พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระราชรัตนโมลี

(นคร เขมปาลี)
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณนคร ป.ธ.6
ส่วนบุคคล
เกิด29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 (86 ปี ปี)
มรณภาพ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.6
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา58 พรรษา
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
เจ้าคณะ 3
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร,อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2529-2540,เป็นมีผู้ส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการได้มาซึ่ง การตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 [1] เคยต้องคดีข้อห้าอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11 และต้องถูกจองจำถูกคุมขังในสันติปาลาราม เป็นเวลากว่า 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2507 และถูกปล่อยตัวโดยไม่มีการส่งฟ้องศาลแต่อย่างใด[2]

ในระหว่างถูกจองจำได้แปลหนังสือเรื่อง “Glimpses of World History”[3] ในชื่อภาษาไทยว่า โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล [4]และ “Letters from a Father to His Daughter”[5] ในชื่อภาษาไทยว่า จดหมายจากพ่อถึงลูกสาว[6] ของ “ยวาหรลาล เนห์รู” อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ภายใต้การแนะนำจาก “อาจารย์กรุณา กุศลาสัย” (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552) อดีตสามเณรใจสิงห์ ในโครงการ "พระภิกษุสามเณรใจสิงห์–Lion-hearted Bhikkhus and Samaneras" [7] ของ พระโลกนาถ (ซัลวาโตเล ซิโอฟฟี) พระภิกษุชาวอิตาลี ที่นำพระภิกษุจากไทย พม่า ทีเดินธุดงค์ด้วยเท้าจากประเทศไทยไปศึกษาอบรมที่ประเทศอินเดีย เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภารตวิทยา กรุณาได้รับรางวัลศรีบูรพาปี พ.ศ. 2538, ที่ถูกคุมขังอยู่ด้วยกันในขณะนั้น พร้อมทั้งได้เขียนบันทึกชีวิตไว้ในหนังสือ ชีวิตลิขิตของกรรม [8] ที่มีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับพระสงฆ์กับการเมืองที่ว่า “…นี่คือระบอบประชาธิปไตยแบบไทยที่มีอุณหภูมิไม่แน่นอน ครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เต็มใบบ้าง ตามวุฒิภาวะของผู้นำรัฐบาล แม้รัฐธรรมนูญก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ตามพลังและอำนาจนิยม…”[9]

การศึกษา[แก้]

Doctor of Philosophy (Ph.D.) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาปรัชญา นวนาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

สอบไสได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษา วัดนางในฮัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สำนักเรียนคณะจังหวัดอ่างทอง

สอนได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ตำแหน่ง[แก้]

งานปกครองคณะสงฆ์[แก้]

  • ผู้อำนวยการมหาธาตุวิทยาลัย

งานด้านการศึกษา[แก้]

  • พ.ศ. 2521 เลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมณศักดิ์[แก้]

5 ธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระอมรเมธาจารย์ (สป.)[10]

10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชรัตนโมลี ศรีสิกขกิจวโรปการ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [11]

ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกจองจำจำคุกในสันติปาลาราม[แก้]

ข้อมูลจากในหนังสือที่บันทึกด้วยตัวท่านเอง ชีวิตลิขิตของกรรม [12] คืนวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 เวลาประมาณ 17.00 น. ก็พบ พ.ต.อ.ชลอ ขุทภาสน์ พร้อมด้วยตำรวจสันติบาลจำนวนหนึ่งมานั่งรอข้าพเจ้าอยู่แล้ว แสดงตัวเข้าจับกุมข้าพเจ้าในข้อกล่าวหาว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับพระมหามนัส จิตฺตทโม (พวงลำเจียก) และได้ทำการค้นห้องพักยึดเอาหนังสือที่ได้รับมอบถวายมาจากประเทศจีนเป็นแดงจำนวนหนึ่งและพาไปควบคุมไว้ที่สโมสรกรมตำรวจปทุมวัน เวลา 3 วัน ก็พาเราทั้งสองไป บังคับเอาผ้าเหลืองผ้าจีวรออก และใช้ผ้าแต่งกายคฤหัสถ์แทนต่อหน้าพระเทพเวที (ฟื้น ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร แล้วนำไปควบคุมไว้ที่ห้องขังที่อาคารหลังหนึ่ง ใกล้กับสโมสรกรมตำรวจนั้น[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. เล่มที่ 114, ตอนที่ 51 ก, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540, หน้า 24
  2. พระไทย 4 รูป คือ พระมหามนัส พวงลำเจียก, พระมหานคร พยุงญาติ, พระมหาโอภาส เวียงเหล็ก และพระมหาสังเวียร มีเผ่าพงษ์ ี้ร่วมงาน International Buddhist Monks Delegation to China. ที่มา กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2566). สังเวียร มีเผ่าพงษ์ สงฆ์ไทยไปจีนแดงสมัยสฤษดิ์ กลับมาเจอข้อหาภัยความมั่นคง. วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2566 https://www.silpa-mag.com/history/article_22045
  3. Jawaharlal Nehru. (1934). Glimpses of World History. Penguin Books https://en.wikipedia.org/wiki/Glimpses_of_World_History
  4. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) แปล. (2541). โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล = Glimpses of world history / ยวาหรลาล เนห์รู, เขียน ; พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี), กรุงเทพฯ: สภาเพื่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมแห่งประเทศอินเดีย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  5. Jawaharlal Nehru. (1929). Letters from a Father to His Daughter. Allahabad Law Journal Press. https://en.wikipedia.org/wiki/Letters_from_a_Father_to_His_Daugh)ter
  6. พระราชรัตนโมลี (ดร.นคร เขมปาลี). (2013). จดหมายจากพ่อถึงลูกสาว. ผู้เขียน ยวาหระลาล เนห์รู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
  7. "ประวัติสามเณรกรุณาเมื่อครั้งติดตามพระโลกนาถไปศึกษาที่สาธารณรัฐอินเดีย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  8. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
  9. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207 ง, 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 6
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 113, ตอนที่ 10 ข, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2539, หน้า 11
  12. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, -
  13. พระปลัดระพิน พุทธิสาโร,(2566), เขมปาลีศึกษา ว่าด้วยพระสงฆ์กับการเมืองและถูกคุมขัง : บันทึกไว้ในโอกาส 100 ปีชาตกาล พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) https://online.anyflip.com/mgfva/bvta/mobile/index.html