พระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์ (วงษ์ จารุจินดา)
มหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์ (วงษ์ จารุจินดา) ต.จ.ว. ท.ม. ต.ช. | |
---|---|
เกิด | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 |
ถึงแก่กรรม | 10 เมษายน พ.ศ. 2474 (47 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | ไข้รากสาดน้อย |
บิดามารดา | |
ยศเสือป่า | นายกองตรี |
ยศพลเรือน | มหาอำมาตย์ตรี |
มหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์ (วงษ์ จารุจินดา) (20 กุมภาพันธ์ 2427 – 10 เมษายน 2474) เป็นขุนนางชาวสยาม เป็นอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา อดีตผู้พิพากษาศาลจังหวัดน่าน อดีตผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรสาคร
พระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์มีนามเดิมว่า วงษ์ จารุจินดา เกิดเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2427 เป็นบุตรชายของเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) ที่เกิดแต่คุณหญิงบุญรอด สุรินทรฦๅชัย (สกุลเดิม วัชราภัย) มีพี่น้องร่วมมารดา 2 คนและต่างมารดาอีก 10 คน ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงเสริม ลพะนรินทร์เรืองศักดิ์ (สกุลเดิม โชติกเสถียร) บุตรสาวของพระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์ (เจริญ โชติกเสถียร) แต่ไม่มีบุตร-ธิดา เป็นคู่เขยกับพลเอกหลวงสุรณรงค์ (ธงไชย โชติกเสถียร) อดีตสมุหราชองครักษ์และอดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องจากพลเอกหลวงสุรณรงค์สมรสกับคุณหญิงสุย บุตรสาวอีกคนหนึ่งของพระยาพิพิธภัณฑ์วิจารณ์
มหาอำมาตย์ตรี พระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคไข้รากสาดน้อย เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2474 ขณะอายุได้ 47 ปี[1]
ตำแหน่ง ยศ และบรรดาศักดิ์
[แก้]- 25 พฤษภาคม 2448 – หลวงนรอัฏบัญชา ถือศักดินา 600
- 2451 – ผู้พิพากษาศาลจังหวัดน่าน
- 7 สิงหาคม 2454 – อำมาตย์โท
- 5 กันยายน 2456 – ผู้พิพากษาศาลมณฑลนครไชยศรี
- 2457 – ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรสาคร
- 26 ธันวาคม 2459 – พระทิพยมณฑาดุล มนูญนิรุกตี ถือศักดินา 800
- 11 มกราคม 2461 – ว่าที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลสุราษฎร์
- 2462 – ย้ายไปเป็นว่าที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลปัตตานี เลื่อนยศเป็นอำมาตย์เอก
- 2463 – เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลปัตตานี เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาลพะนรินทร์เรืองศักดิ์
- 26 พฤษภาคม 2465 – ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพฯ
- 5 เมษายน 2472 – ว่าที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
- 8 พฤศจิกายน 2472 – มหาอำมาตย์ตรี
- 17 ธันวาคม 2472 – อธิบดีผู้พิพากษาศาลพระราชอาญา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2459 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
- พ.ศ. 2462 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
- พ.ศ. 2465 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2466 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2467 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2473 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญศารทูลมาลา (ร.ศ.ท.)