พระยาประเทศอุตรทิศ (พุทธวงศ์)
พระยาประเทศอุดรทิศ (เจ้าหลวงมหาวงศ์) | |
---|---|
![]() | |
เจ้าเมืองพะเยา | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2387 - พ.ศ. 2391 |
รัชกาลถัดไป | เจ้าหลวงมหายศ |
พระชายา | แม่เจ้าสรีโสภา |
พระบุตร | พระยาราชบุตร (เจ้าศรีสุวรรณ มหาวงศ์) เจ้าสุริวงศ์ มหาวงศ์ |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
พระบิดา | พระยาคำโสม |
พระมารดา | แม่เจ้าจอมแก้วจันทา |
พิราลัย | พ.ศ. 2391 |
พระยาประเทศอุดรทิศ[1] หรือ พระญาประเทศอุดรทิศ หรือเจ้าหลวงมหาวงศ์ พระนามเดิมคือเจ้าพุทธวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองพะเยายุคฟื้นฟูองค์ที่ 1 เมืองขึ้นชั้นที่ 1 ของนครลำปาง ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่าง พ.ศ. 2387 - พ.ศ. 2391 เป็นต้นสกุล "มหาวงศ์"
ประวัติ[แก้]
เจ้าหลวงมหาวงศ์สืบเชื้อสายราชวงศ์ทิพย์จักร (เจ้าเจ็ดตน) เป็นโอรสองค์ที่ 5 ใน พระยาคำโสม เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 4 และแม่เจ้าจอมแก้วจันทา มีเชษฐา อนุชา และขนิษฐา ดังนี้
- พระยาไชยวงศ์, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 6
- พระยาขัติยะ, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 7
- พระยาน้อยอินท์, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 8 และ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 3
- เจ้าราชวงศ์ (เจ้าคำแสน ณ ลำปาง) เจ้าราชวงศ์นครลำปาง
- เจ้าหลวงมหาวงศ์ (เจ้าน้อยพุทธวงศ์ ณ ลำปาง) พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 1
- เจ้าวรญาณรังษี, เจ้าผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ 9
- เจ้าหลวงมหายศ (เจ้าน้อยมหายศ ณ ลำปาง) พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 2
- พระยาราชวงศ์ (เจ้าแก้วมนุษย์ ณ ลำปาง) พระยาราชวงศ์เมืองพะเยา
- พระยาอุปราช (เจ้าหนานยศ ณ ลำปาง) พระยาอุปราชเมืองงาว
- พระยาสุริยวงศ์ (เจ้าคำฤๅ ณ ลำปาง) พระยาสุริยวงศ์เมืองงาว
- เจ้าราชบุตร (เจ้าคำเครื่อง ณ ลำปาง) เจ้าราชบุตรนครลำปาง
- เจ้าอุบลวรรณา (ณ ลำปาง) ใน เจ้าหลวงฟ้าเมืองแก้วขัตติยะ (ศีติสาร) พระญาประเทศอุดรทิศ เจ้าเมืองพะเยา องค์ที่ 3
เจ้าหลวงมหาวงศ์เสกสมรสกับเจ้าหญิงสรีโสภา พระธิดาของเจ้าฟ้าเมืององค์ (เจ้าน้อยไชยสาร) และเจ้านางยอดโนจา (ราชตระกูล "ศีติสาร" ต้นราชตระกูล คือ เจ้าฟ้าญาร้อย (เจ้าน้อยศีธิวงศ์) ซึ่งเป็นราชวงศ์พะเยาเก่า สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสนเดิม ภายหลังจึงแยกออกมาตั้งเป็นราชวงศ์เวียงพร้าว - พะเยา 12 ขุน) มีราชบุตร 3 องค์ คือ
- พระยาราชบุตรเมืองพะเยา (เจ้าศรีสุวรรณ มหาวงศ์) เสกสมรสกับเจ้าหญิงเพียรแก้ว ณ ลำปาง (ราชธิดาของเจ้านครลำปางไชยวงศ์ และเจ้าหญิงนันทา) มีราชบุตร ราชธิดาคือ
- เจ้าหญิงกาบแก้ว
- พระญาสุริยวงศ์ (เจ้าน้อยเปี้ย มหาวงศ์) เสกสมรสกับเจ้าหญิงทิพวดี จันทยศ (พระธิดาของเจ้าราชบุตรจันทยศ และเจ้าหญิงยอดเฮือน ณ เชียงใหม่[2]) มีราชธิดาคือ
- เจ้าหญิงทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง
- เจ้าหญิงกาบคำ
- เจ้าหญิงเค็ดแก้ว
- เจ้าสุริวงศ์ มหาวงศ์ (ทายาทในสายนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของสภาวัฒนธรรม จ.พะเยา)
- เจ้าศรีวงศ์ หรือเจ้าเทพวงศ์ มหาวงศ์ เสกสมรสกับเจ้าหญิงสมนา หงษ์หิน (พระธิดาของเจ้าราชวงศ์แก้วมนุษย์) มีราชบุตรคือ เจ้าน้อยแก้วมูล มหาวงศ์
ราชตระกูล[แก้]
พงศาวลีของพระยาประเทศอุตรทิศ (พุทธวงศ์) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย, หน้า 104
- ↑ เจ้าหญิงยอดเฮือน ณ เชียงใหม่ หรือเจ้าแม่ทิพยอด เป็นพระธิดาของเจ้าหนานสมนุษย์ ณ เชียงใหม่ ราชบุตรของเจ้าราชภาคินัย (เจ้าน้อยแผ่นฟ้า) สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เจ้านครเชียงใหม่ (เจ้าเจ็ดตนผู้ถ้วน1 วงศ์สัตตราชา)
- คณะทายาทสายสกุล เจ้าหลวงเมืองพะเยา, สถาบันศิลปวัฒนธรรมโยนก. ครบรอบ 100 ปี แม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง และประวัติสายสกุลเจ้าหลวงเมืองพะเยา พุทธศักราช 2387 - 2456. พะเยา :บ.ฮาซัน พริ้นติ้ง จก., 2546 (หนังสือครบรอบ๑๐๐ปีแม่เจ้าทรายมูล (มหาวงศ์) ไชยเมือง ที่หอวัฒนธรรมนิทัศน์หรือหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ที่วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา ซึ่งพระธรรมวิมลโมลี เจ้าอาวาสท่านได้เก็บรวบรวมไว้ และที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติทั้งในกรุงเทพฯ และที่เมืองนครลำปาง)
- คัมภีร์ คัมภีรญาณนนท์ , นาวาอากาศเอก. เจ้านายฝ่ายเหนือ. [1]