พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา)
มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา) | |
---|---|
เกิด | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 |
ถึงแก่กรรม | 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 (87 ปี) |
ตระกูล | จารุจินดา |
ยศพลเรือน | มหาเสวกตรี |
มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา) (22 กุมภาพันธ์ 2438 – 14 กุมภาพันธ์ 2526) เป็นขุนนางชาวสยาม อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง อดีตองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และอดีตสมาชิกวุฒิสภา
พระยาบำเรอภักดิ์ มีนามเดิมว่า สนิท จารุจินดา เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2438 เป็นบุตรชายของ พระยาสุเรนทรราชเสนา (เจิม จารุจินดา) อดีตปลัดมณฑลประจำจังหวัดลำปาง (เทียบได้กับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางโดยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรก)[1] กับคุณหญิงสะอาด เนื่องจากพระยาสุเรนทรราชเสนาผู้เป็นบิดาต้องเดินทางไปรับราชการในต่างจังหวัด ทำให้ต้องนำบุตรชายมาฝากให้พลโทพระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) ผู้เป็นตาและคุณหญิงสายผู้เป็นยายช่วยเลี้ยงดู
ในปี 2445 พระยาเทพอรชุนได้นำเด็กชายสนิทผู้เป็นหลานชายเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และได้เป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน) จากนั้นจึงได้เข้ารับราชการในราชสำนักและเจริญก้าวหน้าในหน้าที่จนได้เลื่อนยศเป็นพระยาเมื่ออายุ 23 ปีเศษและได้เป็นปลัดทูลฉลองเมื่ออายุเพียง 32 ปีเศษ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงบุบผา บำเรอภักดิ์ บุตรสาวของเจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦๅชัย (พร จารุจินดา) แต่ไม่มีบุตรสืบสกุล มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2526 หรือ 8 วันก่อนวันเกิดอายุครบ 88 ปีสิริอายุได้ 87 ปี[2]
ตำแหน่ง ยศ และบรรดาศักดิ์
[แก้]- 10 กุมภาพันธ์ 2455 – มหาดเล็กวิเศษ กองตั้งเครื่อง
- 14 สิงหาคม 2456 – นายรองสนิท มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 300
- 18 กันยายน 2457 เป็นนายเวร รองอธิบดีกรมมหาดเล็กอีกตำแหน่งหนึ่ง
- 10 พฤศจิกายน 2457 – นายเสน่ห์หุ้มแพร ถือศักดินา 400
- 18 กันยายน 2458 – นายจ่ายวด มหาดเล็กเวรสิทธิ์ ถือศักดินา 600
- 23 พฤษภาคม 2459 – ผู้ช่วยเลขาธิการกรมมหาดเล็ก
- 30 สิงหาคม 2459 – หลวงศักดิ์นายเวร มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 800
- 8 ธันวาคม 2460 – เจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็กปลายเชือกเวรฤทธิ์ ถือศักดินา 1000
- 20 มีนาคม 2460 – เลขาธิการสภาจางวางกรมมหาดเล็ก
- 14 ตุลาคม 2462 – รองอธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก
- 7 พฤศจิกายน 2462 – พระยาอิศรพัลลภ
- 1 มกราคม 2467 – จางวางตรี
- 4 เมษายน 2468 – องคมนตรี
- 1 เมษายน 2469 – เปลี่ยนยศเป็นมหาเสวกตรี และเป็นปลัดจางวางกรมมหาดเล็ก
- 1 เมษายน 2470 – รั้งตำแหน่ง (รักษาราชการแทน) ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง
- 5 เมษายน 2471 – พระยาบำเรอภักดิ์ คงถือศักดินา 1000
- 12 เมษายน 2471 – ปลัดทูลฉลองกระทรวงวัง
งานการเมือง
[แก้]มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 ก่อนจะพ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2494
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เข็ม และเหรียญดังนี้
- 10 กรกฎาคม 2456 – เข็มข้าหลวงเดิม
- พ.ศ. 2456 –
เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 6 (ร.จ.ท.6)
- พ.ศ. 2456 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2462 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์ (ว.ภ.)[3]
- พ.ศ. 2467 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "'บ้านพระยาสุเรนทร์' จากจวนผู้ว่าฯ สู่ร้านอาหารหรูคู่เมืองลำปาง". กรุงเทพธุรกิจ.
- ↑ "มหาเสวกตรี พระยาบำเรอภักดิ์ (สนิท จารุจินดา)". สกุลจารุจินดา.
- ↑ "รายพระนามและนามผู้รับพระราชทานตราวัลภาภรณ์ และคำแถลงความชอบของผู้นั้น ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 17.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)