พระวิสุทธิสังวรเถร (ปีเตอร์ พฺรหฺมวํโส)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวิสุทธิสังวรเถร

(ปีเตอร์ พรหมวํโส)
ชื่ออื่นอาจารย์พรหม
ส่วนบุคคล
เกิด7 สิงหาคม พ.ศ. 2494 (72 ปี)
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดโพธิญาณ เซอร์เพนไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโพธิญาณ

พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวํโสภิกฺขุ) หรือ "พระพรหมวังโส" หรือตามที่รู้จักในหมู่ลูกศิษย์ว่า "อาจารย์พรหม" (อังกฤษ: Ajahn Brahm) เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา นิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ชาวอังกฤษ หนึ่งในศิษย์ชาวต่างประเทศของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิญาณ เมืองเซอร์เพนไทน์ รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นอดีตวัดสาขาของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย

พระพรหมวังโสเป็นที่รู้จักทั่วไปจากกรณีเป็นพระกรรมวาจาจารย์บวชภิกษุณี 4 รูปอย่างลับ ๆ ที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทำให้คณะสงฆ์ไทยและคณะสงฆ์นานาชาติสายวัดหนองป่าพงได้เชิญท่านมาประชุมชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ผลปรากฏว่ามีการลงมติขับพระพรหมวังโสออกจากความเป็นหมู่คณะของสงฆ์สายวัดหนองป่าพง เพราะเห็นว่าการบวชภิกษุณีเป็นการขืนกระทำโดยผิดต่อพระวินัยฝ่ายเถรวาท และตัดวัดโพธิญาณออกจากความเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพงอีกด้วย มติดังกล่าวนี้ทำให้พระพรหมวังโสได้ขาดจากความปกครองของคณะสงฆ์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน

ประวัติ[แก้]

พระวิสุทธิสังวรเถร (พรหมวํโสภิกฺขุ) มีนามเดิมว่า ปีเตอร์ เบ็ตส์ (อังกฤษ: Peter Betts) เกิดที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2494 ในครอบครัวชนชั้นกรรมกร ในช่วงวัยรุ่น ระหว่างที่กำลังศึกษาระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนลาตีเมร์อัปเปอร์สคูล (Latymer Upper School) ท่านสามารถสอบได้ทุนศึกษาต่อวิชาฟิสิกส์ทฤษฎี (Theoretical physics) ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในระยะนี้ท่านได้ได้หันมานับถือพุทธศาสนา โดยสืบเนื่องมาจากความสนใจในธรรมะของพุทธศาสนาและการทำสมาธิ

หลังจากจบจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แล้วก็ได้ทำงานเป็นครูอยู่ 1 ปี ก่อนตัดสินใจเดินทางมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ในประเทศไทย และได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ 23 ปี ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ครั้งยังเป็นพระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายาว่า "พฺรหฺมวํโส" จากนั้นจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท) เพื่อฝึกหัดวิปัสสนากรรมฐานตามแนวทางของพระวัดป่าที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเวลานาน 9 ปี

พระพรหมวังโสได้รับอาราธนาจากคณะศิษย์ของหลวงพ่อชาในประเทศออสเตรเลียให้ไปตั้งวัดโพธิญาณในประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2526 และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2549 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนาม "พระวิสุทธิสังวรเถร" เนื่องในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 [1]

วัดโพธิญาณ[แก้]

กรณีการบวชภิกษุณี[แก้]

เกียรติคุณ[แก้]

งานเขียน[แก้]

  • Opening the Door of Your Heart: And Other Buddhist Tales of Happiness. Also published as Who Ordered This Truckload of Dung?: Inspiring Stories for Welcoming Life's Difficulties. (2005). Wisdom Publications. ISBN 0-86171-278-1
  • Mindfulness, Bliss, and Beyond: A Meditator's Handbook. (2006). Wisdom Publications. ISBN 0-86171-275-7

อ้างอิง[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Egan, Colleen (18 June 2001). "Monk caught up in fire and brimstone". The Australian.
  • Franklin, Dave (11 May 2003). "Religion with a humorous twist". The Sunday Times. Perth, Australia.
  • Horayangura, Nissara (28 April 2009). "The bhikkhuni question". Bangkok Post. The full transcript from the 28 February 2009 interview is available on Buddhanet.
  • Pitsis, Simone (27 July 2002). "Brahm's symphony is the sound of silence". The Australian.
  • Ranatunga, D. C. (4 February 2007). "Be good, be happy". Sunday Times (Sri Lanka). 41 (36). ISSN 1391-0531.
  • "Few minutes of meditation, good way to start". Sunday Times (Sri Lanka). 41 (40). 4 March 2007. ISSN 1391-0531.
  • Ranatunga, D. C. (9 December 2007). "Meeting Ajahn Brahm in a relaxed mood". Sunday Times (Sri Lanka). 42 (28). ISSN 1391-0531.
  • Smedley, Tim (3 May 2007). "What HR could learn from Buddhism". People Management. 13 (9): 14. ISSN 1358-6297.
  • Wettimuny, Samangie (3 March 2011). "Path to inner happiness". Daily News. Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]