พระวรสารลินดิสฟาร์น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระวรสารลินดิสฟาร์น
Lindisfarne Gospels  
โฟลิโอ 27r จากหนังสือ “พระวรสารลินดิสฟาร์น
ผู้ประพันธ์เอดฟริธแห่งลินดิสฟาร์น?
ประเทศราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย
ภาษาภาษาละติน
หัวเรื่องหนังสือพระวรสาร
วันที่พิมพ์ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8
ชนิดสื่อหนังสือวิจิตร

พระวรสารลินดิสฟาร์น (ละติน: Lindisfarne Gospels, อังกฤษ: Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ[1] พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ

ประวัติ[แก้]

พระวรสารลินดิสฟาร์น” เชื่อกันว่าเป็นงานของนักบวชเอดฟริธแห่งลินดิสฟาร์นผู้ต่อมามีตำแหน่งเป็นพระสังฆราชที่นั่นในปี ค.ศ. 698 และเสียชีวิตในปี ค.ศ. 721[2] นักวิชาการปัจจุบันระบุว่าปีที่เขียนคือราวปี ค.ศ. 715 และเชื่อกันว่าเป็นงานที่สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญคัธเบิร์ต แต่อาจจะเป็นได้ว่าเอดฟริธสร้างงานขึ้นก่อนปี ค.ศ. 698 เพื่อเป็นการฉลองการยกฐานะของนักบุญคัธเบิร์ตของนักบุญคัธเบิร์ตในปีนั้น[3] งานพระวรสารฉบับนี้เต็มไปด้วยภาพประกอบที่ตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามตามแบบฉบับของศิลปะเกาะ เดิมมีหน้าปกเป็นหนังที่ประดับด้วยอัญมณีและโลหะที่สร้างโดยบิลฟริธเดอะอังคอไรท์ในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ระหว่างการรุกรานของไวกิงที่ลินดิสฟาร์นหน้าปกก็สูญหายไป และหน้าปกใหม่ได้รับการสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1852 อักขระที่ใช้เขียนเป็นอักขระแบบเกาะ

ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ก็ได้มีการแปลพระวรสารเป็นภาษาอังกฤษเก่า--โดยแทรกคำต่อคำระหว่างเนื้อหาที่เป็นภาษาละติน โดยอัลเฟรด โพรโวสต์แห่งเชสเตอร์-เลอ-สตรีท ซึ่งเป็นงานแปลพระวรสารเป็นภาษาอังกฤษฉบับที่เก่าแก่ที่สุด

ระหว่างการยุบอารามสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษก็มีพระบรมราชโองการให้นำพระวรสารจากมหาวิหารเดอแรม ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เซอร์โรเบิร์ต ค็อตตอนก็ซื้อพระวรสารจากทอมัส วอล์คเคอร์ราชเลขาธิการของรัฐสภา งานสะสมหนังสือของค็อตตอนตกมาเป็นของพิพิธภัณฑ์บริติชในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต่อมาหอสมุดบริติชเมื่อแยกตัวจากพิพิธภัณฑ์[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Celtic and Anglo-Saxon Art: Geometric Aspects Derek Hull, Published 2003 Liverpool University Press. ISBN 0-85323-549-X (Google books link)
  2. Lindisfarne Gospels เก็บถาวร 2018-07-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน British Library. Retrieved 2008-03-21
  3. Backhouse, Janet, The Lindisfarne Gospels (Oxford: Phaidon, 1981)
  4. Time line เก็บถาวร 2020-01-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน British Library. Retrieved 2008-03-21

บรรณานุกรม[แก้]

  • Calkins, Robert G. Illuminated Books of the Middle Ages. Ithaca, New York: Cornell University Press, 1983.
  • De Hamel, Christopher. A History of Illuminated Manuscripts. Boston: David R. Godine, 1986.
  • Walther, Ingo F. and Norbert Wolf. Codices Illustres: The world's most famous illuminated manuscripts, 400 to 1600. Köln, TASCHEN, 2005.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ พระวรสารลินดิสฟาร์น