 |
ฝังพระศพ | มหาวิหารนักบุญอิซิโดโร |
ซันโชที่ 1 (สเปน: Sancho I; เลออน: Sanchu I) หรือ ซันโชผู้ตัวอ้วน (สเปน: Sancho El Craso; เลออน: Sanchu El Crasu) ครองราชย์เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเลออนตั้งแต่ปี ค.ศ. 956 เป็นพระโอรสคนเล็กของพระเจ้ารามิโรที่ 2 แห่งเลออน
หลังสืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 2 พระเชษฐา พระเจ้าซันโชถูกล้มล้างอำนาจด้วยการก่อปฏิวัติของกลุ่มขุนนางและถูกแทนที่โดยพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 4 ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ พระเจ้าซันโชร้องขอความช่วยเหลือจากกาหลิบอับดุรเราะห์มานที่ 3 ชาวอุมัยยัดที่ช่วยเอาบัลลังก์กลับมาให้พระองค์ในปี ค.ศ. 960
พระราชประวัติ[แก้]
ซันโชเป็นพระโอรสของพระเจ้ารามิโรที่ 2 แห่งเลออนกับพระมเหสีคนที่สอง พระราชินีอูร์รากา ซันเชซ ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าซันโช การ์เซสที่ 1 กับโตดาแห่งปัมโปลนา[1] ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระเจ้ารามิโรคือพระเจ้าออร์ดอญโญที่ 3 พระโอรส ในปี ค.ศ. 951 โดยมีการคัดค้านจากอินฟันเตซันโชที่โต้แย้งว่าราชบัลลังก์เลออนเป็นของพระองค์[1] ซันโชได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มขุนนาง, พระอัยกา โตดา และเฟร์นัน กอนซาเลซ เคานต์แห่งกัสติยา พระเชษฐภาดาของพระเจ้าออร์ดอญโญ[1] พระเจ้าออร์ดอญโญปราบคนกลุ่มนี้ได้ที่ข้างกำแพงเมืองเลออน[1]
พระเจ้าออร์ดอญโญสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 956 พระเจ้าซันโชจึงยึดบัลลังก์เลออนมา แต่สองปีต่อมากลับถูกคัดค้านเพราะทรงอ้วนเกินไป พระองค์ถูกปลดลงจากบัลลังก์โดยกลุ่มขุนนางเลออนและกัสติยา ซึ่งนำโดยเคานต์เฟร์นัน กอนซาเลซ ที่ประกาศให้พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 4 เป็นกษัตริย์[2]
ต่อมาซันโชหันไปหาพระอัยกี พระราชินีโตดาแห่งปัมโปลนา เพื่อขอให้ช่วยกอบกู้ราชอาณาจักรของพระองค์กลับคืนมา[2] และหันไปหาอับดุรเราะห์มานที่ 3 กาหลิบแห่งกอร์โดบา ทรงขอให้ฮัสดะอี อิบน์ ชัปรุต แพทย์ที่ราชสำนักของกาหลิบช่วยรักษาพระองค์ และขอให้กาหลิบช่วยกอบกู้บัลลังก์เลออน แลกกับพื้นที่ส่วนน้อยบนที่ราบลุ่มแม่น้ำดูเอโร[2]
พระราชินีโตดา พระเจ้าซันโชที่ 1 และพระมเหสีของพระองค์ เตเรซา อันซูเรซ เดินทางไปกอร์โดบาในปี ค.ศ. 958[2] ฮัสดะอี อิบน์ ชัปรุตรักษาอาการอ้วนของพระองค์ด้วยการให้พระองค์ดื่มเท่าที่จำเป็นเป็นเวลาสี่สิบวัน ต่อมาด้วยการลงนามในข้อตกลง กองทัพมุสลิมและปัมโปลนายึดซาโมราได้ในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 959 และยึดเลออนได้ในปี ค.ศ. 960 ทำให้พระเจ้าซันโชที่ 1 ได้กลับไปเป็นกษัตริย์[3] พระเจ้าออร์ดอญโญที่ 4 หนีไปอัสตูเรียส[3]
เพียงไม่นานพระเจ้าซันโชที่ 1 ก็ลืมข้อตกลงที่ทำไว้กับชาวมุสลิมที่ต่อมาหันสนับสนุนออร์ดอญโญที่ 4 ในปลายรัชสมัยของพระองค์ กลุ่มกบฏขุนนางได้ยึดและปลดปล่อยกัสติยาเป็นอิสระ และเคานต์แห่งกาลิเซียมีอำนาจแข็งแกร่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 966 รัชสมัยของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกวางยาพิษ ผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์คือพระเจ้ารามิโรที่ 3 แห่งเลออน พระโอรส
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Vallvé Bermejo , Joaquín (2003). Abderramán III: caliph of Spain and the West . Ariel ISBN 84-344-6682-1, p. 223
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Vallvé Bermejo , Joaquín (2003). Abderramán III: caliph of Spain and the West . Ariel ISBN 84-344-6682-1, p. 224.
- ↑ 3.0 3.1 Vallvé Bermejo , Joaquín (2003). Abderramán III: caliph of Spain and the West . Ariel ISBN 84-344-6682-1, p. 225