พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ20 ธันวาคม พ.ศ. 2424
สิ้นพระชนม์6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 (54 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเรือน ในรัชกาลที่ 5

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2424 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 37 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรือน (สกุลเดิม สุนทรศารทูล)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ ประสูติในปีมะเส็ง ร่วมสหชาติกับพระราชโอรสธิดาในรัชกาลที่ 5 ที่เป็นพระพี่น้องต่างพระมารดาจำนวน 4 พระองค์ มีพระนามเรียงตามพระชันษาดังนี้

ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อตำหนักต่าง ๆ ในวังสวนสุนันทาสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ได้เสด็จมาประทับที่วังสวนสุนันทา ตัวตำหนักอยู่ระหว่างตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารีกับตำหนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองศ์เจ้าศศิพงศ์ประไพ พระองค์โปรดประทับในพระบรมมหาราชวัง จะเสด็จไปประทับในวังสวนสุนันทาเป็นครั้งคราว เมื่อมีพระประสงค์จะไปเยี่ยมเยียนพระเชษฐภคินีหรือพระชนิษฐภคินีที่ประทับอยู่ในวังสวนสุนันทาเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2472 พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์พร้อมด้วยเจ้านายทั้ง 3 พระองค์ที่ประสูติในปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 ได้ร่วมกันจัดงานใหญ่ขึ้นที่วังบางขุนพรหม และร่วมกันบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินบริจาคของพระญาติ มิตรสหาย และผู้ที่มาร่วมงาน บริจาคให้เป็นทุนเริ่มแรกของสภากาชาดสยาม และก่อสร้างตึก 4 มะเส็ง ซึ่งจะใช้เป็นสถานที่สำหรับเลี้ยงงูพิษ ปลามีพิษ สัตว์และแมลงมีพิษต่าง ๆ ณ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

ภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ได้เสด็จไปประทับที่สวนนอก ระหว่างคลองสามเสนและถนนสุโขทัยพร้อมด้วยเจ้าจอมมารดาเรือน พระมารดา และต่อมาทรงย้ายไปประทับที่วังริมถนนวิทยุ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 สิริพระชันษา 54 ปี บำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน ที่หอนิเพธพิทยา ในพระบรมมหาราชวัง โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เมื่อวันที่ 12 และ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 โดยประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์[1]

พระเกียรติยศ[แก้]

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ[แก้]

  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2424 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

พงศาวลี[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 55, ตอน 0 ง, 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481, หน้า 3911
  2. ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118, หน้า 498
  3. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (39): 1154. 23 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2017-11-17. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 22 มกราคม ร.ศ. 131, หน้า 2444
  5. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 43 (0ง): 3117. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2017-11-17. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]