พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ (ชวิน รังสิพราหมณกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พ.ศ. 2562
เกิดชวิน รังสิพราหมณกุล
11 มกราคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
การศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง (ศ.บ.)
คู่สมรสวไลพร รังสิพราหมณกุล
บิดามารดาพระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์ รังสิพราหมณกุล)
สิริมา รังสิพราหมณกุล

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ มีนามเดิมว่า ชวิน รังสิพราหมณกุล (เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2496) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานพระครูพราหมณ์คนปัจจุบัน นอกจากดำรงตำแหน่งหัวหน้าพราหมณ์ สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวังแล้ว เขายังเป็นประธานคณะพราหมณ์ทำหน้าที่ดูแลองค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อันได้แก่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ สมาคมฮินดูสมาช และสมาคมฮินดูธรรมสภา

ประวัติ[แก้]

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2496 เป็นบุตรของพระราชครูวามเทพมุนี (สมจิตต์ รังสิพราหมณกุล) กับสิริมา รังสิพราหมณกุล (สกุลเดิม กฤษณะสุวรรณ) เมื่อแรกเกิดมีสุขภาพไม่แข็งแรงเพราะคลอดก่อนกำหนด แพทย์แนะนำให้ดื่มน้ำมาก ๆ ปู่และย่าจึงตั้งชื่อแก้เคล็ดว่า "อูฐ" ชวินมีน้องร่วมท้อง 3 คน คือ ทรงศร, ศรีล และสิริจิตต์

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณได้ศึกษาเล่าเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนอนุบาลสมถวิล ชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนหงส์สุรนันท์ ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และจบการศึกษาเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ สมรสกับวไลพร รังสิพราหมณกุล (สกุลเดิม บุนนาค) บุตรของฐาปนา บุนนาค และริต้า (สกุลเดิม เดอเยซูซ์)[1] พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำพระสังข์สมรสให้แก่ทั้งสองเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ 2546 แต่ทั้งคู่ยังไม่มีบุตรสืบสกุล

การทำงาน[แก้]

พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณบวชเป็นพราหมณ์เมื่อ พ.ศ. 2521 และได้รับการศึกษาจากบิดาและพราหมณ์อาวุโสท่านอื่น ๆ ได้แก่ พราหมณ์อนันทบุรตี และสวามีฮารีฮาจิ โดยได้รับการโปรดเกล้า ฯ เลื่อนฐานันดรศักดิ์จากพระครูวามเทพมุนีเป็น พระราชครูวามเทพมุนี เมื่อปี พ.ศ. 2542 เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542[2]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้ง พระราชครูวามเทพมุนี เป็น พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ วิบุลย์เวทย์บรมหงส์ พรหมพงศ์ พฤฒาจาริย์ ตำแหน่งประธานพระครูพราหมณ์ ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 6 สายพันตรี หลวงราชานุรักษ์ (เทิด บุนนาค) บุตรพระยาราชานุพันธ์ (เปีย บุนนาค)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-31. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เลื่อนฐานันดรศักดิ์พระราชครูพราหมณ์ เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ
  3. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งพระครูพราหมณ์
  4. 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๒๒ ข, ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๓
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [จำนวน ๑,๐๐๗ ราย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นกรณีพิเศษ ให้แก่ ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ลูกจ้างประจำ พนักงานสำนักพระราชวังพิเศษ พนักงานสำนักงานพระคลังข้างที่ พนักงานฝ่ายวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พนักงานเบี้ยหวัดฝ่ายใน คู่สมรสข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ สังกัดสำนักพระราชวัง และครูโรงเรียนจิตรลดา
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย สำนักพระราชวัง ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๔) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน