พระรัตนปัญญาเถระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระรัตนปัญญาเถระ หรือพระสิริรัตนปัญญาเถระ เป็นพระชั้นผู้ใหญ่ระดับสังฆราชาในรัชสมัยของพระเมืองแก้ว หรือพระติลกปนัดดาธิราช แห่งอาณาจักรล้านนา

ชาตสถานของพระรัตนปัญญาเถระ ยังมีความไม่แน่ชัด บ้างก็ว่าเกิดที่เชียงราย ลำปาง[1] หรือพะเยา[2] คาดว่าเกิดราวปี พ.ศ. 2016 พระรัตนปัญญาเถระอุปสมบทและพำนักอยู่ที่วัดป่าแก้ว จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้มาศึกษาต่อที่เชียงใหม่และพำนักอยู่ที่วัดสีหลาราม (ปัจจุบันคือวัดเจ็ดยอด) ท่านเคยพำนักที่วัดฟ่อนสร้อย จนได้เป็นเจ้าอาวาส จากนั้นย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอดในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็นถือเป็นพระอารามหลวง[3]

ท่านได้รจนาชินกาลมาลีปกรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2060 ในรัชสมัยพระติลกปนัดดาธิราช ในพรรษาที่ 23 ซึ่งคาดว่าอายุน่าจะย่างเข้า 44 ปี จากหลักฐานในชินกาลมาลีปกรณ์ ท่านมีความรู้ความสามารถ ในพระไตรปิฎกและอรรถกถา มีความสามารถทางด้านภาษาบาลีเป็นอย่างดี[4]

ผลงาน[แก้]

  • ชินกาลมาลีปกรณ์ รจนาเมื่อ พ.ศ. 2060 ในพรรษาที่ 23 ของพระรัตนปัญญา เนื้อเรื่องกล่าวถึงกาลของพระพุทธเจ้า โดยเรียบเรียงอย่างมีระเบียบ จึงได้ชื่อว่า ชินกาลมาลีปกรณ์ ยังมีประวัติบุคคลและสถานที่สำคัญ เช่น เชียงแสน เชียงราย ลำพูน และเชียงใหม่ วรรณกรรมเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นหลายภาษา
  • มาติกัตถสรูปอภิธัมมสังคณี ไม่ปรากฏปีที่รจนา แต่คาดว่าแต่งระหว่าง พ.ศ. 2060 ถึง 2065 ว่าด้วยบทมาติกา ในอภิธรรมหมวดแรก คือ ธัมมสังคณี[3]
  • วชิรสารัตถสังคหะ รจนาเมื่อ พ.ศ. 2078 ที่วัดมหาวนาราม เชียงใหม่ เป็นคำภีร์ขนาดเล็กว่าด้วยกฎเกณฑ์ของศัพท์ หรืออาจเรียกว่าเป็นหัวใจของธรรมะต่าง ๆ[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. เพ็ญสุภา สุขคตะ (10 มิถุนายน พ.ศ. 2559). "ปริศนาโบราณคดี : โคมปราสาท ของ "พระรัตนปัญญาเถระ" ผู้รจนา "ชินกาลมาลีปกรณ์"". มติชนสุดสัปดาห์. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. เทพประวิณ จันทร์แรง. ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาในล้านนา (PDF). มจล. วิทยาเขตเชียงใหม่.
  3. 3.0 3.1 3.2 พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). การศึกษาองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ปรากฏในวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเรื่องอานิสงส์และคัมภีร์ที่ใช้เทศน์ในเทศกาลต่างๆ ของล้านนา (PDF). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2019-06-28.
  4. ประยูร ป้อมสุวรรณ และ สมพร เหลาฉลาด. การศึกษาเชิงวิเคราะห์สารัตถธรรมที่ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์ เพื่อพัฒนานักศึกษาตามแนวพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.