พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ
พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ3 ตุลาคม พ.ศ. 2427
สิ้นพระชนม์9 ตุลาคม พ.ศ. 2489 (62 ปี)[1]
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาแข
ศาสนาพุทธ

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ (3 ตุลาคม พ.ศ. 2427 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2489) เป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาแข

พระประวัติ[แก้]

พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิเป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาแข เมื่อวันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีวอกฉสก จ.ศ. 1246 ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2427 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติที่ พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศพระราชโอรสและพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็น พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

เมื่อทรงพระเยาว์พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ กับพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญอีกสองพระองค์ คือ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสาทสมร และพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากมุทมาลี ทั้งสามพระองค์ทรงได้รับพระราชทานโสกันต์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง พร้อมกันกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธวิไลยลักษณาพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ และหม่อมเจ้าอีก 10 องค์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย[2]

เมื่อครั้งพระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิยังทรงพระชนม์ ได้ประทับร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ตำหนักพระองค์เจ้าแม้นเขียน และสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเมื่อวันพุธ เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำปีจออัฐศก จ.ศ. 1308 ตรงกับวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2489 สิริพระชันษา 62 ปี

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ (3 ตุลาคม พ.ศ. 2427 — 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)[3]
  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีสุดสวาดิ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 — 9 ตุลาคม พ.ศ. 2489)

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 144
  2. "พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ และโสกันต์เกษากันต์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 11 (ตอนที่ 53): หน้า 481. 31 มีนาคม 2437. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556