พระราชลัญจกรแห่งญี่ปุ่น
พระราชลัญจกรแห่งญี่ปุ่น | |
---|---|
![]() | |
รายละเอียด | |
ผู้ใช้ตรา | จักรพรรดิญี่ปุ่น |
เริ่มใช้ | ยุคนาระ |
คำขวัญ | "เท็นโน/เกียวจิ" (天皇御璽, "พระราชลัญจกรแห่งองค์พระจักรพรรดิ")
天皇 |

พระราชลัญจกรแห่งญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 御璽; โรมาจิ: Gyoji; อังกฤษ: Privy Seal of Japan) เป็นหนึ่งในตราประทับแห่งชาติ และเป็นตราประทับอย่างเป็นทางการของจักรพรรดิญี่ปุ่น
ลักษณะ[แก้]
พระราชลัญจกรญี่ปุ่นเป็นทรงสี่เหลี่ยม จารึกด้วยลายมือตราประทับอักษร 天皇御璽 ("พระราชลัญจกรแห่งองค์พระจักรพรรดิ") ในแนวตั้งโดยอักษรฝั่งขวามือประกอบด้วยตัวอักษร 天皇 (เท็นโน, "พระจักรพรรดิ") และทางฝั่งซ้ายมือประกอบด้วยอักษร 御璽 (เกียวจิ, "บัลลังก์แห่งองค์พระจักรพรรดิ")
พระราชลัญจกรแห่งญี่ปุ่นปัจจุบันทำด้วยทองแท้ ยาว 3 ซุง (ประมาณ 9 ซ.ม.) และมีน้ำหนัก 4.5 กิโลกรัม ผู้จารึกพระราชลัญจกรคือ ริเกโด อาเบอิ (安部井 櫟堂; Abei Rekido) จากเกียวโต ในปี 1874 (ปีเมจิที่ 7) เขาได้รับหน้าที่ให้ผลิตตราแผ่นดินของญี่ปุ่นภายใน 1 ปี โดยเขาได้ใช้หมึกชาดจอแสที่ผลิตโดยกรมการพิมพ์แห่งชาติ ในกรณีที่พระราชลัญจกรไม่ได้นำไปใช้นั้นจะถูกเก็บไว้ในกระเป๋าหนัง
การใช้[แก้]
พระราชลัญจกรแห่งญี่ปุ่นจะนำไปประทับตราในพระราชกฤษฎีกา, ประกาศพระบรมราชโองการในกฎหมาย, คำสั่งคณะรัฐมนตรี, สนธิสัญญา, เอกสารประกอบการให้สัตยาบัน (กฎหมายระหว่างประเทศ), การรับรองสาส์นตราตั้ง, เอกสารให้ออกจากราชการ, หนังสือมอบอำนาจ, หนังสือเสนอชื่อกงสุลกิตติมศักดิ์ (consular commission), เอกสารอนุญาตให้กงสุลต่างประเทศปฏิบัติหน้าที่, หนังสือแต่งตั้งหรือขับออกของข้าราชการซึ่งการแต่งตั้งนั้นจำเป็นที่จะต้องให้จักรพรรดิเป็นผู้รับรอง, หนังสือแต่งตั้ง, เอกสารราชการที่ออกโดยนายกรัฐมนตรีและประธานศาลสูงสุดรวมถึงการให้ออกจากราชการ[1]
การเปลี่ยนรัชกาลในประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 2019 นั้นปรากฏให้เห็นพระราชลัญจกรพร้อมด้วยตราแผ่นดินและไตรราชกกุธภัณฑ์ถึงสองครั้งในระหว่างพระราชพิธี: ระหว่างการสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะในวันที่ 30 เมษายน และระหว่างการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะในวันที่ 1 พฤษภาคม จางวางใหญ่นำพระราชลัญจกรและตราแผ่นดินไปยังโถงต้นสนในพระราชวังหลวงที่ซึ่งจะนำไปวางไว้บนโต๊ะรับรองใกล้องค์พระจักรพรรดิ[2][3][4][5]
หากพระราชลัญจกรหรือตราแผ่นดินถูกนำไปผลิตซ้ำ ผู้ผลิตต้องรับโทษทางอาญาให้ทำงานหนัก (penal servitude) อย่างน้อย 2 ปีหรือมากกว่าตามความในวรรคแรกของมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายอาญา[6]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The Privy Seal and State Seal". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 8 December 2015.
- ↑ "Japan's emperor prays for peace in first abdication in 200 years". Reuters. 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 1 May 2019.
- ↑ "Government to present new era name to Emperor and Crown Prince before April 1". The Japan Times. 3 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-21. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ "Government to designate May 1, day of new Emperor's accession, as public holiday, creating 10-day Golden Week in 2019". The Japan Times. 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 20 February 2018.
- ↑ Tajima, Nobuhiko (17 January 2019). "Emperor to give final speech at abdication ceremony". Asahi Shimbun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-15. สืบค้นเมื่อ 20 February 2019.
- ↑ "刑法 / Penal Code". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-01. สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.